คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2483

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่จำเลยรู้อยุ่แล้วว่าเหล้าที่ส่งมาถึงจำเลยมีเหล้าปอร์ตไวน์ซึ่งมิได้ผลิตในดินแดนโปรติเกตปนอยู่ด้วย ยังยืนยันขอรับการกรมศุลกากรเพื่อไป จำหน่ายถือได้ว่าจำเลยได้มีส่วนนำเข้ามาซึ่งเหล้าปอร์ตไวน์นั้น

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้นำเหล้าองุ่นจากประเทศจีนใช้ซื้อเหล้านั้นว่าไฟน์โอลด์ไวน์ปอร์ตไวน์และไฟน์ไวน์ปอร์ต เข้ามาประเทศไทยเพื่อจำหน่ายโดยจำเลยไม่มีอำนาจตาม กฎหมายที่จะใช้คำว่าปอร์ตผสมอยู่สำหรับเหล้าองุ่นซึ่งมิได้ผลิตในดินแดนโปรตุเกตและจำเลยได้ให้ผู้แทนของจำเลยยื่นใบขนสินค้าขออนุญาตนำเหล้าองุ่นดังกล่าวแล้วจารกรมศุลกากรไป จำหน่าย ขอให้ ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติชื่อถิ่นกำเนิดเหล้าองุ่นโปรตุเกต ๒๔๘๑ ม. ๔,๕,
ศาลแขวงพระนครใต้เห็นว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานว่าจำเลยเป็นผู้นำสุราของกลางเข้ามาตามฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำว่า “ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ในพระราชบัญญัติชื่อถิ่นกำเนิดเหล้าองุ่นโปรตุเกต พ.ศ. ๒๔๘๑ แต่ในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บทกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร และตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒ กินความตลอดถึงผู้ที่มีส่วนได้ชั่วขณะหนึ่งในของใด ๆ นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้าถึงด้วยเรื่องนี้จำเลยยื่นใบขนสินค้าเพือรับเอาเหล้ามาจำหน่าย จำเลยจึงต้องมีส่วนได้เสียในเหล้าองุ่นที่ส่งมา เข้าบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่าผู้นำของเข้า จำเลยต้องมีความผิดตามฟ้องจึงพิพากษากลับศาลชั้นต้น ลงโทษปรับจำเลย
จำเลยฎีกา ศาลฎีกา เห็นว่าการที่จำเลยรุ้แล้วว่าเหล่าทีส่งมามีเหล้าปอร์ตไวน์ปนอยู่ด้วยยังยืนยันของรับเหล้ารายพิพาทจากกรมศุลกากรนั้น เรียกได้ว่า จำเลยได้มีส่วนนำเข้ามาซึ่งเหล้าปอร์ตไวน์นั้น จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share