คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีหน้าที่ทำงานให้แก่นายจ้างโดยทำงานตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างดังนั้นคำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างจักต้องปฏิบัติตามก็จะต้องเป็นคำสั่งที่ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างนั้น จำเลยมีปัญหาในการผลิตเนื่องจากเกิดการผละงานในบริษัท อ.ที่จำเลยเป็นลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์พื้นยางรองเท้ามาผลิตเป็นรองเท้าจำเลยได้ชี้แจงให้ลูกจ้างทราบความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างจำเลยไปทำงานที่บริษัท อ. โจทก์ทั้งเจ็ดและลูกจ้างอื่นก็ไปทำงานให้ตามประสงค์ชอบด้วยกฎหมายและการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีแต่ที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัท อ. หลังจากที่โจทก์ทั้งเจ็ดกลับไปที่บริษัทจำเลยและสั่งเช่นเดียวกันซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากได้ลงโทษโจทก์ทั้งเจ็ดที่ไม่ปฏิบัติคำสั่งครั้งแรกนั้นเมื่อบริษัทอ. มิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งงานที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำที่บริษัท อ. ก็มิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานนอกหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานของบุคคลอื่นเช่นนี้ย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายการที่โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ไปทำงานดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่1ที่2ที่4ถึงที่7จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งจำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่โจทก์ดังกล่าวด้วย

ย่อยาว

คดี ทั้ง เจ็ด สำนวน นี้ ศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง ให้ รวม พิจารณาพิพากษา เข้า ด้วยกัน โดย ให้ เรียก โจทก์ ตามลำดับ สำนวน ว่า โจทก์ ที่ 1ถึง ที่ 7
โจทก์ ทั้ง เจ็ด สำนวน ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด เป็น ลูกจ้าง จำเลยใน ตำแหน่ง พนักงาน ทั่วไป ต่อมา เมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2536 จำเลย ได้เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง เจ็ด โดย ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่มี ความผิด เป็น การเลิกจ้าง โดย ไม่เป็นธรรม ไม่จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้าค่าชดเชย และ ไม่คืน เงิน ประกัน ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ทำให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า แก่ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 4 คน ละ 3,750 บาท โจทก์ ที่ 5 และ ที่ 6คน ละ 3,450 บาท โจทก์ ที่ 7 จำนวน 3,780 บาท จ่ายเงิน ประกัน คืนแก่ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 คน ละ 1,000 บาท โจทก์ ที่ 4และ ที่ 6 คน ละ 1,500 บาท จ่าย ค่าเสียหาย จาก การ เลิกจ้าง ไม่เป็นธรรมแก่ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 4 คน ละ 11,250 บาท โจทก์ ที่ 5 และ ที่ 6 คน ละ10,350 บาท โจทก์ ที่ 7 จำนวน 11,340 บาท จ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์ ที่ 1และ ที่ 2 คน ละ 11,250 บาท โจทก์ ที่ 3 และ ที่ 4 คน ละ 3,750 บาทโจทก์ ที่ 5 จำนวน 10,350 บาท โจทก์ ที่ 6 จำนวน 3,450 บาทและ โจทก์ ที่ 7 จำนวน 3,780 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วัน เลิกจ้าง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า สาเหตุ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง เจ็ดเนื่องมาจาก ระหว่าง วันที่ 15 ถึง วันที่ 19 เมษายน 2536 จำเลย ได้ มีคำสั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด และ ลูกจ้าง ของ จำเลย รวม จำนวน 29 คน ไป ช่วยทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด ซึ่ง เป็น บริษัท ผู้ผลิต วัตถุดิบ พื้น ยาว รองเท้า ส่ง ให้ กับ จำเลย ซึ่ง ประกอบ อุตสาหกรรม ผลิต รองเท้าเพราะ ลูกจ้าง ของ บริษัท ดังกล่าว ได้ ผละ งาน โดย ผิด ขั้นตอน ของกฎหมาย แรงงานสัมพันธ์ ไม่สามารถ ผลิต พื้น ยาง รองเท้า ส่ง ให้ จำเลยได้ ทัน ตาม กำหนด ทำให้ จำเลย ไม่มี วัตถุดิบ ใน การ ผลิต รองเท้า เป็นเหตุ ให้พนักงาน ของ จำเลย ไม่มี งาน ทำ และ ไม่สามารถ ที่ จะ จัด ส่ง สินค้า ให้ แก่ลูกค้า ได้ ตาม กำหนด ทำให้ จำเลย ได้รับ ความเสียหาย อย่างมาก จำเลย จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ จะ ต้อง บรรเทา ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น โดย ส่ง ลูกจ้างของ จำเลย จำนวน ดังกล่าว ไป ช่วย ผลิต วัตถุดิบ ให้ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด เป็น การ ชั่วคราว มี ระยะเวลา ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่ง จำเลยได้ ประชุม ชี้แจง ถึง ความจำเป็น และ เหตุผล ใน การ ไป ช่วย ทำงาน แล้วลูกจ้าง ทั้งหมด ต่าง ตกลง ยินดี ที่ จะ ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ดังกล่าว ของ จำเลยไม่มี การ โต้แย้ง ต่อมา ใน วันที่ 18 และ วันที่ 19 เมษายน 2536โจทก์ ทั้ง เจ็ด ได้ ละทิ้ง หน้าที่ หนี กลับมา ยัง บริษัท จำเลย จำเลย มีคำสั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด เดินทาง ไป ทำงาน ยัง บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด อีก แต่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ถือว่า โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน หรือ คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมายของ จำเลย จำเลย จึง ลงโทษ โจทก์ ด้วย การ ตักเตือน เป็น หนังสือ และมี คำสั่ง ให้ พัก งาน เป็น เวลา 3 วัน นับ ตั้งแต่ วันที่ 20-22 เมษายน2536 โดย ไม่ได้ รับ ค่าจ้าง เมื่อ ครบ กำหนด เวลา พัก งาน ดังกล่าว แล้วโจทก์ ที่ 3 มิได้ มา ปฏิบัติ หน้าที่ ทำงาน กับ จำเลย อีก เลย ได้ ละทิ้งหน้าที่ โดย การ ขาดงาน นับ ตั้งแต่ วัน ดังกล่าว ตลอดมา โดย ไม่มี เหตุอัน สมควร และ ไม่ ลา ตาม ระเบียบ จำเลย จึง มี คำสั่ง เลิกจ้าง โจทก์ ที่ 3ฐาน ฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน หรือ คำสั่ง อัน ชอบด้วย กฎหมาย และ จำเลย ได้ เคย ตักเตือน เป็น หนังสือ แล้ว และ ฐาน ละทิ้งหน้าที่ เป็น เวลา 3 วัน ทำงาน ติดต่อ กัน โดย ไม่มี เหตุผล อัน สมควรส่วน โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ถึง ที่ 7 นั้น จำเลย มี คำสั่ง ให้ เดินทางไป ปฏิบัติงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด อีก ครั้ง แต่ โจทก์ ทุกคน ปฏิเสธ ไม่ปฏิบัติ ตาม โดย ไม่มี เหตุผล อัน สมควร ถือว่า โจทก์ กระทำผิด ซ้ำหนังสือ เตือน จำเลย จึง มี คำสั่ง ให้ เลิกจ้าง โจทก์ ทุกคน ฐาน ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน หรือ คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมายและ จำเลย เคย ตักเตือน เป็น หนังสือ และ ฐาน ละทิ้ง หน้าที่ โดย จงใจทำให้ จำเลย ได้รับ ความเสียหาย อย่างร้ายแรง จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิดจ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย คืนเงิน ประกัน แก่ โจทก์ ที่ 1ถึง ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 คน ละ 1,000 บาท โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 6คน ละ 1,500 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก เงิน ที่จำเลย จะ ต้อง จ่าย ให้ แก่ โจทก์ แต่ละ คน นับแต่ วันฟ้อง (วันที่ 3 มิถุนายน2536) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก เสีย
โจทก์ ทั้ง เจ็ด สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด อุทธรณ์ ว่าคำสั่ง ของ จำเลย ที่ สั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไป ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด เป็น คำสั่ง ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่จำต้อง ปฏิบัติ ตาม จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง เจ็ด ด้วย เหตุ ที่โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ดังกล่าว จึง ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าชดเชย และ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง เจ็ดตาม ฟ้อง นั้น เห็นว่า บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575, 583 และ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ได้ กำหนด ให้ ลูกจ้าง มี หน้าที่ ทำงาน ให้ แก่ นายจ้าง โดย ทำงานตาม คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นายจ้าง ดังนั้น คำสั่ง ของ นายจ้างที่ ลูกจ้าง จัก ต้อง ปฏิบัติ ตาม ก็ จะ ต้อง เป็นคำสั่ง ที่ ให้ ลูกจ้าง ทำงาน ตาม หน้าที่ของ ลูกจ้าง และ เป็น งาน ใน กิจการ ของ นายจ้าง นั้น ตาม ข้อเท็จจริงใน คดี นี้ เมื่อ จำเลย มี ปัญหา ใน การ ผลิต เนื่องจาก เกิด การ ผละ งานใน บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด จำเลย ได้ ชี้แจง ให้ ลูกจ้าง ทราบ ความจำเป็น ที่ จะ ต้อง ให้ ลูกจ้าง จำเลย ไป ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด โจทก์ ทั้ง เจ็ด และ ลูกจ้าง อื่น ก็ มิได้ โต้แย้ง และ ไป ทำงาน ให้ ตามประสงค์ ของ จำเลย ซึ่ง เป็น การ ให้ ความ ร่วมมือ ช่วยเหลือ จำเลย ผู้เป็นนายจ้าง ชอบ ด้วย กฎหมาย และ การ แรงงานสัมพันธ์ ที่ ดี แล้ว แต่ ที่ จำเลยสั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไป ทำงาน ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด หลังจาก ที่ โจทก์ ทั้ง เจ็ด กลับ ไป ที่ บริษัท จำเลย และ สั่ง เช่นเดียวกัน ซ้ำอีก ครั้งหนึ่ง หลังจาก ได้ ลงโทษ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ที่ ไม่ปฏิบัติ คำสั่งครั้งแรก นั้น ปรากฏว่า บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด มิได้ เป็น กิจการ ของ จำเลย แต่ เป็น กิจการ ของ บุคคลอื่น จำเลย เกี่ยวข้อง เพียง เป็นลูกค้า รับ ซื้อ ผลิตภัณฑ์ พื้น ยาง รองเท้า จาก บริษัท ดังกล่าว มา ดำเนินการผลิต เป็น รองเท้า เท่านั้น ทั้ง งาน ที่ จำเลย สั่ง ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ดทำ ที่ บริษัท เอซีรับเบอร์ จำกัด ก็ มิใช่ งาน ตาม หน้าที่ ของ โจทก์ ทั้ง เจ็ด แต่อย่างใด คำสั่ง ของ จำเลย ที่ ให้ โจทก์ ทั้ง เจ็ด ไป ทำงานนอก หน้าที่ ของ ลูกจ้าง และ เป็น งาน ของ บุคคลอื่น มิใช่ งาน ใน กิจการ ของจำเลย ผู้เป็น นายจ้าง เช่นนี้ ย่อม มิใช่ คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมายกรณี ถือไม่ได้ว่า โจทก์ ทั้ง เจ็ด ขัด หรือ ฝ่าฝืน คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมายของ นายจ้าง ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว ข้างต้น จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ที่ 1ที่ 2 ที่ 4 ถึง ที่ 7 ด้วย เหตุ ดังกล่าว จึง เป็น การ เลิกจ้าง โดยไม่มี ความผิด เป็น การ เลิกจ้าง ที่ ไม่เป็นธรรม ทั้ง จำเลย จะ ต้อง จ่ายสินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ ดังกล่าว ด้วยแต่ ศาลแรงงานกลาง ยัง มิได้ พิจารณา วินิจฉัย ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับจำนวน ค่าเสียหาย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าชดเชยจึง ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลแรงงานกลาง ดำเนิน กระบวนพิจารณา ใน เรื่องดังกล่าว ส่วน โจทก์ ที่ 3 นั้น จำเลย เลิกจ้าง เพราะ เหตุ ละทิ้ง หน้าที่เป็น เวลา 3 วันทำงาน ติดต่อ กัน ด้วย เมื่อ ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริงว่า โจทก์ ที่ 3 มิได้ ไป ปฏิบัติ หน้าที่ ทำงาน ให้ แก่ จำเลย อีก เลย นับแต่ครบ กำหนด เวลา พัก งาน ซึ่ง เป็น เวลา เกินกว่า 3 วันทำงาน ติดต่อ กันโดย ไม่มี เหตุอันสมควร จำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์ ที่ 3 ได้ โดย ไม่ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ มิใช่ การ เลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง ใน ส่วน ที่เกี่ยวกับ ข้อหา ใน เรื่อง การ เลิกจ้าง ตาม ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2ที่ 4 ถึง ที่ 7 ให้ ศาลแรงงานกลาง พิจารณา วินิจฉัยข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ จำนวนค่าเสียหาย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ค่าชดเชย ของ โจทก์ ที่ 1ที่ 2 ที่ 4 ถึง ที่ 7 และ พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็นไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง

Share