คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2477

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คดีนี้ฟ้องหาว่าแจ้งความเท็จนั้นเพียงแต่ศาลไม่เชื่อคำพะยานฝ่ายใดไม่เป็นเหตุที่จะฟังว่าคำแจ้งความของฝ่ายนั้นเป็นจริงด้วย วิธีพิจารณาอาชญา อำนาจศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะปล่อยจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาขึ้นมาได้ เมื่อเป้นเหตุในลักษณคดี (เทียบฎีกาที่ 650/61 ที่ 595/2470)

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา ๑๑๘/๑๕๘ ฐานสมคบกันยื่นเรื่องราวกล่าวโทษด้วยความเท็จต่อกระทรวงมหาดไทยรวมเป็นข้อหา ๔ ข้อ
ศาลเดิมตัดสินให้ยกฟ้องในข้อ ก. แล ง. ส่วนข้อ ข.และ ค. จำเลยมีผิดตามมาตรา ๑๑๘ ให้จำคุก ค. ๓ เดือน ร.แล ข. คนละ ๒ เดือน
ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้ยกฟ้องในข้อ ค. ส่วนข้อ ข. นั้นเห็นว่า ค. ผู้เดียวเท่านั้นทำผิด แลให้ปรับเพียง ๒๐ บาท
โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาเห็นว่า ในข้อ ข. แล ค. นั้นโจทก์จำเลยต่างก็มีพะยานมาสืบตามประเด็นของตัวด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ฉะนั้นการที่ศาลเชื่อพะยานข้างหนึ่ง แลไม่เชื่ออีกข้างหนึ่งนั้น หาแปลว่าพะยานข้างที่ศาลไม่เชื่อนั้นเท็จไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินยกฟ้องข้อ ค. นั้นชอบแล้ว ส่วนในข้อ ข. ที่ศาลอุทธรณ์ปลีกฟังว่า ค. ผู้เดียวมีผิดนั้นยังไม่ชอบ เพราะ ค. ก็มีพะยานมาสืบเหมือนกับว่าโจทก์ทำผิดจริงดังเรื่องราว แต่เมื่อไม่เชื่อก็ฉันใดจะเชื่อเลยไปว่าเท็จโดยไม่มีเหตุผลอื่นประกอบ ค.มิได้ฎีกาขึ้นมา แต่โดยลักษณคดี ค. ไม่ควรมีผิดดูจจำเลยอื่น ศาลฎีกาย่อมทรงสิทธิที่จะปล่อยผู้ไม่ผิดได้ จึงตัดสินแก้ศาลอุทธรณ์ให้ปล่อย ค. ไป

Share