แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
บริษัทลูกหนี้และ ศ. กรรมการผู้จัดการบริษัทลูกหนี้ในขณะนั้นเคยถูกฟ้องคดีอาญาข้อหาจัดสรรที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับต่อมาบริษัทลูกหนี้ขายที่ดินที่จะจัดสรรให้ ย. และ ย. ยกที่ดินนี้ให้ ศ. ในวันเดียวกันแล้ว ศ.ได้ขายที่ดินบางส่วนและนำเงินที่ขายได้เข้าบริษัทลูกหนี้ตลอดมาแสดงให้เห็นว่าเป็นการทำ นิติกรรมโดย เจตนาลวงโดยสมรู้กันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็นของบริษัทลูกหนี้โดย ศ. กรรมการผู้จัดการถือไว้แทนบริษัทลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียก ย. กรรมการผู้จัดการของบริษัทลูกหนี้มาสอบสวนและให้ส่งดวงตราต่างๆของลูกหนี้มาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เก็บรักษาไว้เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา19วรรคแรก ย. ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องโต้แย้งมูลหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่ต้องประทับตราของลูกหนี้และถือว่า ย. มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ได้มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว เจ้าหนี้ผู้ยื่น คำขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำ พยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและในการตรวจ คำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า ศ. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้
ย่อยาว
กรณี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้(จำเลย ) เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2533 เจ้าหนี้ ยื่น คำขอรับชำระหนี้ ตาม สัญญาค้ำประกัน เป็น เงิน ทั้งสิ้น 23,390,000 บาทจาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ รายละเอียด ปรากฏ ตาม บัญชี ท้าย คำขอ รับชำระหนี้
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ นัด ตรวจ คำขอ รับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 104 แล้ว ธนาคาร กรุงไทย จำกัด เจ้าหนี้ ผู้โต้แย้ง โต้แย้ง ว่า เจ้าหนี้ นำ หลักทรัพย์ จำนองของ นาย สมศักดิ์ วนาสวัสดิ์ ไป ขาย เพื่อ ชำระหนี้ เป็น การกระทำ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก จึง ต้อง ขอรับ ชำระหนี้ ใน นาม กอง มรดก ของนาย สมศักดิ์และนายสมยศ วนาสวัสดิ์ ใน ฐานะ กรรมการ ของ ลูกหนี้ โต้แย้ง ว่า ทรัพย์สิน ที่ เจ้าหนี้ อ้างว่า ขาย นำ เงิน ไป ไถ่ถอน จากธนาคาร นั้น เป็น ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ แต่ นาย สมศักดิ์ วนาสวัสดิ์ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ แทน เจ้าหนี้ ไม่มี สิทธิ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ สอบสวน แล้ว เห็นว่า เจ้าหนี้ ไม่ได้ชำระหนี้ ให้ แก่ ธนาคาร ผู้รับจำนอง ใน ฐานะ ส่วนตัว หรือ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาย สมศักดิ์ วนาสวัสดิ์ แต่ กระทำ ใน นาม ของ ลูกหนี้ เห็นควร ยก คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ เสีย ทั้งสิ้น ตาม มาตรา 107(1) แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำขอ รับชำระหนี้ ตามความเห็น ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
เจ้าหนี้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย ตามฎีกา ของ เจ้าหนี้ ข้อ แรก มี ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10570 ถึง 10573,10577, 10579 ถึง 10581, 10640 ถึง 10647, 10663 ถึง 10664,10882 ถึง 10887 ตำบล หนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัด ชลบุรี ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน แปลง ย่อย 167 โฉนด ที่ แบ่งแยก มาจากที่ดิน โฉนด เลขที่ 2391 ตำบล หนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัด ชลบุรี เป็น กรรมสิทธิ์ ของ นาย สมศักดิ์ วนาสวัสดิ์ บิดา เจ้าหนี้ หรือไม่ เห็นว่า จาก ข้อเท็จจริง ที่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ได้สอบสวน เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ ผู้โต้แย้ง และ ลูกหนี้ ฟังได้ ว่า ลูกหนี้โดย นาย สมศักดิ์ บิดา เจ้าหนี้ ซึ่ง เป็น กรรมการ ผู้จัดการ ใน ขณะ นั้น ได้ จัดสรร ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2391 ใน นาม ของ ลูกหนี้ โดย แบ่งแยกออก เป็น 167 โฉนด แล้ว ยื่น เรื่องราว ขอ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรมแบ่งแยก ต่อ สำนักงาน ที่ดิน จังหวัด ชลบุรี ต่อมา พนักงานอัยการ จังหวัดชลบุรี ได้ ยื่นฟ้อง นาย สมศักดิ์ และ ลูกหนี้ เป็น คดีอาญา ข้อหา จัดสรร ที่ดิน โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต นาย สมศักดิ์ และ ลูกหนี้ ให้การรับสารภาพ ศาลจังหวัด ชลบุรี พิพากษา ให้ ลงโทษ ปรับ เมื่อ คดีอาญา ถึงที่สุดลูกหนี้ ได้ หารือ ไป ยัง สำนักงาน ที่ดิน จังหวัด ชลบุรี และ อัยการ จังหวัดชลบุรี เพื่อ ปรึกษา ว่า จะ ให้ นาย สมยส วนาสวัสดิ์ เป็น ผู้ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2391 ที่ แบ่งแยก เป็น 167 โฉนด ได้ หรือไม่ทาง สำนักงาน ที่ดิน และ อัยการ จังหวัด ชลบุรี เห็นว่า ไม่ต้องห้าม ตามกฎหมาย เพราะ ผู้ซื้อ เป็น บุคคล เดียว กัน ไม่มี คำมั่น หรือ การแสดง ออกอื่น ใด ที่ เข้า ลักษณะ เป็น การ จัดสรร ที่ดิน ต่อมา วันที่ 15 เมษายน2520 ลูกหนี้ ได้ โอน ขาย ที่ดิน 167 โฉนด ซึ่ง ติด จำนอง ให้ แก่นาย สมยศ ใน ราคา 100,000 บาท และ ใน วันเดียว กัน นั้นเอง นาย สมยศ ทำ สัญญา ให้ ที่ดิน 167 โฉนด แก่ นาย สมศักดิ์ แล้ว นาย สมศักดิ์ ได้ นำ ที่ดิน บางส่วน ขาย และ นำ เงิน ที่ ขาย เข้า บริษัท ลูกหนี้ ตลอดมา เจ้าหนี้ ซึ่ง เป็น กรรมการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ของ ลูกหนี้ ก็ ได้ เคยดำเนินการ ขาย ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง รวม 3 ห้อง ซึ่ง เป็น ที่ดินบางส่วน ใน ที่ดิน 167 โฉนด โดย กระทำ ใน นาม ของ ลูกหนี้ ตาม เอกสารหมาย ล. 13 ล. 14 (สำนวน เจ้าหนี้ ราย ที่ 9) และ ล. 8 ถึง ล. 13 (สำนวนเจ้าหนี้ ราย ที่ 10) ดังนี้ พฤติการณ์ ที่ ลูกหนี้ ขาย ที่ดิน ให้ นาย สมยศ และ นาย สมยศ ยก ที่ดิน นั้น ให้ นาย สมศักดิ์ ใน วันเดียว กัน แสดง ให้ เห็น ว่า เป็น การ ทำนิติกรรม โดย เจตนา ลวง ด้วย รู้ กัน เพื่อ หลีกเลี่ยง กฎหมายเกี่ยวกับ การ จัดสรร ที่ดิน ดังนั้น กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน 167 โฉนดที่ จำนอง ไว้ แก่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด จึง ยัง เป็น ของ ลูกหนี้ โดย นาย สมศักดิ์ กรรมการ ผู้จัดการ ถือ ไว้ แทน ลูกหนี้ ที่ เจ้าหนี้ อ้างว่า ไม่มี เหตุผล ใด ที่ ลูกหนี้ จะ โอน ขาย ที่ดิน ให้ แก่ นาย สมยศ โดย เจตนา ลวง ทั้งที่ ต้อง รับ ภาระ การ เสีย ภาษี และ การ ที่นาย สมศักดิ์ นำ ที่ดิน ออก ขาย ใน นาม ของ ลูกหนี้ ก็ เพียง อาศัย ชื่อเสียง ของ ลูกหนี้ ซึ่ง เป็นบริษัท ประกอบ กิจการ จัดสรร ที่ดิน มา ก่อน นั้น ปรากฏว่า ลูกหนี้ โอนขาย ที่ดิน ให้ นาย สมยศ ใน ราคา เพียง 100,000 บาท และ ขาย โดย ติด ภาระ จำนอง ภาระ ภาษี จึง ไม่มาก นัก เมื่อ เทียบ กับ ประโยชน์ ที่ ลูกหนี้จะ ได้รับ ใน การ ที่ สามารถ ดำเนิน ธุรกิจ ต่อไป ได้ และ นาย สมยศ กับ นาย สมศักดิ์ ผู้รับโอน ที่ดิน ต่าง เป็น กรรมการ ของ ลูกหนี้ ทั้ง ลูกหนี้ ก็ ได้ โต้แย้ง ว่า ลูกหนี้ ถูก พนักงานอัยการ ฟ้อง เป็น คดีอาญาร่วม กับ นาย สมศักดิ์ เพื่อ หลีกเลี่ยง กฎหมาย จัดสรร ที่ดิน ลูกหนี้ จึง จดทะเบียน ขาย ที่ดิน 167 โฉนด ให้ แก่ นาย สมยศ และ ใน วันเดียว กัน นาย สมยศ ได้ ยก ที่ดิน ทั้ง 167 โฉนด ให้ แก่ นาย สมศักดิ์ โดยเสน่หา เพื่อ ให้ นาย สมศักดิ์ ถือ ที่ดิน 167 โฉนด ไว้ แทน ลูกหนี้ ข้ออ้าง ของ เจ้าหนี้ ดังกล่าว จึง ไม่มี น้ำหนัก ใน การ รับฟัง ส่วน ที่ เจ้าหนี้ฎีกา ต่อไป ว่า ตน ได้ ไถ่ถอน จำนอง เพื่อ ชำระหนี้ ให้ เจ้าหนี้ ผู้โต้แย้งและ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด หาใช่ ขาย ที่ดิน ใน จำนวน 167 แปลง แทน ลูกหนี้ แต่ เป็น การ ชำระหนี้ ตาม สัญญาค้ำประกัน โดย เจ้าหนี้ ใน ฐานะผู้จัดการมรดก ของ นาย สมศักดิ์ ได้ ทำเอง มิได้ กระทำ ใน นาม ของ ลูกหนี้ เห็นว่า แม้ ข้อเท็จจริง จะ ปรากฏว่า เจ้าหนี้ ได้ ไป ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินโฉนด เลขที่ 10570 ถึง 10573, 10577, 10579 ถึง 10581, 10640 ถึง10647, 10663 ถึง 10664, 10882 ถึง 10887 ตำบล หนองปรือ อำเภอ บางละมุง จังหวัด ชลบุรี และ ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ ผู้โต้แย้ง จำนวน 16,320,000 บาท และ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด จำนวน 7,070,000บาท แต่เมื่อ ที่ดิน เป็น ของ ลูกหนี้ ดัง วินิจฉัย มา ข้างต้น การกระทำของ เจ้าหนี้ ย่อม เป็น การ ไถ่ถอน ใน นาม ของ ลูกหนี้ หาใช่ ไถ่ถอน ใน นามผู้จัดการมรดก ของ นาย สมศักดิ์ ไม่ และ ตาม ทาง สอบสวน ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ก็ ไม่ปรากฏ ว่า เจ้าหนี้ ได้ นำ เงิน ส่วนตัว มา ชำระหนี้เป็น การ ไถ่ถอน จำนอง แต่ ได้ ขาย ที่ดิน บางส่วน ของ ที่ดิน 167 แปลงมา ชำระหนี้ ดังนั้น จึง รับฟัง ไม่ได้ ว่า เจ้าหนี้ ได้ นำ เงิน ส่วนตัวของ ตน ไป ชำระหนี้ แก่ ธนาคาร ผู้รับจำนอง ดังกล่าว เพื่อ ประโยชน์ ของลูกหนี้ เจ้าหนี้ จึง ไม่อยู่ ใน ฐานะ เป็น เจ้าหนี้ ของ ลูกหนี้ ไม่มีสิทธิ จะ ได้รับ ชำระหนี้ จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้
ปัญหา สุดท้าย ที่ เจ้าหนี้ ฎีกา ว่า คำ โต้แย้ง คัดค้าน ของ ลูกหนี้ไม่ชอบ เพราะ นาย สมยศ ผู้กระทำ การ แทน กระทำ โดย ปราศจาก อำนาจ และ เป็น การกระทำ ใน ฐานะ ส่วนตัว เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จึง ไม่มีอำนาจ พิจารณา คำ โต้แย้ง ของ ลูกหนี้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ให้ยก คำขอ รับชำระหนี้ ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า เมื่อ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แล้ว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้ ถือ เสมือน ว่า เป็น หมาย ของ ศาลให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เข้า ยึด ดวงตรา สมุดบัญชี และ เอกสารของ ลูกหนี้ และ บรรดา ทรัพย์สิน ซึ่ง อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ ลูกหนี้หรือ ของ ผู้อื่น อัน อาจ แบ่ง ได้ ใน คดีล้มละลาย ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในมาตรา 19 วรรคแรก แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อ ปรากฏว่า เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ได้ มี หมายเรียก นาย สมยศ กรรมการ ผู้จัดการ ของ ลูกหนี้ มา สอบสวน และ ให้ ส่ง ดวงตรา ต่าง ๆ ของ ลูกหนี้มา ให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เก็บรักษา ไว้ อันเป็น การ ปฏิบัติตาม บทบัญญัติ มาตรา 19 วรรคแรก กรณี เช่นนี้ นาย สมยศ ย่อม มีอำนาจ ยื่น คำร้อง โต้แย้ง มูลหนี้ ของ เจ้าหนี้ โดย ไม่ต้อง ประทับตรา ของ ลูกหนี้เหมือน เช่น กรณี ลูกหนี้ จะ ไป ทำนิติกรรม สัญญา ก่อน ถูก พิทักษ์ทรัพย์คำ โต้แย้ง คัดค้าน ของ ลูกหนี้ จึง ชอบ ด้วย กฎหมาย โดย ถือว่า นาย สมยศ กรรมการ ผู้จัดการ ลูกหนี้ มีอำนาจ ทำการ แทน ลูกหนี้ ได้ มิใช่ กระทำใน ฐานะ ส่วนตัว สำหรับ การ ขอรับ ชำระหนี้ ใน คดีล้มละลาย เป็น เรื่องที่ เจ้าหนี้ ผู้ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ มี หน้าที่ นำพยาน หลักฐาน มา แสดงต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อ พิสูจน์ ว่า หนี้ ที่ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ไว้ มี อยู่ จริง ทั้ง ใน การ ตรวจ คำขอ รับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีอำนาจ ออกหมาย เรียก เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือ บุคคลโดย มา สอบสวน ใน เรื่อง หนี้สิน แล้ว ทำ ความเห็น ส่ง สำนวน เรื่อง หนี้สินที่ ขอรับ ชำระ นั้น ต่อ ศาล ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 105 ดังนี้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จึง มีอำนาจ วินิจฉัย ว่านาย สมศักดิ์ ไม่มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ตาม คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ให้ยกคำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ชอบแล้ว ฎีกา ทุก ข้อ ของ เจ้าหนี้ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน