แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ขายที่ดินต่อกันแล้วมีข้อตกลงไว้ท้ายสัญญานั้นว่าถ้าผู้ขายต้องการซื้อคืนผู้ซื้อยอมขายไห้ดังนี้ ถือว่าเปนเรื่องขายฝาก
การขายฝากที่ไม่ได้ตกลงว่าจะไถ่ถืนเท่าไรก็ต้องคืนเท่าราคาที่ขายต่อกัน.
ย่อยาว
ข้อเท็ดจิงฟังได้ว่า โจททำสัญญาต่อหน้ากรมการอำเทอนายที่นาไห้แก่จำเลย ท้ายหนังสือสัญญามีความว่า “แลมีข้อสัญญาไนการซื้อขายที่รายนี้ต่อไปว่า ข้าพเจ้า นายทอง บุญจัน ผู้ขายยอมขายที่นา ฯลฯ ไห้แก่นายเอี้ยวกิ๊มเปนกัมสิทธิและถ้าต่อไปข้าพเจ้าทำมาหาได้จะขอซื้อที่นารายนี้คืน ข้าพเจ้านายเอี้ยวกิ๊มขอไห้สัญญาว่าถ้านายทองจะต้องการซื้อที่นารายนี้คืน ยอมขายไห้อีก” บัดนี้โจทจะซื้อคืนตามคำมั่นด้วยราคา ๔๕ บาท จำเลยจะขายราคา ๓๐๐ บาท
สาลชั้นต้น พิจารนาแล้วพิพากสายกฟ้องโจท
โจทอุธรน์ สาลอุธรน์พิพากสากลับไห้โจทไถ่ที่พิพาทคืนด้วยราคา ๔๕ บาท
จำเลยดีกา สาลดีกาเห็นว่าการซื้อขายรายนี้มีข้อตกลงด้วยว่า เมื่อโจทจะต้องการซื้อคืนจำเลยยอมขายไห้อีก ข้อความนี้สแดงเจตนาของคู่สัญญาชัดว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงกันไห้ผู้ขายเรียกร้องเอาทรัพย์นั้นคืนได้โดยชำระเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งการกะทำเช่นนี้ก็คือการไถ่ทรัพย์คืนตามความหมายของกดหมายสัญญาระหว่างโจทจำเลยเปนขายฝากตาม ม. ๔๙๑. ป.พ.พ. และเมื่อสินไถ่ไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าไดต้องบังคับคดีตาม ม. ๔๙๙. ไห้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก พิพากสายืนตามสาลอุธรน์.