แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
สำหรับเรื่องการมอบอำนาจแม้จำเลยที่1จะให้การสู้คดีไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่1ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ส่วนในเรื่องใบรับรองกรมธรรม์เปิดทางทะเลศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้วแต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวหาได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งฎีกาจำเลยที่1ทั้งสองประเด็นดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ใบตราส่งเป็นแบบ ฟลูไลเนอร์เทอม ซึ่งหมายความว่าหน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือ ฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือ เกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเองจำเลยที่1ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่2ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วยส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้ารวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจคนเข้าเมืองนั้นกิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่2ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเองการที่จำเลยที่1ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือยังไม่พอถือว่าจำเลยที่1เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่2และเรือใหญ่ด้วยจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่1ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ283,734.40บาทซึ่งจำเลยที่1ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง7,092.50บาทแต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน359,497.31บาทด้วยและให้จำเลยที่1เสียค่าขึ้นศาลฎีกาเป็นเงิน8,987.50บาทจำเลยที่1จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน1,895บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่1
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้รับประกันภัย สินค้า เยื่อกระดาษจำนวน 7,236 มัด ให้ ไว้ แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ซึ่ง เป็น สินค้า ที่ ขนส่ง มา ทางเดิน เรือ ทะเล โดย เรือ ริมบา รามิน (Rimba Ramin) จาก เมือง เค็ตชิกัน (Ketchikan) มลรัฐอลาสกา ประเทศ สหรัฐอเมริกา มา ยัง กรุงเทพมหานคร เป็น เงิน 40,912,259 บาท ตาม ใบรับรองกรมธรรม์ประกันภัย เปิด ทางทะเล เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ได้ ร่วมกัน รับจ้าง ขนส่ง สินค้า ดังกล่าว จาก เมือง เค็ตชิกัน เพื่อ ส่งมอบ ให้ แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ผู้ซื้อ ที่ กรุงเทพมหานคร จำเลย ที่ 1 ได้ ส่งมอบ เยื่อกระดาษ ตาม ใบตราส่ง ให้ แก่ เจ้าของ สินค้าแล้ว แต่ ปรากฎ ว่า มี สินค้า ขาด หาย ไป จำนวน 50 มัด หีบ ห่อ แตกสินค้า กระจัดกระจาย จำนวน 12 มัด คิด เป็น ค่าเสียหาย จำนวนเงิน283,594.68 บาท ความเสียหาย ดังกล่าว เกิดขึ้น ใน ระหว่าง การ ดูแลรักษา ของ จำเลย ทั้ง สอง ผู้ ร่วมกัน รับจ้าง ขนส่ง สินค้า ราย นี้ โจทก์ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ได้ ชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวนเงิน 283,594.68 บาทให้ แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด แล้ว โจทก์ จึง รับช่วงสิทธิ มา เรียกร้อง ค่าเสียหาย จำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย เอา แก่ จำเลย ทั้ง สองได้ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน 297,774.40 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 283,594.68 บาทนับแต่ วันฟ้อง ถึง วัน ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ผู้รับจ้าง ขนส่งสินค้า ราย พิพาท หาก แต่ เป็น เพียง ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 2 ใน การ ติดต่อกรมเจ้าท่า กองตรวจคนเข้าเมือง การท่าเรือแห่งประเทศไทย แจ้งการ มา ถึง ของ สินค้า ให้ ผู้ซื้อ ทราบ ตลอดจน เป็น ผู้ออกเงิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ใน การ นำ เรือ มา บรรทุก สินค้า ราย พิพาท และ ดำเนินการ อื่น ๆที่ เกี่ยวข้อง เพื่อ นำ สินค้า เข้า มา ใน ประเทศ ก็ เป็น การกระทำ ใน ฐานะเป็น ตัวแทน จำเลย ที่ 2 ที่ โจทก์ อ้างว่า จำเลย ที่ 1 ส่งมอบ สินค้าขาด หาย ไป จำนวน 50 มัด และ หีบ ห่อ สินค้า แตก เสียหาย จำนวน 12 มัดมิได้ เกิดขึ้น ใน ระหว่าง การ ขนส่ง ของ เรือ ริมบา รามิน จำเลย ที่ 1จึง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 283,734.40 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จน ถึงวัน ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องเพราะ การ มอบอำนาจ ไม่ถูกต้อง และ ใบรับรอง กรมธรรม์ เปิด ทางทะเลใน ช่อง ผู้จัดการ สาขา ไม่ใช่ ลายมือชื่อ ของ นาย สุรินทร์ ตันติสุวรรณากุล แต่ ใช้ ตรายาง ประทับ ถือไม่ได้ว่า มี การ ทำ สัญญา รับประกัน ภัย โดย ถูกต้อง ไม่ผูกพัน โจทก์ ที่ จะ ต้องชดใช้ ค่าเสียหาย โจทก์ จึง ไม่ได้ รับช่วงสิทธิ มา ฟ้องคดี นี้ นั้นสำหรับ เรื่อง การ มอบอำนาจ แม้ จำเลย ที่ 1 จะ ให้การ สู้ คดี ไว้ แต่ใน ชั้นอุทธรณ์ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ อุทธรณ์ ใน ประเด็น นี้ จึง เป็น ข้อที่ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ส่วน ใน เรื่องใบรับรอง กรมธรรม์ เปิด ทางทะเล ศาลอุทธรณ์ ก็ ได้ วินิจฉัย ไว้ โดยละเอียด แล้ว แต่ ฎีกา ของ จำเลย ดังกล่าว หา ได้ โต้แย้ง คัดค้าน คำวินิจฉัยของ ศาลอุทธรณ์ ไม่ว่า ชอบ หรือไม่ ถูกต้อง อย่างไร ไม่ จึง เป็น ฎีกาที่ ไม่ได้ กล่าว ไว้ โดยชัดแจ้ง ฎีกา จำเลย ที่ 1 ทั้ง สอง ประเด็น ดังกล่าวไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
ข้อ ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ร่วม ขนส่งทางทะเล กับ จำเลย ที่ 2 นั้น ได้ความ ว่า การ ขนส่ง ราย นี้ ผู้ขายได้ว่า จ้าง จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ขนส่ง สินค้า ราย พิพาท เมือง เค็ตชิกัน มลรัฐอลาสกา ประเทศ สหรัฐอเมริกา มา ยัง ท่าเรือ กรุงเทพ ซึ่ง ได้ ทำการ ขนส่ง มา โดย เรือ ริมบา รามิน แต่ เรือ ดังกล่าว ไม่สามารถ เข้า มา ยัง ท่าเรือ กรุงเทพ ได้ จึง ต้อง ขนถ่าย สินค้า ที่ เกาะ สีชัง ใบตราส่ง จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็น ผู้ ออก แต่ บริษัท ซันไรส์ ชิปปิ้ง เอเยนซี่ (แคนาดา) จำกัด ซึ่ง ทำการ แทน จำเลย ที่ 2เป็น ผู้ ออก ใน การ ขนถ่าย สินค้า จาก เรือ ริมบา รามิน ซึ่ง จอด อยู่ ที่ เกาะ สีชัง มา ยัง ท่าเรือ กรุงเทพ ผู้ขนส่ง คือ บริษัท เจริญจิต จำกัด ไม่มี เอกสาร ฉบับ ใด ระบุ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขนส่ง สินค้าจาก เกาะ สีชัง มา ยัง ท่าเรือ กรุงเทพ หรือ เป็น ผู้ว่าจ้าง บริษัท เจริญจิต จำกัด ใบตราส่ง เป็น แบบ ฟูล ไลเนอร์เทอม ซึ่ง หมายความ ว่า หน้าที่ ใน การ ขนถ่าย สินค้า จาก เรือ ใหญ่ ลง สู่ เรือ ฉลอม เป็น หน้าที่ ของ เจ้าของ เรือ ใหญ่ ซึ่ง เป็น ผู้ขนส่ง สินค้า ใน การ ควบคุมการ ขนส่ง สินค้า จาก ท่าเรือ เกาะสีชัง มา ยัง ท่าเรือ กรุงเทพ พนักงาน ของ เรือ ใหญ่ เป็น ผู้ควบคุม มา เอง จึง ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่า จำเลย ที่ 1ไม่ได้ เข้าร่วม ทำการ ขนส่ง สินค้า ราย นี้ กับ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง ได้ทำการ ขนส่ง มา โดย เรือ ริมบา รามิน และ ไม่ได้ มี ส่วน เข้าร่วม ใน การ ขนถ่าย สินค้า จาก เรือ ริมบา รามิน ด้วย ส่วน ที่ จำเลย ที่ 1ได้ ดำเนินการ แจ้ง กำหนด เวลา ที่ เรือ มา ถึง ให้ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด ทราบ เพื่อ ให้ นำ ใบตราส่ง มา เปลี่ยน เป็น ใบปล่อยสินค้า เป็น ผู้ขออนุญาต ต่อ กรมศุลกากร เพื่อ ขอ นำ เรือ เข้า เทียบท่า และ ให้ ไป ตรวจ สินค้ารวมทั้ง แจ้ง ต่อ กองตรวจคนเข้าเมือง นั้น จะ เป็น การ ที่ จำเลย ที่ 1เข้าร่วม ขนส่ง และ เป็น การ ขนส่ง หลาย ทอด ตาม วิธีการ ขนส่ง ทางทะเลหรือไม่ เห็นว่า การ แจ้ง กำหนด เวลา ที่ เรือ มา ถึง ให้ บริษัท ไซเรยอน จำกัด ทราบ การ ติดต่อ เพื่อ ขอ นำ เรือ เข้า เทียบท่า และ ให้ ไป ตรวจสินค้า รวมทั้ง แจ้ง ต่อ กองตรวจคนเข้าเมือง นั้น กิจการ เหล่านี้เป็น กิจการ ที่ จำเลย ที่ 2 ผู้ขนส่ง และ เจ้าของ เรือ ริมบา รามิน จะ ต้อง กระทำ ด้วย ตนเอง การ ที่ จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำ กิจการ เหล่านั้นแทน ผู้ขนส่ง และ เจ้าของ เรือ ยัง ไม่พอ ถือว่า จำเลย ที่ 1 เป็นผู้เข้าร่วม ขนส่ง กับ จำเลย ที่ 2 และ เรือ ริมบา รามิน ด้วย จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ตาม ฟ้อง เมื่อ ได้ วินิจฉัยดังนี้ แล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 1 ใน เรื่อง ค่าเสียหาย จึง ไม่จำเป็น ต้องวินิจฉัย
อนึ่ง คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงินค่าเสียหาย กับ ดอกเบี้ย จำนวน 297,774.40 บาท และ ดอกเบี้ย ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 283,594.68 บาท นับแต่ วันฟ้อง ถึงวัน ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงินจำนวน 283,734.40 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง จน ถึง วัน ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน จำเลย ที่ 1ฎีกา ขอให้ ยกฟ้อง ดังนี้ คดี จึง มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกาเท่ากับ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา คัดค้าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์คือ 283,734.40 บาท ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ต้อง เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกาเพียง 7,092.50 บาท แต่ ศาลชั้นต้น คำนวณ ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กันใน ชั้นฎีกา โดย รวม ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง จน ถึง วันที่ จำเลย ที่ 1ยื่นฎีกา เข้า เป็น ทุนทรัพย์ จำนวน 359,497.31 บาท ด้วย และ ให้จำเลย ที่ 1 เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา เป็น เงิน 8,987.50 บาท จำเลยที่ 1 จึง เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา เกิน มา จำนวน 1,895 บาท ศาลฎีกาเห็นสมควร คืนเงิน ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา ที่ ชำระ เกิน มา แก่ จำเลย ที่ 1
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ให้ โจทก์ ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้ง สาม ศาล แทน จำเลย ที่ 1 โดย กำหนด ค่า ทนายความ รวม 15,000 บาทและ ให้ คืน ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา แก่ จำเลย ที่ 1 จำนวน 1,895 บาท