คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แต่ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจให้ ก. กระทำกิจการติดตามทวงถามหนี้สินตลอดจนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามแทนโจทก์นั้นแม้ ก. ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจด้วยเพียงแต่มาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจก็ตามหนังสือมอบอำนาจย่อมสมบูรณ์และมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ก. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศมีการรับรองโดยโนตารีปับลิกและหัวหน้าฝ่ายกงสุลเมือง จากาตาร์ประเทศ อินโดนีเซีย รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริงหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวถือว่าถูกต้องตามกฎหมายประเทศดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยจดทะเบียนในประเทศ อินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านประมงจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศ อินโดนีเซียและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขอออกใบอนุญาตในการทำการประมงภายในขอบข่ายงานการดำเนินการของบริษัทโจทก์กับเรือประมงต่างด้าวเพื่อการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศ อินโดนีเซีย(อีซีแซด) ตามกฎหมายหรือไม่จำเลยทั้งสามไม่ทราบและไม่ยอมรับว่าโจทก์สามารถที่จะทำได้คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะมิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบถึงหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์อีก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด จดทะเบียนใน ประเทศ อินโดนีเซีย โจทก์ ทำ หนังสือมอบอำนาจ ให้ นาย กำธร อุ่นหิรัญสกุล เป็น ผู้ดำเนินคดี แทน จำเลย ที่ 2 เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 ตกลง เข้ากัน เพื่อ จัดหา เรือประมง ไป ทำการ ประมง ใน เขต น่านน้ำ ประเทศ อินโดนีเซีย ด้วย ประสงค์ จะ แบ่งปัน กำไร อัน จะ พึง ได้ จาก การประมง จำเลย ที่ 1มอบ ให้ จำเลย ที่ 3 เข้า ทำ สัญญา ว่าจ้าง ให้ โจทก์ เป็น ตัวแทน ดำเนินการติดต่อ ขอ ใบอนุญาต ทำการ ประมง ให้ แก่ เรือประมง ของ จำเลย ที่ 1หรือ เรือ ที่ จำเลย ที่ 1 จัดหา มา ใน เขต น่านน้ำ ของ ประเทศ อินโดนีเซีย จำเลย ที่ 1 ตกลง จะ ชำระ ค่าบริการ ดังกล่าว แก่ โจทก์ เป็น รายเดือนเดือน ละ 30,000 บาท ต่อ เรือประมง 1 ลำ ที่ ได้รับ ใบอนุญาต มี กำหนดระยะเวลา 8 เดือน ต่อมา โจทก์ ดำเนินการ ติดต่อ จน ได้รับ ใบอนุญาตสำหรับ เรือ แดงศิริ เรือ แดง มงคล และ เรือ ศิริอุดม 59 ของ จำเลย ที่ 3 จำเลย ทั้ง สาม จึง มี หน้าที่ ต้อง ชำระ ค่าตอบแทน เป็นรายเดือน ให้ โจทก์ ลำ ละ 30,000 บาท รวม 3 ลำ เป็น เงิน 90,000 บาทต่อ เดือน ทุกเดือน ไป เป็น ระยะเวลา 8 เดือน แต่ จำเลย ทั้ง สาม ชำระค่าตอบแทน ให้ โจทก์ เพียง เดือน แรก เดือน เดียว ส่วน ค่าตอบแทน อีก 7 เดือนเป็น เงิน 630,000 บาท จำเลย ทั้ง สาม ไม่ชำระ โจทก์ ทวงถาม แล้วจำเลย ทั้ง สาม เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ใช้ เงิน จำนวน630,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า หนังสือมอบอำนาจ ของ โจทก์นาย กำธร อุ่นหิรัญสกุล ผู้รับมอบอำนาจ มิได้ ลงลายมือชื่อ หนังสือมอบอำนาจ จึง ไม่สมบูรณ์ ใช้ บังคับ ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 การ ตั้ง ตัวแทน ของ โจทก์ให้ ดำเนินคดี ย่อม เป็น การ ไม่ชอบ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง โจทก์ ต้องดำเนินการ ขอ ออก ใบอนุญาต ทำการ ประมง ใน ประเทศ อินโดนีเซีย ใบ ผ่าน น่านน้ำ ประเทศ อินโดนีเซีย และ ประเทศ ที่ เรือ แล่น ผ่าน เช่น ประเทศ มาเลเซีย พร้อม ใบอนุญาต ของ ลูกเรือ ที่ เข้า ทำการ ประมง แต่ โจทก์ ไม่สามารถ ขอ ใบอนุญาต ต่าง ๆ ให้ จำเลย ตาม ข้อตกลง ได้และ โจทก์ นำ คดี มา ฟ้อง ก่อน วัน ครบ กำหนด ตาม สัญญา จำเลย จึง ไม่ต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงินจำนวน 630,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา เกี่ยวกับ อำนาจฟ้องของ โจทก์ ใน ประการ แรก ว่า การ มอบอำนาจ ให้ ฟ้องคดี แทน เป็น การ มอบหมาย ให้ตัวแทน กระทำ กิจการ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798ซึ่ง กิจการ อัน ใด กฎหมาย บังคับ ว่า ต้อง ทำ เป็น หนังสือ หรือ ต้อง มี หลักฐานเป็น หนังสือ การ ตั้ง ตัวแทน เพื่อ กิจการ อัน นั้น ก็ ต้อง ทำ เป็น หนังสือหรือ มี หลักฐาน เป็น หนังสือ ด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจ ให้ ฟ้องคดีแทน จึง ต้อง ลงลายมือชื่อ ผู้มอบอำนาจ และ ผู้รับมอบอำนาจ แต่ หนังสือมอบอำนาจ ที่ โจทก์ อ้างว่า โจทก์ มอบอำนาจ ให้ นาย กำธร อุ่นหิรัญสกุล ฟ้องคดี แทน โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 นาย กำธร มิได้ ลงชื่อ ไว้ หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 2 จึง ไม่สมบูรณ์ นาย กำธร ไม่มี อำนาจฟ้อง คดี แทน โจทก์ นั้น เห็นว่า การ มอบอำนาจ ให้ ฟ้องคดีของ โจทก์ ตาม หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 2 เมื่อ โจทก์ แต่ ฝ่ายเดียวได้ ลงลายมือชื่อ เป็น ผู้มอบอำนาจ ให้ นาย กำธร กระทำ กิจการ ติดตาม ทวงถาม หนี้สิน ตลอดจน ดำเนินคดี แก่ จำเลย ทั้ง สาม แทน โจทก์ แล้วแม้ นาย กำธร ไม่ได้ ลงชื่อ เป็น ผู้รับมอบอำนาจ ด้วย เพียงแต่ มา เบิกความ ยืนยัน ว่า ได้รับ มอบอำนาจ จาก โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2ก็ ตาม หนังสือมอบอำนาจ ย่อม สมบูรณ์ และ มีผล ใช้ บังคับ ได้ ตาม กฎหมายนาย กำธร จึง มีอำนาจ ฟ้องคดี แทน โจทก์ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ใน ประการ ที่ สอง ว่า หนังสือมอบอำนาจของ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 มิได้ ปิดอากรแสตมป์ จึง ไม่สมบูรณ์นาย กำธร ไม่มี อำนาจฟ้อง คดี แทน โจทก์ นั้น เห็นว่า ปัญหา ข้อ นี้ เป็น ปัญหา เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ จำเลย ทั้ง สาม มิได้ยกขึ้น ต่อสู้ ไว้ ใน คำให้การ จำเลย ทั้ง สาม ก็ ยกขึ้น ฎีกา ได้ ปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 2 ทำ ขึ้น ใน ต่างประเทศ มี การ รับรองโดย โนตารีปับลิก และ หัวหน้า ฝ่าย กงสุล เมือง จากาตาร์ ประเทศ อินโดนีเซีย รับรอง อีก ชั้น หนึ่ง ว่า ได้ มี การ จัดทำ เอกสาร ขึ้น อย่าง แท้จริง หนังสือมอบอำนาจ ดังกล่าว ถือว่า ถูกต้อง ตามกฎหมาย ประเทศ ดังกล่าว แล้ว ไม่อยู่ ใน บังคับ ที่ ต้อง ปิดอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากร จึง เป็น หนังสือมอบอำนาจ ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย นาย กำธร มีอำนาจ ฟ้องคดี แทน โจทก์ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของจำเลย ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น
ส่วน ปัญหา ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ใน ประการ สุดท้าย ว่า โจทก์ อ้างว่าโจทก์ จดทะเบียน เป็น นิติบุคคล ที่ ประเทศ อินโดนีเซีย แต่ โจทก์ ไม่มี หลักฐาน เป็น หนังสือ รับรอง ถึง ฐานะ การ เป็น นิติบุคคล มา แสดง จึง ฟังไม่ได้ ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล เมื่อ ฟัง ไม่ได้ ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคลตาม กฎหมาย โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง นั้น เห็นว่า โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่าโจทก์ เป็น นิติบุคคล โดย จดทะเบียน ใน ประเทศ อินโดนีเซีย มี วัตถุประสงค์ ประกอบ กิจการ ด้าน ประมง จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ต่อสู้คดี ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด จดทะเบียน ในประเทศ อินโดนีเซีย และ มี วัตถุประสงค์ ประกอบ กิจการ ขอ ออก ใบอนุญาต ใน การ ทำการ ประมง ภายใน ขอบ ข่าย งาน การ ดำเนินการ ของ บริษัท โจทก์กับ เรือประมง ต่างด้าว เพื่อ การประมง ใน เขต น่านน้ำ ของประเทศ อินโดนีเซีย (อีซีแซด) ตาม กฎหมาย หรือไม่ จำเลย ทั้ง สาม ไม่ทราบ และ ไม่ยอม รับ ว่า โจทก์ สามารถ ที่ จะ ทำได้ คำให้การ ของจำเลย ทั้ง สาม ดังกล่าว จึง เป็น คำให้การ ที่ ไม่ ชัดแจ้ง เพราะ มิได้ แสดงเหตุ แห่ง การ ปฏิเสธ ไว้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ ก่อ ให้ เกิด ประเด็น ข้อพิพาท ข้อเท็จจริงจึง ต้อง ฟัง ตาม ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง ใน ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคลตาม กฎหมาย โดย โจทก์ ไม่ต้อง นำสืบ ถึง หนังสือ รับรอง การ เป็นนิติบุคคล ของ โจทก์ อีก ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลยทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share