คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยให้คืนเงินแก่ตนมิได้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายการออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
++ ++++++++++++++++++++++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยและนายสุพลอินทรำพรรณ สามีของจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินนายฉัตรชัย เจริญผล ผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2539ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
ต่อมาจำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุดลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จำนวนเงิน 100,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.3 ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝาก
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ คดีนี้จำเลยและสามีร่วมกันกู้ยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 100,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1สำหรับการกู้ยืมเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” และประมวลรัษฎากร มาตรา 118บัญญัติว่า “ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว…”
++ ดังนั้น เมื่อสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 ต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยและสามีไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องบังคับจำเลยและสามีให้คืนเงิน 100,000 บาทแก่ตนมิได้ เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
++ แม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยจะได้ความว่า จำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายเสียแล้ว การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
++
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือว่าจำเลยกู้ยืมและทำสัญญากู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากผู้เสียหายจริงข้อเท็จจริงจึงยุติว่า จำเลยกู้ยืมเงินจริง คดีไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานในคดี แม้สัญญากู้ยืมเงินมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินให้ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น
++ ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ให้ถูกต้องความผิดของจำเลยก็ยังไม่เกิด
++ ขณะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยและมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวกับจำเลยตลอดจนในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การกระทำของจำเลยก็ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
++ ที่จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายก็ไม่อาจทำให้สิทธิการร้องทุกข์ของผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่มีมาแต่เริ่มแรกพลิกฟื้นเกิดขึ้นโดยมีผลย้อนหลังไปได้คำฟ้องที่เสียไปก็ไม่อาจกลับคืนดีขึ้นมาได้อีก
++ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ความรับผิดทางอาญามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 บังคับว่าไม่ว่าพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานได้เพียงใด หรือไม่ก็มีบทบัญญัติบังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 อันเป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา การฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227นั้น
++ เห็นว่า ก่อนศาลจะฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย ต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า มีการกระทำครบองค์ประกอบเป็นความผิดสำเร็จตามกฎหมายเสียก่อน แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่
คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 มีองค์ประกอบความผิดที่เกี่ยวกับหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ว่า ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คชำระเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีประมวลกฎหมายรัษฎากรบัญญัติถึงการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งของสัญญากู้ยืมเงินกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง จึงแตกต่างจากหนี้ทางแพ่งอื่นทั่วไปเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้แจ้งชัดเช่นนี้ ย่อมไม่มีหนทางที่จะนำหลักกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาทำให้พลิกผันไปเป็นอย่างอื่นได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เวลากลางวันจำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุด ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์๒๕๔๐ จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่นายฉัตรชัย เจริญผล ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้กู้ยืมซึ่งมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ต่อมาวันที่ ๑๐มิถุนายน ๒๕๔๐ เวลากลางวัน ผู้เสียหายนำเช็คฉบับดังกล่าวเข้าเรียกเก็บเงินตามวิธีการของธนาคาร แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า “โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย” การกระทำของจำเลยเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คและในขณะออกเช็คไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ เหตุเกิดที่ตำบลบ้านสวนอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยองจังหวัดระยอง เกี่ยวพันกัน ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ (๑) (๒)
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔มาตรา ๔ (๑) (๒) จำคุก ๒ เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ จำเลยกับนายสุพล อินทรำพรรณสามีของจำเลย ร่วมกันกู้ยืมเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จากนายฉัตรชัย เจริญผลผู้เสียหาย กำหนดชำระหนี้คืนภายในวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๓๙ ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.๑ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ จำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุด ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์๒๕๔๐ จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตามเอกสารหมาย จ.๓ ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดใช้เงินตามเช็คผู้เสียหายนำเช็คเข้าบัญชีที่ธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาบ้านบึง เพื่อเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๐โดยให้เหตุผลว่า “โปรดติดต่อผู้สั่งจ่ย” เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินอยู่ในบัญชี
จำเลยนำสืบว่า จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทจากผู้เสียหายจริง และออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.๓ ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.๑ ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลไม่ได้ถือว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงเป็นหนี้ที่ฟ้องบังคับคดีไม่ได้
พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยและนายสุพลอินทรำพรรณ สามีของจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินนายฉัตรชัย เจริญผล ผู้เสียหายจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท กำหนดชำระเงินคืนภายในวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๓๙ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.๑ ซึ่งไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ต่อมาจำเลยออกเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขามาบตาพุดลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตามเอกสารหมาย จ.๓ ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๐ โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝากปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่เห็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ เกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย คดีนี้จำเลยและสามีร่วมกันกู้ยืมเงินผู้เสียหายจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.๑สำหรับการกู้ยืมเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” และประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๑๘บัญญัติว่า “ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว…”ดังนั้นเมื่อสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.๑ อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.๑ ต้องห้ามมิให้นำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๑๘ เสมือนว่าการกู้ยืมเงินระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยและสามีไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ผู้เสียหายจะนำสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.๑ มาฟ้องบังคับจำเลยและสามีให้คืนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทแก่ตนมิได้ เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายแม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยจะได้ความว่าจำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.๓ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้เสียหายแต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายเสียแล้ว การออกเช็คของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ ไม่เป็นความผิดตามฟ้องที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือว่าจำเลยกู้ยืมและทำสัญญากู้ยืมเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จากผู้เสียหายจริงข้อเท็จจริงจึงยุติว่า จำเลยกู้ยืมเงินจริง คดีไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานในคดี แม้สัญญากู้ยืมเงินมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ เห็นว่า การปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ยืมเงินให้ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ ดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้นดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการปิดอากรแสตมป์ในสัญญากู้ให้ถูกต้องความผิดของจำเลยก็ยังไม่เกิด ขณะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยและมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดต่อส่วนตัวกับจำเลยตลอดจนในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ สัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.๑ มิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การกระทำของจำเลยก็ยังไม่ครบองค์ประกอบความผิด ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนและโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่จำเลยนำสืบและยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือยอมรับว่าทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายก็ไม่อาจทำให้สิทธิการร้องทุกข์ของผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่มีมาแต่เริ่มแรกพลิกฟื้นเกิดขึ้นโดยมีผลย้อนหลังไปได้คำฟ้องที่เสียไปก็ไม่อาจกลับคืนดีขึ้นมาได้อีก ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าความรับผิดทางอาญามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖ บังคับว่าไม่ว่าพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานได้เพียงใด หรือไม่ก็มีบทบัญญัติบังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ อันเป็นหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา การฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗นั้น เห็นว่า ก่อนศาลจะฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย ต้องปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้ว่า มีการกระทำครบองค์ประกอบเป็นความผิดสำเร็จตามกฎหมายเสียก่อน แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ คดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ มีองค์ประกอบความผิดที่เกี่ยวกับหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ว่า ต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คชำระเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีประมวลกฎหมายรัษฎากรบัญญัติถึงการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งของสัญญากู้ยืมเงินกำกับไว้อีกชั้นหนึ่ง จึงแตกต่างจากหนี้ทางแพ่งอื่นทั่วไปเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้แจ้งชัดเช่นนี้ ย่อมไม่มีหนทางที่จะนำหลักกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาทำให้พลิกผันไปเป็นอย่างอื่นได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑พิพากษายกฟ้องจึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน.

Share