คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27,91เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนกระทั่งศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายเพราะหนี้สินของจำเลยได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา135(3)ซึ่งเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวงแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องคดีล้มละลายมาก่อนแต่การฟ้องคดีล้มละลายกระทำโดยเปิดเผยและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483โจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องไม่ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในหนี้ดังกล่าวอีก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าหนี้ จำเลย ที่ 1 ตาม คำพิพากษา ของศาลชั้นต้น จำนวน 1,369,791.66 บาท ตาม คดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 17859/2527 หมายเลขแดง ที่ 3148/2528 เมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2532โจทก์ ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 53121 และ โฉนด เลขที่ 30205 จึง ไป ตรวจสอบ เพื่อ จะ บังคับคดีแต่ พบ ว่า เมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม 2527 ซึ่ง เป็น เวลา ภายหลัง จาก ที่จำเลย ที่ 1 ทราบ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี หมายเลขดำ ที่ 17859/2527 แล้วจำเลย ที่ 1 โอน ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 53121 และ 30205 ดังกล่าวให้ แก่ จำเลย ที่ 2 โดย จำเลย ที่ 2 ให้ จำเลย ที่ 3 ลงชื่อ เป็นผู้รับโอน แทน ซึ่ง การ โอน ขาย ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว ก็ เพื่อ ให้พ้น การ บังคับคดี ของ โจทก์ ใน วันนั้น เอง จำเลย ที่ 3 จดทะเบียน จำนองที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ที่ รับโอน มา ไว้ กับ จำเลย ที่ 4 ต่อมา วันที่ 5 ตุลาคม2530 จำเลย ที่ 3 โดย ความ ยินยอม ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 โอน ที่ดินทั้ง สอง แปลง นั้น ชำระหนี้ ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 ทั้งนี้ เพื่อ ให้ พ้น การติดตาม บังคับคดี ของ โจทก์ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ทำนิติกรรม ต่าง ๆดังกล่าว มา โดย ไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มี เจตนา ที่ จะ ไม่ให้ โจทก์บังคับคดี เอา แก่ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 53121 และ 30205 ได้ ทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ขอให้ เพิกถอน นิติกรรม สัญญาซื้อขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 53121และ โฉนด เลขที่ 30205 ฉบับ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2527 ระหว่างจำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 3 สัญญาจำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 53121และ โฉนด เลขที่ 30205 ฉบับ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2527 ระหว่างจำเลย ที่ 3 กับ จำเลย ที่ 4 สัญญาจำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 53121และ โฉนด เลขที่ 30205 ฉบับ ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2529 ระหว่างจำเลย ที่ 3 กับ จำเลย ที่ 4 และ สัญญา โอน ชำระหนี้ จำนอง ที่ดิน โฉนดเลขที่ 53121 และ โฉนด เลขที่ 30205 ฉบับ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2530ระหว่าง จำเลย ที่ 3 กับ จำเลย ที่ 4
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น มารดา ของจำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 3 ซื้อ ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ตาม ฟ้อง จาก จำเลย ที่ 1โดยสุจริต เสีย ค่าตอบแทน เป็น เงิน 5,400,000 บาท และ จดทะเบียน ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1ถูก โจทก์ ฟ้อง ตาม คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่ 17859/2527 จำเลย ที่ 3จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง เป็น ประกันหนี้ เงินกู้ ยืม ต่อจำเลย ที่ 4 จน ถึง วันที่ 5 ตุลาคม 2530 จำเลย ที่ 3 จึง โอน ที่ดินทั้ง สอง แปลง นั้น ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 เพื่อ เป็น การ ชำระหนี้ การ โอน ที่ดินแต่ละ ครั้ง ถูกต้อง ตาม กฎหมาย ผู้โอน และ ผู้รับโอน กระทำ โดยสุจริตและ เสีย ค่าตอบแทน ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 4 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ถูก ฟ้อง ล้มละลาย ตามคดีล้มละลาย หมายเลขแดง ที่ ล. 163/2529 ศาลชั้นต้น สั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิได้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ภายใน กำหนด เวลา ต่อมา วันที่ 11 กันยายน 2532 ศาลชั้นต้นมี คำสั่ง ให้ยก เลิก การ ล้มละลาย ของ จำเลย ที่ 1 ทำให้ จำเลย ที่ 1หลุดพ้น จาก หนี้สิน ทั้งปวง โจทก์ ไม่มี สิทธิ บังคับคดี เอา แก่ จำเลย ที่ 1ได้ อีก ต่อไป และ ไม่มี สิทธิ ฟ้อง เป็น คดี นี้ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4ไม่ทราบ มา ก่อน ว่า จำเลย ที่ 1 ถูก โจทก์ ฟ้อง การ ทำนิติกรรม การ ซื้อ ขายจำนอง และ รับโอน ชำระหนี้ จึง เป็น การ ทำ โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทนขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 4 ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย เบื้องต้น ว่า โจทก์ จะ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สี่ เป็น คดี นี้หรือไม่ เพราะ จะ ทำให้ ไม่ต้อง พิจารณา คดี อีก ต่อไป
ศาลชั้นต้น ได้ วินิจฉัยชี้ขาด ข้อกฎหมาย เบื้องต้น ว่า โจทก์ไม่มี อำนาจฟ้อง พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า หนี้ ของ ลูกหนี้ ที่ เจ้าหนี้ไม่ได้ ขอรับ ชำระหนี้ ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ภายใน กำหนด เวลาสอง เดือน นับแต่ วัน โฆษณา คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 ยัง เป็น หนี้ ที่ ไม่ระงับ โจทก์ ใน ฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ ใน คดีล้มละลายที่ ศาล ได้ มี คำสั่ง ยกเลิก การ ล้มละลาย ไป แล้ว แต่ ไม่ทราบ ถึง การ ที่จำเลย ที่ 1 ถูก ฟ้องคดี ล้มละลาย จึง มีอำนาจ ฟ้องบังคับ เอา แก่ จำเลย ที่ 1ภายใน อายุความ สิบ ปี ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้นเห็นว่า พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็น กฎหมาย พิเศษอัน เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน มี เจตนารมณ์ ที่ บัญญัติ ขึ้นเพื่อ ชำระ สะสาง บรรดา หนี้สิน ของ บุคคล ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัวและ เพื่อ ประโยชน์ แก่ บรรดา เจ้าหนี้ ของ ลูกหนี้ ผู้ล้มละลาย ทั้งหลายให้ มีสิทธิ รับชำระหนี้ จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ผู้ล้มละลายโดย ทั่วถึง กัน นอกจาก นี้ ยัง เปิด โอกาส ให้ ลูกหนี้ ผู้ล้มละลาย ผู้สุจริตได้ หลุดพ้น จาก หนี้สิน ทั้งปวง มี โอกาส ฟื้นตัว ประกอบ อาชีพ ทำ มา หากินโดยสุจริต ต่อไป ได้ พระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึง บัญญัติ วิธีการ และข้อกำหนด ใน การ ปฏิบัติ เพื่อ ให้ ได้รับ ความคุ้มครอง ทั้ง ฝ่าย เจ้าหนี้และ ฝ่าย ลูกหนี้ โดย เสมอภาค กัน ดังนั้น โดย นัย แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ มาตรา 91 เจ้าหนี้ ทุก ประเภทไม่ว่า จะ เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือไม่ ก็ ตาม จะ ต้อง ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ภายใน กำหนด เวลา สอง เดือนนับแต่ วัน โฆษณา คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติได้ว่า จำเลย ที่ 1 ถูก ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ใน คดี ที่นา ง กาญจนา เลาห์วีระ เป็น โจทก์ ฟ้องคดี ล้มละลาย ให้ จำเลย ที่ 1 เป็น บุคคล ล้มละลาย ตาม คดีหมายเลขแดง ที่ ล. 163/2529 แต่ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาละเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ ของ มาตรา 27 และ มาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 กล่าว คือ โจทก์ ไม่ได้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ของ โจทก์ ที่ มี แก่ จำเลย ที่ 1 ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เสีย ภายใน กำหนด เวลา สอง เดือน นับแต่ วัน โฆษณา คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จน กระทั่ง ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง ยกเลิก การ ล้มละลาย ของจำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 11 กันยายน 2532 เพราะ หนี้สิน ของ จำเลย ที่ 1ได้ ชำระ เต็ม จำนวน แล้ว ตาม มาตรา 135(3) แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 ซึ่ง เป็น ผล ให้ จำเลย ที่ 1 หลุดพ้น จาก บรรดา หนี้สิน ทั้งปวงแม้ โจทก์ จะ อ้างว่า โจทก์ ไม่ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1 ถูก ฟ้องคดี ล้มละลายมา ก่อน ก็ ตาม แต่เมื่อ การ ฟ้องคดี ล้มละลาย กระทำ โดย เปิดเผย และมี การ ประกาศ ใน ราชกิจจานุเบกษา ตาม ที่ พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483บัญญัติ บังคับ ไว้ แล้ว โจทก์ จะ กล่าวอ้าง ว่า โจทก์ ไม่ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1ถูก ฟ้องคดี ล้มละลาย ไม่ได้ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ทั้ง สี่เป็น คดี นี้ คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ต้องด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกาฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share