คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2499

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ก.ม.อาญา ม.43 ถือว่า++ใดกระทำการใดลงโดย++จึงจะเอาโทษ หากระทำโดยมิได้เจตนาแล้วก็บัญญัติไม่เอาและหลัก ก.ม.ในข้อในี้ใช้ครอบครอง พ.ร.บ.ภาษีและเครื่องดื่ม พ.ศ.2495 ด้วยตามที่บัญญัติไว้ใน ม.11 ก.ม.อาญา ดังนั้นการที่จำเลยเจ้าของโรงงานน้ำอัดลมและปรากฏว่าขวดน้ำโซดาได้ปิดแสตมป์++ออกไปจากโรงงานของจำเลย หากยังมีทางสงสัยว่าจำเลยอาจได้แสตมป์นี้มาโดยสุจริตไม่รู้ว่าเป็นของปลอมแล้วจำเลยก็ไม่มีความผิดฐานมีและใช้แสตมป์เครื่องดื่มปลอม.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยมีและใช้แสตมป์เครื่องดื่มปลอม ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.อาญา ม.๒๑๖ และ พ.ร.บ.ภาษีเครื่องดื่ม พงศ.๒๔๙๕ ม.๑๐,๑๖ ริบของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดตาม ก.ม.อาญา ม.๒๑๖ ประกอบด้วย ม.๒๑๔ และ พ.ร.บ.ภาษีเครื่องดื่ม พ.ศ.๒๔๙๕ ม.๑๖ ให้จำคุกไว้ ๓ เดือนปรับ ๒๐๐ บาท ให้รอการลงโทษจำคกไว้ตาม ม.๔๑ ที่แก้ไขแล้ว มีกำหนด ๕ ปี แสตมป์ของกลางริบ
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาได้พิเคราะห์พยานหลักฐานและเหตุผลตลอดแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงที่จะชี้ขาดว่ามีแสตมป์ปลอมที่ปิดปากขวดโซดาเหล่านั้นมาจากกไหน ใครเป็นผู้ปิด และรู้หรือไม่ว่าเป็นแสตมป์ปลอม ซึ่งข้อเหล่านี้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐาน นอกจากอ้างการใช้ความสันนิษฐานทุก ๆ ข้อให้เป็นโทษแก่ฝ่ายจำเลยอันอาจผิดพลาดได้ ในเรื่องที่จะรู้ว่าแสตมป์ปลอมหรือไม่เพียงข้อนี้นายจำลอง กุลพิศาล นายตรวจสรรพสามิตต์จังหวัดพยานโจทก์เบิกความว่าแสตมป์ดีหรือลวดลายคล้าย ๆ กัน ถ้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วจะดูไม่รู้ “ซึ่งหมายความว่า คนธรรมดายากที่จะรู้”
อนึ่งได้ความว่าเจ้าพนักงานยึดเอาแสตมป์ไปจากโรงงานของจำเลย ๒๐๐ ดวงโดยสงสัยว่าเป็นแสตมป์ปลอมไปพิสูจน์แล้วจึงรู้ว่าเป็นแสตมป์ดี และนำกลับมาคืน
แม้จะฟังว่าแสตมป์ปลอมนี้ได้ปิดปากขวดไปจากโรงงานของจำเลยก็ดี ก็มีทางที่น่าสงสัยว่าจำเลยอาจได้แสตมป์นี้มาโดยการบริสุทธิ์ไม่รู้ว่าเป็นของปลอม
ตามที่โจทก์กล่าวว่าเมื่อแสตมป์ดังกล่าวเป็นแสตมป์ปลอม การจำหน่ายเครื่องดื่มของจำเลยจึงถือเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้ปิดและขีดฆ่าแสตมป์เครื่องดื่มของกรมสรรพสามิตต์ต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ.ภาษีเครื่องดื่ม พงศ.๒๔๙๕ ม.๑๐,๑๖ แล้วโดยไม่คำนึงว่าจะรู้ว่าเป็นแสตมป์ปลอมหรือไม่นั้นเห็นว่การหลงหรือเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง เป็นข้อแสดงความจริงใจให้เห็นเจตนาขั้นแท้จริง และเมื่อกระทำผิดโดยมิได้เจตนาแล้ว ก.ม.อาญา ม.๔๓ ก็บัญญัติไม่เอาโทษและหลัก ก.ม.ในข้อนี้ใช้ครอบครองมาถึง พ.ร.บ.ภาษีเครื่องดื่ม พ.ศ.๒๔๙๕ ด้วย ตามที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.อาญา ม.๑๑
อาศัยเหตุที่กล่าวมา ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามโจทก์ฟ้อง จึงพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลย.

Share