คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนพิพาทเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518มาตรา4ซึ่งตามมาตรา5ประกอบด้วยมาตรา11ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เมื่อเหตุละเมิดเป็นการกระทำต่อที่ราชพัสดุซึ่งเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจฟ้องเมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้โจทก์ฟ้องคดีโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิดจำเลยที่2และที่3อุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และไม่ได้แก้อุทธรณ์ในประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่1ประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่1จึงยุติในชั้นอุทธรณ์แล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ผู้รับจ้างก่อสร้าง อาคาร เรียน ชั่วคราว ใน โรงเรียน ของ โจทก์ ใช้ รถแทรกเตอร์ขุด ไถ ดิน ภายใน บริเวณ โรงเรียน พรตพิทยพยัต ซึ่ง เป็น ที่ราชพัสดุ ที่ โจทก์ ขอ สงวน ไว้ ใช้ ใน ราชการ สำหรับ โรงเรียน พรตพิทยพยัต เป็นเหตุ ให้ พื้นดิน ที่ ขุด เสียหาย เป็น หลุม เป็น บ่อ ขนาด กว้าง ประมาณ10 เมตร ยาว ประมาณ 120 เมตร ลึก ประมาณ 1 เมตร ปริมาตร ดิน ที่ ถูก ขุดจำนวน 1,690 ลูกบาศก์เมตร อันเป็น การกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ และฝ่าฝืน สัญญา ที่ ทำ ไว้ ต่อ โจทก์ เพราะ ตาม สัญญา กำหนด ให้ จำเลย ที่ 1จัดหา สัมภาระ ต่าง ๆ รวมทั้ง ดิน ที่ จะ ใช้ ถม บริเวณ ที่ จะ ทำการ ก่อสร้างอาคาร เรียน ชั่วคราว ต้อง นำ มาจาก ภายนอก บริเวณ โรงเรียน พรตพิทยพยัต จำเลย ที่ 2 รับ ราชการ ใน สังกัด กรม โจทก์ โดย เป็น ผู้อำนวยการ โรงเรียน พรตพิทยพยัต และ ใน ฐานะ เป็น กรรมการ ตรวจ การจ้าง ตาม คำสั่ง โจทก์ มี หน้าที่ ตรวจ และ ควบคุม การจ้าง ให้ ดำเนิน ไป ตาม ข้อกำหนด ใน สัญญาจำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ นาย ช่าง โยธา ได้รับ มอบหมาย จาก โจทก์ ให้ ทำ หน้าที่ควบคุม งาน ก่อสร้าง อาคาร เรียน ชั่วคราว ของ โรงเรียน พรตพิทยพยัต จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ร่วมกัน จงใจ ส่งเสริม ช่วยเหลือ ยินยอมให้ จำเลย ที่ 1 ขุด ไถ ดิน ภายใน โรงเรียน พรตพิทยพยัต ขึ้น มา ถม บริเวณ ที่ทำการ ก่อสร้าง อาคาร เรียน ชั่วคราว อันเป็น การ ละเมิด และ ฝ่าฝืนข้อ สัญญา ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ ไว้ กับ โจทก์ ดังกล่าว โดย ปกปิด ไม่ให้ โจทก์ทราบ ถึง การกระทำ ที่ บกพร่อง ของ จำเลย ที่ 1 ดังกล่าว และ ได้ ทำ บันทึกรับรอง ว่า ผู้ว่าจ้าง ได้ ทำการ ก่อสร้าง แล้ว เสร็จ ถูกต้อง ตาม แบบและ รายการ ตาม ข้อ สัญญา หรือ มิฉะนั้น จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ปฏิบัติหน้าที่ ของ ตน ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ไม่ ใช้ ความระมัดระวัง ให้ เพียงพอเป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1 กระทำ ละเมิด และ ฝ่าฝืน สัญญา ต่อ โจทก์การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สาม ดังกล่าว ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายไม่ได้ รับ เนื้อ งาน ถม ดิน ตาม ข้อ สัญญา และ ทำให้ โจทก์ ต้อง จ่ายเงินค่า ถม ดิน ปริมาตร ดิน ถม 1,690 ลูกบาศก์เมตร รวม ค่า ดิน ถม ค่า บด อัดกำไร และ ภาษี เข้า ด้วยกัน คิด เป็น เงิน ราคา ลูกบาศก์เมตร ละ 90 บาทรวมเป็น เงิน 152,100 บาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 จำเลย ทั้ง สาม จึง ต้องร่วมกัน รับผิด ชดใช้ เงิน จำนวน 152,100 บาท คืน ให้ แก่ โจทก์ ขอให้บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระ ค่าเสียหาย จำนวน 152,100บาท กับ ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่เคย เป็น กรรมการ ตรวจ การจ้างหรือ กรรมการ ควบคุม การ ก่อสร้าง จำเลย ที่ 2 ได้ ลงชื่อ ใน เอกสารตรวจ การจ้าง ใน ฐานะ เป็น กรรมการ โรงเรียน โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องเพราะ ที่ราชพัสดุ เป็น ของ กระทรวงการคลัง และ กระทรวงการคลัง หรือกรมธนารักษ์ ไม่ได้ เป็น โจทก์ หรือ ร่วม เป็น โจทก์ หรือ มอบอำนาจ ให้ โจทก์ฟ้องคดี นี้ ดิน ที่ ขุด ไป มี ราคา ไม่เกิน 80,000 บาท คดี โจทก์ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่เคย แต่งตั้ง หรือ มี คำสั่ง ใด ๆให้ จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้ควบคุม ดูแล การก่อสร้างอาคาร เรียน ชั่วคราวโจทก์ ทราบ ถึง ผู้กระทำ ความผิด และ รู้ตัว ผู้ จะ ต้อง รับผิด แล้ว แต่ โจทก์ไม่ฟ้อง คดี ภายใน 1 ปี จึง ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน152,100 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2530 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ทั้งนี้ ดอกเบี้ยเมื่อ คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน 11,001.20 บาท
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 3 ถึงแก่กรรม นาง ฉลวย วงศ์สุภานิชกุล ภรรยา ของ จำเลย ที่ 3 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท จึง ต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกาใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ทั้ง สาม กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ทำให้ โจทก์ เสียหาย และ โจทก์ ฟ้องคดี ภายใน 1 ปี นับแต่ โจทก์ รู้ตัวผู้ต้องรับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน คดี ไม่ขาดอายุความ นั้น ล้วน แต่เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม บท กฎหมาย ที่ กล่าว มา แล้วศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ฎีกา ของ โจทก์ คง มี ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ ต้องวินิจฉัย เพียง ข้อ เดียว ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ ซึ่ง ใน การ วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย เช่นว่า นี้ ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 247 ประกอบ ด้วย มาตรา 238 โดย ศาลอุทธรณ์ฟัง ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ ว่า เมื่อ วันที่ 19 เมษายน 2521 โจทก์ ได้ว่าจ้าง ให้ จำเลย ที่ 1 ก่อสร้าง อาคาร เรียน ชั่วคราว ของ โรงเรียน พรตพิทยพยัต พร้อม ถม ดิน หรือ ถม ทราย บริเวณ การ ก่อสร้าง ด้วย ตาม สัญญาจ้าง เหมา ทำการ ก่อสร้าง เอกสาร หมาย จ. 2 ขณะ นั้น จำเลย ที่ 2เป็น ผู้อำนวยการ โรงเรียน พรตพิทยพยัต สังกัด กรม โจทก์ จำเลย ที่ 3เป็น นาย ช่าง โยธา กอง ออก แบบ และ ก่อสร้าง สังกัด กรม โจทก์ ระหว่างก่อสร้าง อาคาร เรียน ชั่วคราว โรงเรียน พรตพิทยพยัต นั้น ตาม สัญญา ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้รับจ้าง จะ ต้อง นำ ดิน จาก ที่อื่น มา ถมณ ที่ ก่อสร้าง อาคาร เรียน แต่ จำเลย ที่ 1 กลับ ใช้ รถแทรกเตอร์ ขุด ดัน ดินภายใน บริเวณ โรงเรียน ขึ้น มา ถม แล้ว ก่อสร้าง อาคาร เรียน จน เสร็จ ตาม สัญญาโจทก์ ได้รับ มอบ งาน และ ชำระ เงิน ค่าก่อสร้าง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1รับ ไป เรียบร้อย แล้ว ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังเป็น เจ้าของ ที่ราชพัสดุ อันเป็น ที่ ตั้ง โรงเรียน พิพาท ซึ่ง ทางราชการสงวน ไว้ สำหรับ สร้าง โรงเรียน และ ใช้ ประโยชน์ เกี่ยวกับ กิจการ โรงเรียนโดย มอบ ให้ โจทก์ เป็น ผู้ครอบครอง ดูแล เมื่อ จำเลย ที่ 1 มา ขุดดินไป โดย พลการ โดย จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 มี ส่วน ใน ความผิด ด้วย ทำให้โจทก์ ขาด ประโยชน์ และ ขาด ความสะดวก ใน การ ใช้ ทรัพย์ เพื่อ การศึกษาของ เยาวชน โจทก์ จึง ได้รับ ความเสียหาย และ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม นั้นเห็นว่า ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่า ที่ดิน ที่ ตั้ง โรงเรียน พิพาทเป็น ที่ราชพัสดุ ตาม พระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4ซึ่ง ตาม มาตรา 5 ประกอบ ด้วย มาตรา 11 ให้ กระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดย ที่ คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สาม กระทำ ละเมิดโดย จำเลย ที่ 1 ขุดดิน ใน ที่ราชพัสดุ ขึ้น มา ใช้ ถม ใน การ ก่อสร้าง โรงเรียนและ โจทก์ นำสืบ ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใช้สอย ที่ราชพัสดุ ดังกล่าว ดังนี้เห็น ได้ว่า เหตุ ละเมิด ดังกล่าว เป็น การกระทำ ต่อ ที่ราชพัสดุ ซึ่ง เป็นอำนาจ ของรัฐ มนตรี ว่าการ กระทรวงการคลัง หรือ ผู้ที่ได้รับ มอบอำนาจจาก รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง เป็น ผู้มีอำนาจ ฟ้อง เมื่อ ไม่ปรากฏว่า รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง ได้ มอบหมาย ให้ โจทก์ ฟ้องคดีโจทก์ ย่อม ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ส่วน การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1จะ เป็น การ ผิดสัญญา ต่อ โจทก์ ซึ่ง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จะ ต้อง ร่วมกันรับผิด หรือไม่ นั้น ไม่เป็น ประเด็น วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ เพราะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ให้ จำเลย ทั้ง สาม รับผิด ฐาน ละเมิด เมื่อ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3อุทธรณ์ โจทก์ ไม่ได้ อุทธรณ์ และ ไม่ได้ แก้ อุทธรณ์ ใน ประเด็น ความรับผิดตาม สัญญา ของ จำเลย ที่ 1 ประเด็น ความรับผิด ตาม สัญญา ของ จำเลย ที่ 1จึง ยุติ ใน ชั้นอุทธรณ์ แล้ว ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ชอบแล้วฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share