คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คำมั่นที่จะให้เงินรางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522มาตรา35(1)มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมดังนั้นข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเงินรางวัลจึงไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั่วไปเมื่อ วันที่ 13 กันยายน 2535 หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ได้ ให้ คำมั่น ว่า จะ ให้ เงินรางวัล แก่ ผู้ที่ แจ้ง เบาะแส ผู้กระทำผิด พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35(1) โดย มีเงื่อนไข ว่า ถ้า พนักงานสอบสวน จับกุม ผู้กระทำผิด ผู้แจ้ง จะ ได้รับ เงินรางวัล 10,000 บาท ถ้า พนักงานอัยการ ยื่นฟ้อง ผู้กระทำผิดต่อ ศาล ผู้แจ้ง จะ ได้รับ เงินรางวัล อีก 10,000 บาท และ ถ้า ศาลมี คำพิพากษา ลงโทษ ผู้กระทำผิด ผู้แจ้ง จะ ได้รับ เงินรางวัล อีก100,000 บาท จำเลย ได้ ทำ หนังสือ สัญญา จะ แบ่ง เงินรางวัล ตาม ที่ จำเลยจะ ได้รับ จาก การ แจ้ง เบาะแส ผู้กระทำผิด ดังกล่าว แล้ว ให้ แก่ โจทก์หนึ่ง ใน สาม ส่วน เป็น เงิน 40,000 บาท เป็น รางวัล แห่ง ความ กล้าหาญใน การ กล่าว โทษ ผู้กระทำผิด ต่อ พนักงานสอบสวน และ เป็น ผู้ติดต่อประสานงาน รับ เงินรางวัล ใน คดี ที่ จำเลย เป็น ผู้แจ้ง จำเลย รับ เงินรางวัล งวด แรก และ งวด ที่ สอง แล้ว ไม่ยอม จ่าย ให้ โจทก์ ตาม สัญญา โจทก์ จึงให้ จำเลย ทำ หลักฐาน เป็น หนังสือ และ ต่อมา เมื่อ ศาล พิพากษา ลงโทษผู้กระทำผิด จำเลย ได้รับ เงินรางวัล งวด สุดท้าย แล้ว จำเลย ก็ ไม่ยอมแบ่ง ให้ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ 40,000 บาทให้ จำเลย เสีย ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน40,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า สัญญา แบ่ง เงินรางวัล ท้ายฟ้อง เป็น คำมั่น ที่ จำเลยจะ แบ่ง เงินรางวัล ให้ แก่ โจทก์ สัญญา ดังกล่าว ก็ ไม่มี ผล ผูกพัน บังคับแก่ จำเลย ได้ เพราะ มิได้ นำ ไป จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 526 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า สัญญา แบ่ง เงินรางวัลท้ายฟ้อง ขัด ต่อ ศีลธรรม อัน ดี ของ ประชาชน เป็น โฆษณา ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 150 พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ มี เพียง ว่าข้อตกลง ตาม หนังสือ สัญญา แบ่ง เงินรางวัล เอกสาร หมาย จ. 1 ขัด ต่อศีลธรรม อัน ดี ของ ประชาชน หรือไม่ เห็นว่า การ ที่ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ร่วม กับ กระทรวงมหาดไทย และ องค์กร กลาง ประกาศ ให้ คำมั่น จะ ให้ รางวัลแก่ ผู้แจ้ง เบาะแส ผู้กระทำผิด พระราชบัญญัติ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ก็ โดย มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ให้การ เลือกตั้งเป็น ไป โดย บริสุทธิ์ ยุติธรรม คำมั่น ดังกล่าว เป็น คำมั่น ที่ ประกาศแก่ คน ทั่วไป ซึ่ง โจทก์ แม้ จะ ได้รับ แต่งตั้ง จาก องค์กร กลาง ให้ เป็นประธาน องค์กร กลาง อำเภอ นาจะหลวย จังหวัด อุบลราชธานี หาก โจทก์ เป็น ผู้แจ้ง เบาะแสผู้กระทำผิด โจทก์ ก็ มีสิทธิ จะ ได้รับ รางวัล ดังกล่าวได้ หา ได้ มี ข้อกำหนด ห้าม ไว้ แต่อย่างใด ไม่ ดังนั้น การ ที่ โจทก์กล่าว โทษ นาย หนูพัฒน์ ต่อ พนักงานสอบสวน ตาม ที่ ตกลง กับ จำเลย ดังกล่าว ข้างต้น ย่อม ถือได้ว่า โจทก์ เป็น ผู้หนึ่ง ที่ ได้ ร่วม ดำเนินการ แจ้งเบาะแสผู้กระทำผิด กับ จำเลย ต่อ พนักงานสอบสวน และ การ ที่ จำเลย ตกลง ให้โจทก์ ดำเนินการ ดังกล่าว ก็ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ ใช้ อำนาจ ไม่เป็นธรรมหรือ กระทำการ ขัด ต่อ ศีลธรรม ให้ จำเลย ยอม ตกลง กับ โจทก์ ดังนั้นข้อตกลง ตาม หนังสือ สัญญา แบ่ง เงินรางวัล จึง ไม่เป็น โมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้นไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ

Share