แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสารในวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือว่าได้ใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริงแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา104ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา31การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการใช้ดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายเงินเดือนเดือนสุดท้ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินประจำปี(โบนัส)รวม484,800บาทพร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละสิบห้าต่อเดือนของเงินค่าจ้างที่ค้างชำระทุกเจ็ดวันจนกว่าชำระเสร็จกับค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดจำนวน3,000,000บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
วันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์และจำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริงร่วมกันว่าเมื่อวันที่5กันยายน2537โจทก์ได้ยื่นหนังสือขอลาออกโดยให้มีผลเป็นการลาออกในวันที่5ตุลาคม2537ตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข3ซึ่งจำเลยที่2อนุมัติให้โจทก์ลาออกโดยให้ออกในวันที่20กันยายน2537แต่ได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ถึงวันที่5ตุลาคม2537กำหนดจ่ายเงินโบนัสในวันสิ้นเดือนธันวาคมของแต่ละปีตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมายจ.ล.1หมวด8เรื่องสวัสดิการข้อ2.3ระบุว่าพนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานบริษัทฯก่อนที่จะถึงกำหนดวันจ่ายเงินโบนัสไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสสำหรับปีนั้น
ศาลแรงงานกลางเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ให้งดสืบพยานและวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ยื่นหนังสือขอลาออกโดยให้มีผลเป็นการลาออกในวันที่5ตุลาคม2537ซึ่งจำเลยที่2ก็ได้อนุมัติให้โจทก์ลาออกโดยให้ออกในวันที่20กันยายน2537ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์แต่เป็นเรื่องโจทก์ลาออกเองทั้งจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ถึงวันที่5ตุลาคม2537แล้วแม้จะฟังว่าจำเลยที่1เป็นนายจ้างของโจทก์จำเลยทั้งสองก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมทั้งเงินประจำเดือนสุดท้ายของโจทก์และการที่โจทก์ลาออกโดยให้มีผลในวันที่5ตุลาคม2537เป็นการลาออกก่อนถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามฟ้องพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า”โจทก์อุทธรณ์ว่าคดีมีข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องการนำสืบเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทในคดีซึ่งโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างเพื่อพิสูจน์ความผิดหรือการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและคดียังมีประเด็นข้อพิพาทด้วยว่าจำเลยที่1เป็นนายจ้างของโจทก์หรือไม่แต่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยไว้ควรให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในประเด็นนี้เพราะอาจมีผลถึงใบลาออกของโจทก์หากฟังว่าจำเลยที่1เป็นนายจ้างของโจทก์เมื่อจำเลยที่1เลิกจ้างโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องพิเคราะห์แล้วที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยคดีโดยฟังแต่คำแถลงของคู่ความแล้วมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานนั้นเห็นว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา104ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุโลมใช้กับคดีแรงงานด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31การที่ศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสารในวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้ใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริงคดีนี้แล้วที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย”
พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์