แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การชำระเงินไถ่ถอนการขายฝากนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องทำตาม่แบบ หรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่
อย่างใดฉะนั้นการชำระเงินไถ่ถอนการขายฝากดดยไม่มีเอกสารใบรับเงินต่อกัน จึงเป็นเรื่องที่จะนำพยานบุคคล
เข้าสืบได้ ไม่ขัดกับ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 94.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า นางตัวเอียด ขายฝากที่บ้าน ๑ แปลงไว้กับโจทก์ แล้วไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนด ที่จึงตกเป็นกรรมสิทธิแก่
โจทก์ แล้วนางตัวเอียดถึงแก่กรรมจำเลยที่ ๑ ผู้เป็นทายาทกับจำเลยที่ ๓ เอาที่พิพาทไปขายแก่จำเลยที่ ๒ เสีย จึงขอให้
จำเลยที่ ๑ โอนที่พิพาทแก่โจทก์ และทำลายนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยเสีย.
จำเลยที่ ๑ – ๓ ต่อสู้ บิดาโจทก์เป็นผู้รับขายฝากที่พิพาทไว้ แต่ใส่ชื่อโจทก์แทน จำเลยได้ไถ่ถอนกับบิดาโจทก์แล้ว แต่ยัง
ไม่ทันแก้ทะเบียน บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมเสียก่อน และฟ้องแย้งขอให้โจทก์แก้ทะเบียนการไถ่ถอน
จำเลยที่ ๒ ต่อสู้ว่าซื้อไว้โดยสุจริต
ศาลชั้นต้นงดสืบพยาน แล้วพิพากษาว่าที่รายพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยไม่ให้เกี่ยวข้อง
จำเลยอุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา ต่อมา
ศาลฎีกาเห็นว่า การชำระเงินไถ่ถอนการขายฝากที่ดินนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องทำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็น
หนังสือแต่อย่างใด ตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๖/๒๔๘๒ ฉะนั้นการชำระเงินไถ่ถอนการขายฝากโดยไม่มีเอกสารใบรับเงิน
ต่อกันในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องที่คู่ความนำพยานบุคคลเข้าสืบได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา ๙๔.
ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้สมข้อต่อสู้ของจำเลย การไถ่ถอนการขายฝากก็ย่อมผูกพันโจทก์ด้วย เพราะจำเลยมีข้อต่อสู้ในคำให้
การแล้วว่า โจทก์มีชื่อเป็นผู้รับซื้อฝากแทนพระภิกษุรอดบิดา ผู้ออกเงินนรับซื้อฝากเท่านั้น
จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของคู่ความต่อไป แล้วพิพากษาใหม่. ฯลฯ