คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2495

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้เขาไปนั้น เท่ากับผู้ออกเช็คสัญญาว่าตนจะรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้น เมื่อถึงวันที่ลงไว้ ผู้ทรงตั๋วนั้นโดยชอบก็ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้ ตามตั๋วนั้น แม้หนี้นั้นจะยังำม่ถึงกำหนดและแม้ผู้ทรงตั๋วนั้นจะตายก่อนถึงวันที่ลงในเช็ค ผู้จัดการมรดกของผุ้ทรงตั๋วนั้นก็ย่อมเข้าสรวมสิทธิของผู้ทรงได้สิทธิที่ผู้ทรงมีอยู่ เป็นการโอนโดยผลของกฎหมาย ซึ่งย่อมเป็นเช่นเดียวกับการโอนโดยรูปการและด้วยแลอย่างการโอนสามัญ ซึ่งผู้ออกเช็คอาจยกข้อต่อสู้อาศัยความเกี่ยวพนัธ์เฉพาะผู้ออก เช็คกับผู้ทรงตั๋วขึ้นต่อสู้ ผู้จัดการมรดกของผู้ทรงตั๋วได้

ย่อยาว

โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของนายราม ราฮัดดาลี ตามคำสั่งศาล ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค ที่จำเลยสั่งจ่ายให้ผู้ตาย ก่อนผุ้ตาย ตาย เป็นเช็ค ๓ ฉะบับ ฉะบับละ ๕๐๐๐ บาท แต่ปรากฎว่าก่อนผู้ตาย ตาย ผู้ตายได้นำเช็คฉะบับแรกไปขึ้นเงินจากธนาคารมาปล้วเป็นเงิน ๕๐๐๐ บาท คงเหลืออีก ๒ ฉะบับเป็นเงิน ๑๐๐๐๐ บาท ธนาคารไม่ยอมจ่าย จึงขอให้จำเลยให้เงินแก่กองมรดก
จำเลยต่อสู้ว่า เลิกสัญญากบัโจทกแล้ว และว่าจำเลยมิใช่โซ่ลูกหนี้กองมรดกผู้ตาย โจทก์ไม่มีฟ้อจำเลย
ศาลแพ่งพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยใช้เงิน ๑๐๐๐๐ บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยแก่โจทก์
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกา เห็นว่า ข้อที่จำเลยฎีกาว่า เช็คลงล่วงหน้าไม่เป็นตั๋วเงิน ผู้ใดจะถือสิทธิอย่างไรในเช็คลงวันล่วงหน้าก่อนถีงวันที่ลงไปได้เสียเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยเพราะเมื่อจำเลยออกเช็คลงวันล่วงหน้าไปนั้น ก็เท่ากับจำเลยสัญญาว่า จำเลยจะรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นเมื่อถึงวันที่ลงไว้ ผู้ทรงตั่วนั้น โดยชอบก็ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามรั๋วนั้น แม้หนี้นั้นจะยังไม่ถึงกำหนด และเมื่อเป็นเช่นนี้ขอที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อทรงตายก่อนถึงกำหนดถึงวันที่ลงในเช็ค สิทธิตามเช็คนั้นก็เป็นอันศูนย์สิ้นไปนั้น ย่อมฟังไม่ขึ้นดุจกัน เพราะโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ทรง ซึ่งมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้อยู่ โจทก์ต้องเข้าสรวมสิทธิของผู้ทรงได้ตามสิทธิทีผู้ทรงมีอยู่ เป็นการโอนโดยผลของกฎหมาย ซึ่งย่อมเป็นไปเช่นเดียวกับการโอนโดยรูปกาและผลอย่างการโอนสามัญ ซึ่งจำเลยอาจยกข้อตกลงสู้อัน++
จึงพิพากษายืน

Share