แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คำว่า”บังอาจ”ตามกำหมายอาญามาตรา 336(2) นั้นหมายความว่า กระทำโดยรู้ว่าเป็นทางหลวงจึงเป็นความ
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบังอาจสมคบกันปักเสาล้อมรั้วด้วยลวดหนามล้ำเข้าไปในถนนหลวงกว้าง ๒ ศอก ยาว ๑๔ วา โดยมิได้รับอนุญาต จำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้ว่าที่ดินที่จำเลยทำรั้วเป็นที่ดินของจำเลย ซึ่งมีโฉนดตราจองแล้วหาใช่ถนนหลวงไม่
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยปักเสาล้อมรั้วลวดหนามรุกล้ำทางหลวง แม้จำเลยจะไม่มีอาญาอาชญาเจตนาก็ต้องมีผิดตาม ก.ม. อาญา ม. ๓๓๖(๒),๓๓๓ ปรับจำเลยคนละ ๑๒ บาท
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยได้ปักเสาขึงลวดหนามล้อมรั้วเลยเขตที่ดินของจำเลยเข้าไปในทางหลวงยาว ๘ วากว้าง ๔๐ เซนติเมตร เห็นว่าเป็นการบังอาจเป็นความผิดตาม ม. ๓๓๖(๓)
พิพากษายืน
จำเลยฎีกาเห็นว่า คำว่า “บังอาจ”ตามกำหมายอาญามาตรา ๓๓๖(๒) นั้นหมายความว่า กระทำโดยรู้ว่าเป็นทางหลวงจึงเป็นความผิด ข้อโต้แย้งของจำเลยที่ว่า ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปจากศาลชั้นต้นเป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการบังอาจไม่ชอบด้วย วิ.อาญาม. ๑๙๔ นั้น เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยที่ได้ความมาเป็นการบังอาจตาม มาตรา ๓๓๖(๓) แล้วต่างหาก หาใช่ฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากศาลชั้นต้นไม่
พิพากษายืน