คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานผู้ร้องชั้นร้องขัดทรัพย์ศาลชั้นต้นถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบให้ยกคำร้องการที่ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยอ้างว่ามิได้มีเจตนาที่จะไม่ไปศาลตามกำหนดนัดและได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายขอเลื่อนคดีอุทธรณ์ของผู้ร้องเท่ากับเป็นการขอให้ศาลพิจารณาคดีของผู้ร้องใหม่ซึ่งเป็นกรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา207,208และ209การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ให้ เป็น บุคคล ล้มละลายศาลฎีกา พิพากษายืน ตาม ศาลอุทธรณ์ ให้ พิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย ทั้ง สามเด็ดขาด ผู้คัดค้าน รวบรวม ทรัพย์สิน ต่าง ๆ รวม 47 รายการ ของ จำเลยทั้ง สาม และ ประกาศ ขายทอดตลาด ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ต่อ ผู้คัดค้าน ว่าทรัพย์สิน ตาม รายการ ต่าง ๆ นั้น เป็น ทรัพย์สิน ของ ผู้ร้อง ไม่ใช่ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง สาม ผู้คัดค้าน นัด สอบสวน คำร้อง แต่ ผู้ร้องไม่นำ พยาน มา ให้การ สอบสวน ผู้คัดค้าน มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง ผู้ร้องยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาลชั้นต้น ขอให้ปล่อย ทรัพย์สิน ทั้ง 47 รายการผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น นัด ไต่สวน พยาน ผู้ร้อง ใน วันที่ 21 ตุลาคม 2535เวลา 13.30 นาฬิกา ถึง วัน เวลา นัด ผู้ร้อง ไม่มา ศาล ศาลชั้นต้น ถือว่าผู้ร้อง ไม่มี พยาน สืบ ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ผู้ร้อง จงใจ ขาดนัดพิจารณา พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เมื่อ ผู้ร้อง ไม่มา ศาล ใน วันนัด สืบพยานศาลชั้นต้น ถือว่า ผู้ร้อง ไม่มี พยาน มา สืบ แล้ว มี คำสั่ง ว่า ข้อเท็จจริงจึง ฟัง ไม่ได้ ตาม คำร้อง ให้ยก คำร้อง การ ที่ ผู้ร้อง อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้น โดย อ้างว่า ผู้ร้อง มิได้ มี เจตนา ที่ จะ ไม่ไป ศาล ตาม กำหนด นัดและ ใน วันนัด สืบพยาน ผู้ร้อง ได้ มอบฉันทะ ให้ เสมียนทนาย เดินทาง จากกรุงเทพมหานคร นำ คำร้องขอ เลื่อนคดี ไป ยื่น ต่อ ศาลชั้นต้น แต่ ไป ถึงศาลชั้นต้น เวลา 14.30 นาฬิกา เนื่องจาก การจราจร ใน กรุงเทพมหานครติดขัด อย่างมาก และ เจ้าหน้าที่ศาล ไม่ยอม รับคำ ร้อง อ้างว่า ศาลได้ ดำเนิน กระบวนพิจารณา และ ยกคำร้อง ของ ผู้ร้อง ไป แล้ว อุทธรณ์ ของผู้ร้อง เท่ากับ เป็น การ ขอให้ ศาล พิจารณา คดี ของ ผู้ร้อง ใหม่ โดย เปิด โอกาสให้ ผู้ร้อง นำพยาน เข้าสืบ ซึ่ง เป็น กรณี ต้อง บังคับ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207, 208 และ 209 การ ที่ ผู้ร้อง ยื่น อุทธรณ์ โดย มิได้ ยื่น คำร้องต่อ ศาลชั้นต้น เช่นนี้ จึง เป็น การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ที่ ไม่ชอบแม้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ให้ ก็ ถือไม่ได้ว่า เป็น ข้อ ที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กันมา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย เมื่อ วินิจฉัยเช่นนี้ แล้ว จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย ปัญหา ตาม ฎีกา ผู้ร้อง ที่ ว่า ผู้ร้องไม่ได้ จงใจ ขาดนัดพิจารณา จึง มีเหตุ ที่ จะ นัด สืบพยาน ผู้ร้อง ตามคำร้องขอ หรือไม่
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ยก ฎีกา ของ ผู้ร้อง

Share