คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้องของพนักงานอัยการที่ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโดยพิจารณาตามคำฟ้องที่ได้บรรยายว่าผู้ตายได้กระทำผิดด้วยโจทก์จึงไม่ใช่เป็นผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เป็นการวินิจฉัยว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้องนั้นได้หรือไม่มิใช่เป็นการ วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่จะถือเป็นยุติว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหายดังนั้นในข้อหาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่ากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นประเด็นโดยตรงที่จำเลยถูกฟ้องยังต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามนัยบทกฎหมายการที่โจทก์มิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่เกิดผลที่จะให้ศาลในคดีส่วนแพ่งไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ศาลล่างทั้งสองถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในส่วนนี้จึงชอบแล้ว ส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์กับค่าใช้จ่ายในการเดินทางนั้นมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทำ ละเมิดต่อตัวทรัพย์ของโจทก์หรือไม่ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับข้อหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในส่วนนี้โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ศาลล่างทั้งสองถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในส่วนนี้ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีในส่วนนี้ใหม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บิดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของนาย อำนวย ยิ่งรุ่งเรือง อัน เกิด แต่ นาง ประทุม ยิ่งรุ่งเรือง มารดา โดย ได้ จดทะเบียนสมรส กัน และ โจทก์ เป็น เจ้าของ ผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์ หมายเลข ทะเบียน กรุงเทพมหานคร 5ช-6905 นาย อำนวย ได้ ขับ รถจักรยานยนต์ หมายเลข ทะเบียน กรุงเทพมหานคร 5ช-6905มา ตาม ถนน รามอินทรา จาก กิโลเมตร 8 ด้วย ความระมัดระวัง และ ด้วย ความ เร็ว ตาม ที่ กฎหมาย กำหนด ครั้น ไป ถึง ที่เกิดเหตุขณะ นั้น จำเลย ขับ รถยนต์ เก๋ง หมายเลข ทะเบียน 2ง-2275 กรุงเทพมหานครจาก บางเขน มุ่งหน้า มา ทาง กิโลเมตร 8 มา ตาม ถนน รามอินทรา ดังกล่าว ใน ทิศทาง สวน กัน ด้วย ความประมาท กล่าว คือ จำเลย ได้ ขับ รถเลี้ยว ตัด หน้า รถจักรยานยนต์ คัน ที่นาย อำนวย ขับ ใน ระยะ กระชั้นชิด เป็นเหตุ ให้ รถจักรยานยนต์ ชน กับ รถยนต์ เก๋ง คัน ที่ จำเลย ขับ นาย อำนวย ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส ต้อง เข้า รักษา พยาบาล และ ถึงแก่ความตาย ใน เวลา ต่อมาและ ทำให้ รถจักรยานยนต์ ของ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย หลาย รายการจำเลย จึง ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ดังนี้ค่ารักษาพยาบาล นาย อำนวย ก่อน ตาย เป็น เงิน 13,720 บาท ค่า ปลงศพ และ ค่าใช้จ่าย อัน จำเป็น อย่างอื่น ซึ่ง โจทก์ ได้ ใช้ จ่าย เกี่ยวกับการ จัดการ ศพ รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 75,620 บาท กับ ค่าใช้จ่ายที่ โจทก์ ได้ เดินทาง เพื่อ ติดตาม สอบถาม และ ดำเนินการ เกี่ยวกับรถ ชน ดังกล่าว เป็น เงิน 5,000 บาท ค่า ขาดไร้อุปการะ เดือน ละไม่ น้อยกว่า 1,500 บาท โจทก์ ขอ คิด เป็น เงิน 180,000 บาท ค่าเสียหายเกี่ยวกับ รถจักรยานยนต์ หลาย รายการ เช่น ยาง ล้อ บังโคลน หน้าหน้า ปัด รถไฟ โช้กอัพด้านหน้า แตก และ ใช้ การ ไม่ได้ รวมทั้งเครื่องยนต์ และ อุปกรณ์ อื่น ๆ ชำรุด เสียหาย เป็น เงิน 20,113 บาทรวมเป็น ค่าเสียหาย 294,453 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี โจทก์ ขอ คิด ดอกเบี้ย เพียง 22,000 บาท รวมเป็นค่าเสียหาย ทั้งสิ้น จำนวน 316,453 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงินจำนวน 316,453 บาท
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้ เป็น บิดา โดยชอบ ด้วย กฎหมายของ นาย อำนวย และ มิได้ จดทะเบียนสมรส กับ นาง ประทุม โจทก์ ไม่ได้ เป็น เจ้าของ ผู้ครอบครอง รถจักรยานยนต์ ใน ขณะ เกิดเหตุ หาก แต่ รถจักรยานยนต์คัน ดังกล่าว เป็น กรรมสิทธิ์ และ อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ บุคคลอื่นเหตุ เกิด เพราะ ความประมาท เลินเล่อ ของ นาย อำนวย ผู้ตาย แต่เพียง ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวน ได้ สรุป สำนวน คดีอาญา ว่า เกิดเหตุ คดี นี้ เป็น เพราะ ความประมาท ของ นาย อำนวย ผู้ตาย ค่าใช้จ่าย ใน การ รักษา พยาบาล นาย อำนวย ก่อน ตาย ไม่เกิน 500 บาท ค่า ปลงศพ และ ค่าใช้จ่าย ไม่เกิน 15,000 บาท ค่า ขาดไร้อุปการะ ไม่เกิน 10,000บาท รถจักรยานยนต์ เสียหาย เพียง เล็กน้อย สามารถ ซ่อมแซม ให้ อยู่ใน สภาพ เดิม ได้ ใน จำนวน ไม่เกิน 1,500 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
“ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “การ ที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ถือข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฎ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา ว่า จำเลย มิได้ กระทำโดยประมาท มา วินิจฉัย ว่า จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ และ พิพากษายกฟ้อง นั้น ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ โดย โจทก์ ฎีกา ว่า คำพิพากษา คดีอาญาดังกล่าว ไม่ผูกพัน โจทก์ เพราะ โจทก์ มิได้ เป็น คู่ความ ใน คดี ดังกล่าวเนื่องจาก เมื่อ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม ใน คดี ดังกล่าวโจทก์ และ จำเลย ใน คดี นั้น ต่าง ก็ คัดค้าน ว่า โจทก์ คดี นี้ มิใช่ ผู้เสียหายศาลอาญา จึง สั่ง ยกคำร้อง ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ เมื่อ ยื่น อุทธรณ์คัดค้าน คำพิพากษา ศาลอาญา ศาลอาญา ก็ สั่ง ไม่รับ อุทธรณ์ อ้างว่ามิใช่ คู่ความ ศาลฎีกา เห็นว่า ใน กรณี ที่ โจทก์ ฟ้อง เรียก ค่ารักษาพยาบาลผู้ตาย ค่า ปลงศพ ผู้ตาย รวมทั้ง ค่าใช้จ่าย อัน จำเป็น อย่างอื่น ๆ และค่า ขาดไร้อุปการะ เนื่องจาก เหตุ ที่ ผู้ตาย ได้รับ อันตราย แก่ ร่างกายและ ถึงแก่ความตาย ใน เวลา ต่อมา นั้น เป็น ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่าจำเลย กระทำ ละเมิด ต่อ ผู้ตาย หรือไม่ อันเป็น ประเด็น ใน คดีอาญาดังกล่าว ที่ พนักงานอัยการ ได้ ฟ้อง จำเลย ข้อหา กระทำ โดยประมาทเป็นเหตุ ให้ ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย ซึ่ง โจทก์ เป็น ผู้เสียหาย ตาม นัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) 5(2) ใน ส่วน นี้จึง กรณี นี้ เป็น คดีแพ่ง ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา การ พิพากษาคดี ส่วน แพ่ง ศาล จะ ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฎ ใน คำพิพากษาคดี ส่วน อาญา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46แม้ โจทก์ จะ มิได้ เข้า เป็น คู่ความ ใน คดีอาญา ด้วย โจทก์ ก็ ต้อง ผูกพันตาม คำพิพากษา คดีอาญา นั้น การ ที่ ศาล ใน คดีอาญา มี คำสั่ง ยกคำร้องของ โจทก์ ที่ ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ กับ พนักงานอัยการ โดย มี คำสั่ง ว่าตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ บรรยาย ว่า ผู้ตาย ได้ กระทำผิด ด้วยกัน กับจำเลย โดย ต่าง ฝ่าย ต่าง ขับ รถจักรยานยนต์ และ รถยนต์ ด้วย ความประมาทจน เกิดเหตุ ชนกัน ตาม คำฟ้อง ผู้ตาย จึง มิใช่ ผู้เสียหาย โจทก์จะ ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ กับ พนักงานอัยการ ไม่ได้ จึง ให้ยก คำร้อง นั้นเห็นว่า โจทก์ ร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ โดย อาศัย สิทธิ ตาม คำฟ้อง ของพนักงานอัยการ ที่ ศาลอาญา สั่ง ยกคำร้อง โดย พิจารณา ตาม คำฟ้องที่ ได้ บรรยาย ว่า ผู้ตาย ได้ กระทำผิด ด้วย โจทก์ จึง ไม่ใช่ ผู้เสียหายที่ จะ ขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ เป็น การ วินิจฉัย ว่า มีเหตุ ที่ จะ อนุญาตให้ เข้าร่วม เป็น โจทก์ โดย อาศัย สิทธิ ตาม คำฟ้อง นั้น ได้ หรือไม่มิใช่ เป็น การ วินิจฉัย ใน ประเด็น แห่ง คดี ที่ จะ ถือ เป็น ยุติ ว่าโจทก์ มิใช่ ผู้เสียหาย ดังนั้น ใน ข้อหา ที่ พนักงานอัยการ ฟ้อง จำเลยว่า กระทำ โดยประมาท เป็นเหตุ ให้ ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย อันเป็นประเด็น โดยตรง ที่ จำเลย ถูก ฟ้อง ยัง ต้อง ถือว่า โจทก์ เป็น ผู้เสียหายตาม นัย บท กฎหมาย ที่ กล่าว ข้างต้น การ ที่ โจทก์ มิได้ เข้า เป็น คู่ความใน คดีอาญา ดังกล่าว จึง ไม่ เกิด ผล ที่ จะ ให้ ศาล ใน คดี ส่วน แพ่ง ไม่ต้องถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฎ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญาที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม คำพิพากษา คดี ส่วน อาญาใน ส่วน นี้ จึง ชอบแล้ว
ส่วน ใน กรณี ที่ โจทก์ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย ของ รถจักรยานยนต์ของ โจทก์ เป็น เงิน 20,113 บาท กับ ค่าใช้จ่าย ใน การ เดินทาง ของโจทก์ เพื่อ ติดต่อ สอบถาม ดำเนินการ อัน เนื่องมาจาก เหตุ รถ ชนกัน เป็น เงิน5,000 บาท นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า เป็น ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ว่า จำเลยทำละเมิด ต่อ ตัว ทรัพย์ ของ โจทก์ หรือไม่ ซึ่ง เป็น คน ละ ประเด็น กับข้อหา ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ใน คดีอาญา ที่ พนักงานอัยการฟ้อง จำเลย โดย เป็น ประเด็น ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ ข้อหา ที่ จำเลย ถูก ฟ้องตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157 ที่ รัฐเท่านั้น เป็น ผู้เสียหาย ดังนั้น ใน ส่วน นี้ โจทก์ จึง ไม่ใช่ ผู้เสียหายหรือ คู่ความ ใน คดีอาญา ดังกล่าว ใน การ พิพากษาคดี ส่วน แพ่ง ศาล จึง ไม่ต้องถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฎ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา แต่ เป็น กรณีที่ ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง กัน ใหม่ จาก พยานหลักฐาน ที่ คู่ความ นำสืบ กัน มาใน สำนวน คดี นี้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฎ ในพิพากษาคดี ส่วน อาญา ใน ส่วน นี้ ด้วย จึง เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย เนื่องจาก ใน ส่วน นี้ ศาลล่าง ทั้ง สอง ยัง มิได้ วินิจฉัยข้อเท็จจริง จาก พยานหลักฐาน ที่ คู่ความ ได้ นำสืบ กัน มา ใน สำนวน คดี นี้และ เพื่อ ให้การ วินิจฉัย คดี เป็น ไป ตามลำดับ ชั้น ศาล ประกอบ กับคำพิพากษา ของ ศาลล่าง อาจ เกี่ยวโยง ไป ถึง สิทธิ ของ คู่ความ ใน การอุทธรณ์ ฎีกา ข้อเท็จจริง ได้ จึง เห็นสมควร ให้ ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้นพิพากษาคดี ใน ส่วน นี้ ใหม่ ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์เฉพาะ ส่วน ที่ ยกฟ้อง โจทก์ ใน ข้อ ที่ ฟ้อง ว่า จำเลย ทำละเมิด เป็นเหตุให้ รถจักรยานยนต์ ของ โจทก์ เสียหาย และ ต้อง เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การเดินทาง แล้ว ให้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย พยานหลักฐาน จาก สำนวน ตาม ที่คู่ความ นำสืบ และ พิพากษา ใหม่ เฉพาะ ส่วน ดังกล่าว นอกจาก ที่ แก้ ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลอุทธรณ์

Share