แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยถูกฟ้องรวม4สำนวนซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันแม้จะเกี่ยวพันกันแต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันและมิได้อ่านคำพิพากษาในวันเดียวกันวันถึงที่สุดของแต่ละสำนวนย่อมแตกต่างกันจึงไม่ชอบที่จำเลยจะขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดในวันเดียวกันและในหมายจำคุกฉบับเดียวกันได้
ย่อยาว
สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ จำเลย ทั้ง สี่ สำนวนโดย ใน สำนวน แรก และ สำนวน ที่ สอง ซึ่ง ได้ รวม พิจารณา พิพากษา เข้า ด้วยกันพิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 151,158, 161, 264, 265, 266, 268, 83 ทั้ง สอง สำนวน ให้ ลงโทษ ตามมาตรา 147 ซึ่ง เป็น บทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 สำนวน แรก14 กรรม จำคุก กรรม ละ 10 ปี สำนวน ที่ สอง 54 กรรม จำคุก คน ละ 10 ปีจำเลย ให้การรับสารภาพ มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กรรม ละ กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุก สำนวน แรก กรรม ละ 5 ปีสำนวน ที่ สอง กรรม ละ 5 ปี เรียง กระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ที่ แก้ไข ใหม่ รวม จำคุก สำนวน แรก 50 ปี และ สำนวน ที่ สอง 50 ปีเมื่อ ลงโทษ จำคุก ทั้ง สอง สำนวน สำนวน ละ 50 ปี แล้ว จึง ไม่อาจ นับ โทษต่อ กัน ได้ อีก ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ที่ แก้ไข ใหม่ คำขอ ให้ นับ โทษ ติดต่อ กัน ใน สำนวน ที่ สอง ของ โจทก์ จึง ให้ยกใน สำนวน ที่ สาม พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147, 151, 158, 161, 264, 265, 266, 268 ลงโทษ ตาม มาตรา 147ซึ่ง เป็น บทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 รวม 110 กรรมจำคุก กรรม ละ 10 ปี จำเลย ให้การรับสารภาพ มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุก กรรม ละ 5 ปีเรียง กระทง ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) รวม จำคุก 50 ปีเมื่อ จำเลย ต้อง คำพิพากษา สำนวน แรก จำคุก 50 ปี แล้ว จึง ไม่อาจ นับ โทษต่อ กัน ได้ คำขอ ให้ นับ โทษ ต่อ ให้ยก และ ใน สำนวน ที่ สี่ พิพากษา ว่าจำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 151, 158, 161,264, 265, 266, 268 ลงโทษ ตาม มาตรา 147 ซึ่ง เป็น บทหนัก ตาม มาตรา 90รวม 261 กรรม จำคุก กรรม ละ 10 ปี จำเลย ให้การรับสารภาพ มีเหตุ บรรเทาโทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุก กรรม ละ5 ปี เรียง กระทง ลงโทษ ตาม มาตรา 91(3) รวม จำคุก 50 ปี ส่วน ที่ โจทก์ขอให้ นับ โทษ จำเลย ต่อ จาก โทษ จำเลย ใน สำนวน แรก สำนวน ที่ สอง และ ที่ สาม นั้นเนื่องจาก ความผิด คดี ดังกล่าว เป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกัน กับ คดี นี้จึง ไม่อาจ นับ โทษ ต่อ กัน ได้ ตาม มาตรา 91(3) คดี ทั้ง สี่ สำนวน ถึงที่สุดแล้ว โดย ศาลชั้นต้น ได้ ออกหมาย จำคุก เมื่อ คดีถึงที่สุด ให้ ใน แต่ละ สำนวน
จำเลย ทั้ง สี่ สำนวน ยื่น คำร้อง ว่า คดี ทั้ง สี่ สำนวน เป็น ความผิดเกี่ยวพัน กัน ซึ่ง โจทก์ สามารถ ฟ้อง จำเลย เป็น สำนวน เดียว กัน ได้หรือ ศาล อาจ ให้ รวม พิจารณา พิพากษา เข้า ด้วยกัน ได้ การ ที่ โจทก์ แยก ฟ้องแล้ว ทยอย ฟ้อง สำนวน ที่ สาม และ สำนวน ที่ สี่ ทำให้ ศาล ออกหมาย จำคุกให้ แก่ จำเลย ใน คราว เดียว กัน ไม่ได้ จำเลย จึง ไม่ได้ รับ การ พิจารณาพัก การ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 32(5)ขอให้ รวม หมาย จำคุก ทั้ง สี่ สำนวน เป็น ฉบับ เดียว กัน โดย ให้ คดีถึงที่สุดวันเดียว กับ สำนวน แรก เพื่อ จำเลย จะ ได้รับ ประโยชน์ ตาม พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2579 มาตรา 32(5)
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่าคดี ทั้ง สี่ สำนวน มิได้ นับ โทษ ต่อ กัน
จำเลย ทั้ง สี่ สำนวน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สี่ สำนวน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “การ ออกหมาย จำคุก เมื่อ คดีถึงที่สุด กับ การลงโทษ จำคุก ใน กรณี ความผิด หลายกรรม ต่างกัน ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 นั้น เป็น คน ละ เรื่อง คน ละ กรณี กัน จำเลย ถูก โจทก์ ฟ้องแยก สำนวน กัน มา ใน ข้อหา ความผิด ต่อ ตำแหน่ง หน้าที่ ราชการ และ ความผิดเกี่ยวกับ เอกสาร รวม 4 สำนวน แต่ละ สำนวน เป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกันและ แม้ จะ เกี่ยวพัน กัน แต่ ศาลชั้นต้น ก็ มิได้ ให้ รวม พิจารณา พิพากษาแต่ละ สำนวน เข้า ด้วยกัน ทั้งหมด และ มิได้ อ่าน คำพิพากษา ใน วันเดียว กันคดี แต่ละ สำนวน จึง ถึงที่สุด ไม่ พร้อมกัน วัน อัน ถึงที่สุด ของ คดีแต่ละ สำนวน ดังกล่าว ก็ ย่อม จะ แตกต่าง กัน จึง ไม่ชอบ ที่ จำเลย จะ ขอให้ออกหมาย จำคุก เมื่อ คดีถึงที่สุด ใน วันเดียว กัน และ ใน หมาย จำคุกฉบับ เดียว กัน ได้ ที่ ศาลชั้นต้น ออกหมาย จำคุก เมื่อ คดีถึงที่สุดทั้ง สี่ สำนวน โดย แต่ละ สำนวน ให้ ออกหมาย จำคุก เมื่อ คดีถึงที่สุดใน วันที่ สิ้นสุด ระยะเวลา อุทธรณ์ ใน แต่ละ สำนวน เป็น การ ชอบแล้วไม่มี เหตุ ที่ จะ รวม หมาย จำคุก เมื่อ คดีถึงที่สุด ทั้ง สี่ สำนวน ดัง ที่จำเลย ฎีกา ขอ มา คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สี่ สำนวน ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน