คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผลของมาตรา441แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหากว่าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดนี้เองย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดมีสิทธิรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้แม้กระทั่งผู้ครองสังหาริมทรัพย์นั้นจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ก็ตามเมื่อมีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ได้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีเช่นนี้ได้เช่นกันดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับ ส. ย่อมมีผลบังคับได้แม้ ส. จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขับก็ตามและผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้สละแล้วนั้นระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ขับ รถ ด้วย ความประมาท ชน รถ คัน ที่ โจทก์รับประกัน ภัย ไว้ ได้รับ ความเสียหาย โจทก์ ได้ ทำการ ซ่อมแซม รถ คัน ที่โจทก์ รับประกัน ภัย ไว้ เป็น เงิน จำนวน 70,382 บาท โจทก์ จึง รับช่วง สิทธิ มา โจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย แต่ จำเลย ไม่ชำระขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า เหตุ เกิดขึ้น เพราะ ความประมาท ของ นาย สมเกียรติ ผู้ขับ รถ คัน ที่ โจทก์ รับประกัน ภัย หลัง เกิดเหตุ แล้ว นาย สมเกียรติ กับ จำเลย ตกลง กัน ได้ โดย ต่าง ฝ่าย ต่าง ไม่เรียกร้อง ค่าเสียหาย ต่อ กันและ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ลง บันทึก ประจำวัน เกี่ยวกับ คดี ทั้ง สอง ฝ่ายต่าง ได้ ลงลายมือชื่อ ต่อหน้า พนักงานสอบสวน สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายของ นาย สมเกียรติ ที่ มี ต่อ จำเลย จึง ระงับ ไป โจทก์ ไม่มี สิทธิ รับช่วงสิทธิ ใด ๆ อีก ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ฎีกา ว่า นาย สมเกียรติ เป็น เพียง ผู้ขับ รถยนต์ เท่านั้น ไม่ใช่ เจ้าของ รถยนต์ จึง ไม่มี อำนาจ ทำ สัญญาประนีประนอม ยอมความ ได้ คดี นี้ โจทก์ ฎีกา ได้ แต่ เฉพาะ ข้อกฎหมายศาลฎีกา ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐานใน สำนวน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบ มาตรา 247 ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า นาย สมเกียรติ เป็น ผู้ขับ รถยนต์ คัน ที่ โจทก์ เป็น ผู้รับประกันภัย ใน ขณะ เฉี่ยว ชนกัน รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ขับ นาย สมเกียรติ จึง เป็น ผู้ครอบครอง และ ขับ รถยนต์ ซึ่ง เป็น สังหาริมทรัพย์ ใน ขณะ เกิดเหตุ หาก จำเลย รับผิดและ ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ นาย สมเกียรติ จำเลย ย่อม หลุดพ้น ไป เพราะ การ ที่ ได้ ใช้ ให้ เช่นนั้น แม้ บุคคลภายนอก จะ เป็น เจ้าของทรัพย์ เว้นแต่ สิทธิ ของ บุคคลภายนอก เช่นนั้น จะ เป็น ที่ รู้ อยู่ แก่ ตนหรือ มิได้ รู้ เพราะ ความประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง ของ ตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 441 และ ผล ของมาตรา 441 ที่ บัญญัติ ให้ ผู้ทำละเมิด เป็น อัน หลุดพ้น จาก หนี้ ที่ ต้องใช้ ค่าสินไหมทดแทน หาก ว่า ได้ ใช้ ค่าสินไหม ให้ แก่ บุคคล ซึ่ง เป็นผู้ ครอง สังหาริมทรัพย์ อยู่ ใน ขณะ ถูก ทำละเมิด นี้ เอง ย่อม แสดง ให้ เห็นว่า ผู้ ครอง สังหาริมทรัพย์ อยู่ ใน ขณะ ถูก ทำละเมิด มีสิทธิ รับ ชำระค่าสินไหมทดแทน จาก ผู้ทำละเมิด ได้ แม้ กระทั่ง ผู้ ครอง สังหาริมทรัพย์นั้น จะ ไม่ใช่ เจ้าของ ทรัพย์ ก็ ตาม เมื่อ มีสิทธิ ที่ จะ รับชำระหนี้ ได้ก็ ย่อม มีสิทธิ ที่ จะ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เกี่ยวกับ การ รับ ชำระหนี้ ค่าสินไหมทดแทน ใน กรณี เช่นนี้ ได้ เช่นกัน ดังนั้น สัญญาประนีประนอม ยอมความ ระหว่าง จำเลย กับ นาย สมเกียรติ ย่อม มีผล บังคับ ได้ แม้ นาย สมเกียรติ จะ ไม่ใช่ เจ้าของ รถยนต์ คัน ที่ ขับ ก็ ตาม และ ผล แห่ง สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ย่อม ทำให้ สิทธิเรียกร้อง ซึ่ง แต่ละ ฝ่ายได้ ยอม สละ แล้ว นั้น ระงับ สิ้นไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 โจทก์ จึง ไม่อยู่ ใน ฐานะ ที่ จะ รับช่วงสิทธิ ได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share