แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
คำขอฝ่ายเดียวที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา275,276นั้นศาลไม่จำต้องออกหมายบังคับคดีให้ทันทีเมื่อศาลเห็นว่าสิทธิเรียกร้องตามคำขอของโจทก์นั้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ย่อมมีอำนาจปฏิเสธไม่ออกหมายบังคับคดีให้แก่โจทก์ได้. สิทธิเรียกร้องเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ.2518เป็นค่าจ้างซึ่งทางราชการจ่ายให้เป็นพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนและค่าจ้างจากงบประมาณรายจ่ายให้แก่ข้าราชการหรือลูกจ้างที่เดินทางไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตามปกติไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา286(2).
ย่อยาว
คดี สืบ เนื่อง มา จาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหายแก่ โจทก์
โจทก์ ยื่น คำร้อง ขอ ให้ ออก หมาย บังคับคดี ความ ว่า ระยะ เวลาที่ ศาล กำหนด ตาม คำ บังคับ ได้ ล่วงพ้น แล้ว จำเลย มิได้ ชดใช้ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ ขอ ให้ เจ้าพนักงาน บังคับ คดี อายัด ทรัพย์ ของจำเลย คือ เงิน เบี้ยเลี้ยง ประมาณ เดือนละ 1,800 บาท ซึ่ง จำเลย จะได้ รับ จาก กองเครื่องจักรกล งาน ดิน กรมชลประทาน นายจ้าง ของ จำเลย
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า เงิน เบี้ยเลี้ยง ซึ่ง จำเลย จะ ได้ รับ จากกรมชลประทาน นายจ้าง ของ จำเลย เป็น เงิน ค่าจ้าง ไม่ อยู่ ใน ความรับผิด แห่ง การ บังคับ คดี ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286 (2) อายัด ไม่ ได้ ยก คำร้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา พิจารณา แล้ว เห็นว่า คำร้อง ของ โจทก์ ไม่ ได้ ความ แน่ ชัดว่า เงิน ที่ ขอ ให้ อายัด นั้น เป็น เบี้ยเลี้ยง ประจำ หรือ เป็นค่า เบี้ยเลี้ยง เดินทาง พิพากษา ยก คำสั่ง และ คำพิพากษา ของ ศาลล่างทั้ง สอง ให้ ศาลชั้นต้น ทำ การ ไต่สวน และ มี คำสั่ง ใหม่
ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง ว่า เงิน ที่ โจทก์ ขอ อายัด เป็นเงิน ค่า เบี้ยเลี้ยง เดินทาง และ ค่าเช่า ที่พัก ของ จำเลย ที่ จำเลยมี สิทธิ เบิก ได้ สำหรับ เบี้ยเลี้ยง เดินทาง เป็น เงิน ที่ จ่าย ในการ เดินทาง ไป ราชการ ซึ่ง มี ลักษณะ เพิ่ม พิเศษ จาก ค่าจ้าง ประจำจึง เป็น ค่าจ้าง ตาม ความ ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา286 (2) หา อยู่ ใน ความ รับผิด แห่ง การ บังคับคดี ไม่ ส่วน ค่าเช่าที่พัก เป็น เรื่อง ที่ ทาง ราชการ จ่าย ให้ จำเลย ใน การ ปฎิบัติราชการ จำเลย มิได้ รับ เป็น รายได้ ส่วนตัว จึง ไม่ ใช่ สิทธิเรียกร้อง เป็น เงิน ของ จำเลย ไม่ อยู่ ใน ความ รับผิด แห่ง การบังคับ คดี เช่นกัน ให้ ยก คำร้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฎีกา ประการ แรก ว่า เมื่อ โจทก์ ยื่นคำขอ ฝ่าย เดียว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275, 276แล้ว ศาล ต้อง ออก หมาย บังคับคดี ให้ ทันที เพราะ ตาม มาตรา ทั้ง สองไม่ ได้ บัญญัติ ไว้ ให้ ศาล สั่ง เป็น อย่างอื่น ศาลฎีกา เห็นว่าตาม คำขอ ฝ่าย เดียว ของ โจทก์ ได้ ระบุ วิธี การ บังคับคดี ซึ่งขอ ให้ ออก หมาย นั้น โดย ขอ ให้ ศาล ออก หมาย บังคับคดี อายัด เงินเบี้ยงเลี้ยง เดือนละ ประมาณ 1,800 บาท ซึ่ง จำเลย จะ ได้ รับ จากกองเครื่องจักรกล งาน ดิน กรมชลประทาน นายจ้าง ของ จำเลย เมื่อศาลชั้นต้น เห็นว่า วิธีการ บังคับคดี ซึ่ง ขอ ให้ ออก หมาย นั้นไม่ ชอบ ดัง เช่น คดี นี้ ที่ ศาลชั้นต้น เห็นว่า สิทธิ เรียกร้องเป็น เงิน ของ จำเลย ตาม คำขอ ของ โจทก์ นั้น ไม่ อยู่ ใน ความ รับผิดแห่ง การ บังคับคดี ตาม มาตรา 286 ก็ ย่อม มี อำนาจ ปฏิเสธ ไม่ ออกหมาย บังคับคดี ให้ แก่ โจทก์ ได้ ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้น
โจทก์ ฎีกา ประการ สุดท้าย ว่า ค่าเบี้ยเลี้ยง เดินทาง ไม่ ใช่ ค่าจ้าง ส่วน ค่าเช่า ที่พัก เป็น สิทธิ เรียกร้อง ที่ เป็น เงิน ของ จำเลยจึง อยู่ ใน ความ รับผิด แห่ง การ บังคับคดี ศาลฎีกา เห็นว่า ตามพระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่าย ใน การ เดินทาง ไป ราชการ พ.ศ. 2518 ซึ่ง เป็นกฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ ใน ขณะ โจทก์ ยื่น คำขอ ฝ่าย เดียว ให้ ศาลออก หมาย บังคับคดี นั้น มาตรา 5 บัญญัติ ว่า ‘การ จ่าย เงิน ตามงบประมาณ รายจ่าย เพื่อ เป็น ค่าใช้จ่าย ใน การ เดินทาง ไป ราชการให้ เป็น ไป ตาม หลักเกณฑ์ และ อัตรา การจ้าง ตาม พระราชกฤษฎีกา นี้ ……..ฯลฯ’ มาตรา 6 วรรคแรก บัญญัติ ว่า ‘ผู้ เดินทาง ไป ราชการซึ่ง เป็น ข้าราชการ หรือ ลูกจ้าง ซึ่ง รับ เงินเดือน หรือ ค่าจ้างจาก งบประมาณ รายจ่าย ให้ เบิก ค่าใช้จ่าย ใน การ เดินทาง ไป ราชการได้ ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน พระราชกฤษฎีกา นี้’ มาตรา 8 บัญญัติ ว่า’การ เดินทาง ไป ราชการ ใน ราชอาณาจักร ได้แก่ (1) การ เดินทาง ไปปฏิบัติ ราชการ ชั่วคราว นอก ที่ ตั้ง สำนักงาน ซึ่ง ปฏิบัติ ราชการปกติ ตาม คำสั่ง ผู้บังคับบัญชา หรือ ตาม หน้าที่ ที่ ปฏิบัติ ราชการโดย ปกติ……ฯลฯ’ มาตรา 9 บัญญัติ ว่า ‘ค่าใช้จ่าย ใน การ เดินทางไป ราชการ ใน ราชอาณาจักร ได้แก่ (1) ค่าเบี้ยเลี้ยง เดินทาง (2)ค่าเช่า ที่พัก……ฯลฯ’ มาตรา 10 บัญญัติ ว่า ‘ค่า เบี้ยเลี้ยงเดินทาง ให้ เบิก ได้ ตาม อัตรา ใน บัญชี 1 ท้าย พระราชกฤษฎีกา นี้’มาตรา 13 บัญญัติ ว่า ‘การ เดินทาง ไป ราชการ วันใด ที่ จำเป็น ต้องพักแรม…… ให้ เบิก ค่าเช่า ที่พัก เหมาจ่าย ได้ ตาม อัตรา ดังนี้ ……..ฯลฯ’ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ค่าเบี้ยเลี้ยง เดินทาง และค่าเช่า ที่พัก ก็ คือ ค่าใช้จ่าย ใน การ เดินทาง ที่ ทาง ราชการ จ่ายให้ แก่ ข้าราชการ หรือ ลูกจ้าง ที่ ได้ รับ คำสั่ง ของ ผู้บังคับบัญชาให้ เดินทาง ไป ปฏิบัติ ราชการ ชั่วคราว นอก ที่ตั้ง สำนักงาน ซึ่งปฏิบัติ ราชการ ปกติ ตาม อัตรา ซึ่ง เหมาะสม กับ สภาพการณ์ ใน ขณะใช้ พระราชกฤษฎีกา นั้น ถือ ได้ ว่า สิทธิ เรียกร้อง เงิน ค่าเบี้ยเลี้ยง เดินทาง และ ค่าเช่า ที่พัก เป็น ค่าจ้าง ซึ่ง ทาง ราชการจ่าย ให้ เป็น พิเศษ นอกเหนือ จาก เงินเดือน และ ค่าจ้าง จาก งบประมาณรายจ่าย ให้ แก่ ข้าราชการ หรือ ลูกจ้าง ที่ เดินทาง ไป ปฏิบัติ ราชการชั่วคราว นอก ที่ตั้ง สำนักงาน ซึ่ง ปฏิบัติ ราชการ ปกติ จึง ไม่ อยู่ใน ความ รับผิด แห่ง การ บังคับ คดี ตาม 286 (2) โจทก์ ไม่ มี สิทธิขอ ให้ ศาล ออก หมาย บังคับ คดี อายัด เงิน ค่า เบี้ยเลี้ยง เดินทางและ ค่าเช่า ที่พัก เดือนละ ประมาณ 1,800 บาท ซึ่ง จำเลย จะ ได้ รับจาก กองเครื่องจักรกล งานดิน กรมชลประทาน นายจ้าง ของ จำเลย ได้คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ชอบ แล้ว ฎีกา โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน.