แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
มูลหนี้ตามเช็คคดีนี้โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งให้ชดใช้เงินแล้วโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้วผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852ดังนั้นหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา7สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 นับ โทษ จำเลย ทั้ง สอง ต่อ จาก โทษ ใน คดี อื่น
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มีมูล ให้ ประทับ ฟ้อง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพ และ รับ ว่า เป็น บุคคล คนเดียว กับจำเลย ทั้ง สอง ใน คดี ที่ โจทก์ ขอให้ นับ โทษ ต่อ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ปรับ จำเลย ที่ 1 จำนวน 10,000 บาทจำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 4 เดือน จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพเป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง ปรับ จำเลย ที่ 1 จำนวน 5,000 บาทจำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด 2 เดือน ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 นับ โทษ จำคุก จำเลย ที่ 2 ต่อ จาก โทษใน คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 404/2536 และ 591/2536 ของ ศาลชั้นต้นคำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ ขอให้ ลดโทษ ปรับ จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ ขอให้รอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำคุก จำเลย ที่ 2 มี กำหนด2 เดือน จำเลย ที่ 2 ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณามีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คง จำคุก 1 เดือน นอกจาก ที่ แก้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองว่า หลังจาก โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง คดี นี้ แล้ว ต่อมา โจทก์ ได้ ฟ้องจำเลย ทั้ง สอง ต่อ ศาลจังหวัด พิษณุโลก ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชดใช้ เงิน ตามเช็คใน ที่สุด โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กันและ ศาลจังหวัด พิษณุโลก ได้ มี คำพิพากษา ตามยอม แล้ว คดี จึง เป็น อันเลิกกัน ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 นั้น เห็นว่า ปัญหา ดังกล่าว แม้ ไม่ได้ ยกขึ้น ว่า กันมา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น แต่ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อยศาลฎีกา มีอำนาจ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า มูลหนี้ ตามเช็คคดี นี้ โจทก์ ได้ นำ ไป ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ให้ ชดใช้ เงิน ตาม คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 216/2537 ของ ศาลจังหวัด พิษณุโลก แล้ว โจทก์ และ จำเลยทั้ง สอง ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ และ ศาล ได้ พิพากษาคดี ตามยอมถึงที่สุด แล้ว เมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2537 ผล ของ การ ประนีประนอมยอมความ ดังกล่าว ย่อม ทำให้ การ เรียกร้อง ซึ่ง แต่ละ ฝ่าย ได้ ยอม สละ นั้นระงับ สิ้นไป และ ทำให้ แต่ละ ฝ่าย ได้ สิทธิ ตาม ที่ แสดง ใน สัญญา นั้น ว่าเป็น ของ ตน ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852ดังนั้น หนี้ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ออก เช็ค ตาม ฟ้อง เพื่อ ใช้ เงิน นั้นจึง เป็น อัน สิ้น ผล ผูกพัน ไป ก่อน ที่ ศาลฎีกา มี คำพิพากษาถึงที่สุดคดี จึง เป็น อัน เลิกกัน ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจากการ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิ ของ โจทก์ ใน การ นำ คดี มา ฟ้องย่อม ระงับ ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)
เมื่อ สิทธิ นำ คดีอาญา มา ฟ้อง ของ โจทก์ ระงับ ไป แล้ว จึง ให้ จำหน่ายคดี ออก เสีย จาก สารบบความ