คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4740/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289วรรคแรกไม่มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองว่าจะต้องฟ้องร้องบังคับก่อนหรือจะต้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาจึงจะขอรับชำระหนี้ได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าโจทก์และผู้รับจำนองจะต้องเป็นบุคคลฐานะเดียวกันไม่ได้หากผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยมีที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้จำนองเป็นประกันผู้ร้องย่อมอาศัยอำนาจแห่งการจำนองขอให้ศาลขายที่ดินโดยปลอดจำนองเพื่อนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่นได้ แม้ประเด็นว่าจำเลยได้จดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่45816จำนองต่อผู้ร้องหรือไม่ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยไว้แต่เมื่อคู่ความได้สืบพยานในประเด็นนี้เสร็จแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาก่อน

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 2,398,612.08 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ19.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,800,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ภายใน กำหนด 2 ปี นับแต่ วัน ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา โจทก์ นำเจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 45816 พร้อม สิ่งปลูกสร้างของ จำเลย เพื่อ ขายทอดตลาด
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง เป็น ผู้รับจำนอง ที่ดิน โฉนดเลขที่ 45816 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง เป็น ทรัพย์ ของ จำเลย ที่ โจทก์นำยึด ไว้ ผู้ร้อง กับ โจทก์ เป็น นิติบุคคล เดียว กัน และ เป็น เจ้าหนี้ของ จำเลย ตาม คำพิพากษา โดย ศาล พิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2528 ให้ จำเลย ชำระหนี้ โจทก์ 2,398,612.08 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 19.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,800,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แต่ จำเลย ไม่ชำระ หนี้ ให้ยอดหนี้ ที่ ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ ตาม คำร้อง กับ ยอดหนี้ ตาม คำพิพากษาตามยอม เป็น ยอดหนี้ เดียว กัน คิด ถึง วัน ยื่น คำร้อง เป็น เงิน 4,565,062.08บาท ผู้ร้อง ใน ฐานะ เจ้าหนี้ จำนอง มีสิทธิ เหนือ ทรัพย์สิน ที่ โจทก์นำยึด ไว้ ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ จำนอง จำนวน 4,565,062.08 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 19.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,800,000 บาทนับ ถัด จาก วันที่ ยื่น คำร้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ โดย ขอรับ ชำระหนี้ก่อน โจทก์ และ เจ้าหนี้ ราย อื่น ขอให้ งด การ ขายทอดตลาด จนกว่า ศาล จะ มีคำสั่ง คำร้อง และ ใน การ ประกาศ ขายทอดตลาด ครั้ง ต่อไป ขอให้ ขาย โดยปลอด จำนอง
จำเลย ยื่น คำร้องคัดค้าน ว่า จำเลย ไม่เคย นำ ที่ดินโฉนด เลขที่ 45816 ไป จำนอง เพื่อ ประกัน เงินกู้ ผู้ร้อง ไม่มี สิทธิขอรับ ชำระหนี้ ใน ฐานะ เจ้าหนี้ ผู้รับจำนอง เนื่องจาก ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 289 เป็น กรณี ที่ ผู้ร้อง เป็น บุคคลภายนอกไม่ใช่ โจทก์ ยื่น ขอรับ ชำระหนี้ และ ผู้ร้อง ไม่มี สิทธิ ขอให้ ศาล สั่ง ให้ขายทอดตลาด ที่ดิน โดย ปลอด จำนอง เนื่องจาก ไม่มี กฎหมาย บัญญัติให้ ทำได้ และ การ บังคับจำนอง ต้อง ทำ เป็น คำฟ้อง ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดีขายทอดตลาด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 45816 แขวง ลาดพร้าว เขต บางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง โดย ปลอด จำนอง โดย ให้ ชำระ เงินจาก การ ขายทอดตลาด ดังกล่าว แก่ ผู้ร้อง ก่อน เจ้าหนี้ อื่น จำนวน4,565,062.08 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 19.5 ต่อ ปี ของต้นเงิน 1,800,000 บาท นับแต่ วันที่ 21 สิงหาคม 2534 จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก คำร้องขอ งผู้ร้อง
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยประเด็น แรก ว่า ผู้ร้อง มีสิทธิ ยื่น คำร้อง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 289 วรรคแรก หรือไม่ เห็นว่า ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 289 วรรคแรก บัญญัติ ว่า “ถ้า บุคคล ใด ชอบ ที่ จะ บังคับการ ชำระหนี้ เอา จาก ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ตาม คำพิพากษา ที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ ยึด ไว้ หรือ ชอบ ที่ จะ ได้ เงิน ที่ ขาย หรือ จำหน่าย ทรัพย์สินเหล่านั้น โดย อาศัย อำนาจ แห่ง การ จำนอง ที่ อาจ บังคับคดี ได้ ก็ ดีหรือ อาศัย อำนาจ แห่ง บุริมสิทธิ ก็ ดี บุคคล นั้น อาจ ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาลที่ ออกหมาย บังคับคดี ให้ เอา เงิน ที่ ได้ มา นั้น ชำระหนี้ ตน ก่อน เจ้าหนี้อื่น ๆ ” ตาม บทบัญญัติ นี้ ไม่มี ข้อจำกัด สิทธิ ของ ผู้รับจำนอง ว่า จะ ต้องฟ้องร้อง บังคับจำนอง ก่อน หรือ จะ ต้อง เป็น เจ้าหนี้ จำนอง ตาม คำพิพากษาจึง จะ ขอรับ ชำระหนี้ ได้ ทั้ง ไม่มี บทบัญญัติ ใด ระบุ ว่า โจทก์ และผู้รับจำนอง จะ ต้อง เป็น บุคคล ฐานะ เดียว กัน ไม่ได้ หาก ผู้ร้อง เป็นเจ้าหนี้ ของ จำเลย ผู้เป็น ลูกหนี้ ตาม คำพิพากษา โดย มี ที่ดิน ที่เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ยึด ไว้ จำนอง เป็น ประกัน ผู้ร้อง ย่อม อาศัยอำนาจ แห่ง การ จำนอง ขอให้ ศาล ขาย ที่ดิน โดย ปลอด จำนอง เพื่อ นำ เงินที่ ขาย ได้ ชำระหนี้ แก่ ผู้ร้อง ก่อน เจ้าหนี้ อื่น ได้ ฎีกา ของ ผู้ร้องข้อ นี้ ฟังขึ้น
ประเด็น ข้อ ต่อไป มี ว่า จำเลย ได้ จดทะเบียน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 45816จำนอง ต่อ ผู้ร้อง หรือไม่ ประเด็น ข้อ นี้ แม้ ศาลอุทธรณ์ จะ มิได้ วินิจฉัยไว้ แต่ คู่ความ ได้ สืบพยาน ใน ประเด็น นี้ เสร็จสิ้น แล้ว ศาลฎีกา เห็นสมควรวินิจฉัย ไป ทีเดียว โดย ไม่จำต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา ก่อนจึง ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน เป็น ประกัน เงินกู้ต่อ ผู้ร้อง จริง ผู้ร้อง จึง ชอบ ที่ จะ ใช้ สิทธิ ขอรับ ชำระหนี้ จำนอง ก่อนเจ้าหนี้ ราย อื่น ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษามา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น

Share