คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2470

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ที่ดิน วิธีพิจารณาแพ่ง เมื่อไม่ทราบว่าฝ่ายใดออกเงินเท่าใดซื้อแล้วต้องสันนิษฐานว่าออกเงินเท่า ๆ กัน แลแบ่งที่ดินกันคนละครึ่ง ทรัพย์ตกอยู่แก่ใครโดยมิได้มีอำนาจแล้วถูกผู้ร้ายลักไปต้องรับผิดชอบ

ย่อยาว

โจทย์ฟ้องว่าจำเลยเปนหนึ้เงินอยู่ ๒๕๗๕ บาทแลเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ ฤา ๒๔๖๐ โจทย์ออกเงิน ๑๐๐๐ บาท จำเลยออกเงิน ๖๕๐ บาท ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง โฉนดที่ ๑๙๑ ต่อมาโจทย์ได้ยกเงินที่โจทย์เปนเจ้าหนี้จำเลยแลจำเลยยอมโอนโฉนดให้โจทย์ บัดนี้จำเลยไม่ยอมโอนให้
จำเลยให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้เปนหนี้แลไม่ได้ตกลงว่าจะโอนที่ให้ แลฟ้องแย้งเรียกทรัพย์ที่ตกอยู่แก่โจทย์รวม ๑๕ สิ่ง
ศาลล่างตัดสินให้แบ่งที่ดินให้โจทย์จำเลยคนละครึ่ง กับให้โจทย์ใช้ราคาทรัพย์หมายเลข ๑-๒-๓ กับให้คืนฤาใช้ทรัพย์หมายเลขที่ ๔ ถึง ๑๕ ให้แก่จำเลย
โจทย์อุทธรณ์ว่า (๑) ทรัพย์หมายเลขที่ ๑-๒-๓ ถูกผู้ร้ายลักไปโจทย์ไม่ต้องรับผิดชอบ (๒) จำเลยควรโอนโฉนดให้โจทย์ตามที่ตกลงจะหักหนี้
ศาลอุทธรณ์ตัดสินยืน
โจทย์ฎีกา กล่าวถึงทรัพย์หมายเลข ๔-๗-๘-๙-๑๐-๑๑ ขึ้นมาด้วย
ศาลฎีกาเห็นว่าทรัพย์นอกจากหมายเลข ๑-๒-๓ โจทย์ไม่ได้คัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์คดีเปนอันยุติ ปัญหาที่จะวินิจฉัยในชั้นศาลฎีกามีว่า
(๑) ทรัพย์หมายเลข ๑-๒-๓ เปนของใคร
(๒) โจทย์จำเลยเปนหนี้เกี่ยวค้างกันอย่างไรแลตกลงหักหนี้แลโอนโฉนดกันจริงฤาไม่
(๓) โฉนดที่ ๑๙๑ โจทย์จำเลยออกเงินซื้อคนละเท่าใด
ศาลฎีกาตัดสินว่า ข้อ ๑ ทรัพย์เปนของจำเลยแลอยู่ในความยึดถือของโจทย์โดยไม่มีอำนาจ เมื่อถูกผู้ร้ายลักไป โจทย์ต้องรับผิดชอบ
ข้อ ๒ โจทย์ไม่มีหลักฐานว่าจำเลยเปนหนึ้แลตกลงจะโอนโฉนดให้
ข้อ ๓ ฟังไม่ได้ว่าฝ่ายใดออกเงินเท่าใด ต้องสันนิษฐานว่าโจทย์จำเลยต่างออกเงินคนละเท่า ๆ กัน ควรได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง จึงยืนตามศาลล่างแลให้ยกฎีกาโจทย์

Share