คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การสื่อสารแห่งประเทศไทยโจทก์ได้วางระเบียบให้ประชาชนสามารถใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศของโจทก์โดยเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการตามอัตราที่ได้กำหนดไว้แสดงว่าโจทก์ได้ให้บริการดังกล่าวประจำเป็นปกติธุระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการต่างๆจึงเป็นสินจ้างที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยผู้ใช้บริการแม้โจทก์จะเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519ก็ตามโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่างๆเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(7)ซึ่งมีอายุความ2ปี.(ที่มา-เนติฯ)

ย่อยาว

ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระเงิน 39,150 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ได้ ว่าจำเลย เป็น หนี้ ค่า ใช้ บริการ วิทยุโทรศัพท์ ระหว่าง ประเทศ ของโจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ.12 รายการ ที่ 1 ถึง รายการ ที่ 34 เป็น เงิน14,488 บาท ซึ่ง โจทก์ ได้ ฟ้อง เรียกร้อง ให้ จำเลย ชำระ เมื่อ เกินกำหนด สอง ปี แล้ว ปัญหา มี ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า สิทธิ เรียกร้องใน หนี้ ดังกล่าว ขาด อายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165 หรือ ไม่ เห็นว่า โจทก์ ได้ วาง ระเบียบ ให้ ประชาชน สามารถ ใช้บริการ พูด วิทยุ โทรศัพท์ ระหว่าง ประเทศ ของ โจทก์ จาก ใน ประเทศ ไปต่างประเทศ และ จาก ต่าง ประเทศ มา ยัง ใน ประเทศ โดย เรียก เก็บ เงิน จากผู้ใช้ บริการ นี้ ตาม อัตรา ที่ ได้ กำหนด ไว้ แสดงว่า โจทก์ ได้ ให้บริการ ดังกล่าว ประจำ เป็น ปกติ ธุระ ค่าธรรมเนียม หรือ ค่าบริการต่างๆ จึง เป็น สินจ้าง ที่ โจทก์ เรียกเก็บ จาก จำเลย ผู้ใช้ บริการแม้ โจทก์ จะ เป็น รัฐวิสาหกิจ ตั้งขึ้น โดย พระราชบัญญัติ การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2519 ก็ ตาม โจทก์ เป็น ผู้ค้า ใน การ รับ ทำการงาน ต่างๆ เรียก เอา สินจ้าง อัน จะ พึง ได้ รับ ใน การ นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) ซึ่ง มี อายุความ 2 ปี ตามที่ กฎหมาย ได้ บัญญัติ ไว้ โดยเฉพาะ หนี้ ค่า ใช้ บริการ ของ โจทก์ตาม เอกสาร หมาย จ.12 รายการ ที่ 1 ถึง รายการ ที่ 34 เป็น เงิน14,488 บาท จึง ขาด อายุความ แล้ว ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ไม่ได้ ยื่น คำแก้ อุทธรณ์ จึง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ นั้น ปรากฏ ว่า จำเลย ได้ ยื่น คำแก้ อุทธรณ์ ภายใน เวลา ตามที่ กฎหมาย กำหนด และ ศาลชั้นต้น ได้ สั่ง รับ คำแก้ อุทธรณ์ ของ จำเลยแล้ว จำเลย จึง มี สิทธิ ได้ รับ ค่า ทนายความ ชั้น อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น’
พิพากษา ยืน ให้ โจทก์ ใช้ ค่าทนายความ ชั้น ฎีกา แทน จำเลย 400 บาท

Share