แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยดำเนินการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119นั้นสิทธิเรียกร้องของจำเลยต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพราะเหตุว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ว่าจะพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจำเลยย่อมไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเองอำนาจดังกล่าวตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา6,22,24
ย่อยาว
คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลยทั้ง สาม เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน 2526 ใน การ จัด กิจการ และทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง สาม ผู้คัดค้าน เห็นว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ชำระหนี้ให้ แก่ ผู้ร้อง หลังจาก ที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เป็น จำนวน3,808,901.20 บาท อันเป็น การ ต้องห้าม ตาม มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ผู้คัดค้าน จึง มี หนังสือ แจ้ง ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงินจำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วัน ผิดนัดจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ผู้ร้อง ปฏิเสธ หนี้ ผู้คัดค้าน สอบสวน แล้ว เห็นว่าผู้ร้อง เป็น หนี้ จำนวน 2,426,332.45 บาท จึง มี หนังสือ แจ้ง ยืนยันหนี้ ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงิน จำนวน 2,426,332.45 บาท พร้อม ดอกเบี้ยต่อ ผู้คัดค้าน
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ไม่ทราบ มา ก่อน ว่า จำเลย ที่ 1ถูก ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า คำสั่งศาล ให้ พิทักษ์ทรัพย์จำเลย ทั้ง สาม เด็ดขาด ได้ มี การ ประกาศ โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ และ ลง โฆษณาใน ราชกิจจานุเบกษา ถือว่า บุคคล ทั่วไป ได้ ทราบ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ของ จำเลย ทั้ง สาม แล้ว การ ที่ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ ให้ แก่ผู้ร้อง ภายหลัง ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สาม เด็ดขาด แล้วเป็น การ ต้องห้าม ตาม มาตรา 22 และ 24 แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 การ ชำระหนี้ ตกเป็น โมฆะ ผู้ร้อง ต้อง ชำระ คืน ใน ฐานลาภมิควรได้
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ผู้ร้อง ฎีกา คัดค้าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์มา หลาย ประการ แต่ก่อน ที่ จะ วินิจฉัย ฎีกา ของ ผู้ร้อง เห็นควร วินิจฉัยก่อน ว่า ผู้คัดค้าน มีอำนาจ ดำเนินการ ทวง หนี้ จาก ผู้ร้อง ตาม มาตรา 119แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 หรือไม่ เห็นว่า กรณี ที่ผู้คัดค้าน จะ ใช้ สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลย ที่ 1 ดำเนินการ ทวง หนี้จาก ลูกหนี้ ของ จำเลย ที่ 1 ได้ นั้น สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลย ที่ 1จะ ต้อง มี อยู่ ก่อน วันที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพราะ เมื่อ ศาล มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แล้ว จำเลย ที่ 1 ย่อม ไม่มี อำนาจ จัด กิจการ และทรัพย์สิน ของ ตนเอง อำนาจ ดังกล่าว ตก อยู่ แก่ ผู้คัดค้าน แต่ ผู้เดียวตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 จำเลย ที่ 1ย่อม หมด อำนาจ ที่ จะ กระทำการ ด้วย ตนเอง ได้ ดังนั้น แม้ ข้อเท็จจริงจะ ฟังได้ ตาม ที่ ผู้คัดค้าน อ้าง คือ จำเลย ที่ 1 นำ เงิน ไป ชำระหนี้แก่ ผู้ร้อง เมื่อ ศาล สั่ง พิทักษ์ทรัพย์ แล้ว อันเป็น กรณี ที่ จำเลย ที่ 1กระทำการ ล่วงละเมิด อำนาจ ของ ผู้คัดค้าน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 24 ก็ ตาม แต่ สิทธิเรียกร้อง ที่ จะ ได้รับ เงิน ที่จำเลย ที่ 1 ชำระ ไป แล้ว คืน เกิดขึ้น ภายหลัง ที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ที่ 1 แล้ว จึง ไม่ใช่ หนี้ ที่ เกิด ก่อนพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้าน จึง ไม่อาจ ใช้ อำนาจ ตาม มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เรียกร้อง ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงินจำนวน 2,426,332.45 บาท แก่ ผู้คัดค้าน ได้ ปัญหา ดังกล่าวเกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ ไม่มี คู่ความ ฝ่ายใด ฎีกาศาลฎีกา ก็ มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้ คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกาของ ผู้ร้อง ต่อไป ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง มี คำสั่ง และ คำพิพากษา ให้ยก คำร้องของ ผู้ร้อง ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ”
พิพากษากลับ ให้ จำหน่าย ชื่อ ผู้ร้อง ออกจาก บัญชี ลูกหนี้