คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2486

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เงินเหรียนบาทเปนเหรียนกสาปน์ชนิดหนึ่งตาม พ.ร.บ.เงินตรา(ฉบับที่ 9) 2485 ม. 3 และหยู่ไนความหมาย ม. 3 แห่ง พ.ร.บ.เงินตราไนภาวะฉุกเฉิน(ฉบับที่ 2) 2485
พรึติการน์ที่ถือว่ามีเหรียนกสาปน์ไว้ไนครอบครองจำนวนไม่เกินสมควน

ย่อยาว

โจทฟ้องว่าจำเลยมีเหรียนกสาปน์ชนิดเงินบาท ๔๐๐ บาทไว้ไนครอบครองอันเปนจำนวนเกินสมควน ฯลฯ ทางพิจารนาได้ความว่าจำเลยมีอาชีพตั้งร้างขายทองรูปพรรนไนจังหวัดบุรีรัมย์ วันเกิดเหตุจำเลยนำเงินเหรียน ๔๐๐ บาทกับธนบัตร ๓๕๐ บาทมาขึ้นรถไฟเพื่อจะไปซื้อทองที่จังหวัดนครราชสีมา เจ้าพนักงานจับจำเลยขนะที่จำเลยไปขึ้นรถ
สาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยผิดตาม พ.ร.บ.เงินตราไนภาวะฉุกเฉิน(ฉบับที่ ๒) พ.ส. ๒๔๘๕ มาตรา ๕ ไห้จำคุก ๕ ปี
จำเลยอุธรน์ สาลอุธรน์เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติเงินตราไนภาวะฉุกเฉิน เหรียนกสาปน์ไม่หมายถึงเหรียนบาทซึ่งเปนหน่วยแห่งเงินตรา ไครจะมีเหรียนบาทสักเท่าไรก็ลงโทสไม่ได้ พิพากสายกฟ้อง แต่มีความเห็นแย้งว่า เหรียนบาทเปนเหรียนกสาปน์ตามกดหมาย
โจทดีกา สาลดีกาเห็นว่า เงินเหรียนบาทเปนเหรียนกสาปน์ชนิดหนึ่งตามพระราชบัญญัติเงินตรา(ฉบับที่ ๙) พ.ส. ๒๔๘๕ มาตรา ๓ แต่การที่จำเลยผู้เปนพ่อค้าขายเครื่องทองรูปพรรนนำเงินเหรียน ๔๐๐ บาทกับธนบัตร ๓๕๐ บาทขึ้นรถไฟจะไปซื้อทองที่จังหวัดนครราชสีมานี้ไม่เปนจำนวนเกินสมควน หรือเกิดจำเลยหย่างไดอันจะถือว่าเปนผู้ค้าเหรียนกสาปน์ได้ แม้จะวินิฉัยตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส. ๒๔๘๔ พ.ส. ๒๔๘๖ มาตรา ๓ ก็คงได้ผลเช่นเดียวกัน จึงไห้ยกฟ้องโจทโดยพิพากสายืน

Share