คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2467

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

มรฎก วิธีพิจารณาแพ่ง พินัยกรรมถ้อยคำไม่ชัดการแปลความหมายแห่งถ้อยคำ

ย่อยาว

ห.เปนบุตร ก. เกิดด้วย อ. ช. เปนอนุภรรยา ก. ก. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ ห. แลทั้งวิญญาณกะทรัพย์ สวิญญู-ณกะทรัพย์แลทรัพย์สมบัติข้าพเจ้า ๆ ยอมอนุญาตยกให้แก่นางเชื้อทั้งสิ้นแต่ผู้เดียว
ศาลแพ่งเห็นว่า คำ ” สวิญญู-ณกะทรัพย์ ” แปลไม่ได้ความ มีศัพท์ใช้ในกฎหมายแต่ว่า ” สวิญญาณกะทรัพย์ แลอวิญญาณกะทรัพย์ ” แปลว่าทรัพย์ที่มีวิญญาณแลไม่มีวิญญาณ แต่เมื่อพิเคราะห์แล้วเห็นได้ชัดว่า ที่ ก. ใช้คำดังนี้ ก. มิได้ประสงค์ให้เข้าใจอย่างอื่น นอกจากทรัพย์ที่มีวิญญาณแลไม่มีวิญญาณนั้นเอง หากแต่ ก. ใช้คำฟุ่มเฟือยเกินไปเท่านั้น ควรแปลว่าทรัพย์นอกจากที่ระบุว่ายกให้แก่ ห. หรือ ช. แล้ว ก. ยกให้ ช. ทั้งสิ้น ห. ไม่มีสิทธิได้อีก
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อคำ ” สวิญญู-ณกะทรัพย์ ” แปลไม่ได้ความแล้ว พินัยกรรมข้อ ๔ คงมีคำเหลืออยู่เพียงว่า ” วิญญาณกะทรัพย์แลทรัพย์สมบัติภาชนะใช้สรอยต่าง ๆ … ” แต่ ก. หามีทรัพย์ที่มีวิญญาณสักสิ่งเดียวไม่ ศาลอุทธรณ์จึงแปลคำ ” ทรัพย์สมบัติภาชนะใช้สรอยต่าง ๆ ” ว่าหมายความเฉภาะทรัพย์ที่อยู่ในบ้านเรือน ก. เท่านั้น
ศาลฎีกาเห็นว่า พินัยกรรมฉบับนี้มี ป. ผู้ลงชื่อเปนพยานเบิกความว่าได้ติศัพท์ ” สวิญญู-ณกะทรัพย์ ” ว่าผิด ที่ถูกควรใช้ ” อวิญญาณกะทรัพย์แลสวิญญาณกะทรัพย์ ” ก.รับรองว่าจะแก้ให้ถูกต้อง แลทั้ง ( ศาลฎีกาเห็นว่า ) คำ ” สวิญญู-ณกะทรัพย์ได้ใช้ความมากับ ” วิญญู-ณกะทรัพย์ ” เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับคำ ป. แลเหตุผลที่ ก. ทำพินัยกรรมแล้ว คงสันนิษฐานได้ว่า ก. มิได้มีความประสงค์ที่จะใช้คำ ” สวิญญาณกะทรัพย์ ” ให้หมายความถึงแปลไม่ได้ว่ากระไร นอกจากที่จะให้เข้าใจว่าทรัพย์ที่มีวิญญาณแลไม่มีวิญญาณเท่านั้น ศาลฎีกาเห็นชอบด้วยกับศาลแพ่งซึ่งวินิจฉัยความข้อนี้มาแลเห็นว่าลักษณแปลความในเอกสารนั้น ท่านให้แปลถือเอาทางอันจะทำให้เอกสารเปนผลบังคับได้ยิ่งกว่าที่จะถือเอาทางไร้ผล ดังฎีกาที่ ๙๘๐/๖๖ จึงเห็นว่าพินัยกรรมข้อ ๔ นี้มีความประสงค์ยกทรัพย์นอกจากที่ระบุไว้ในพินัยกรรมให้ ช. ผู้เดียว ห. ไม่มีสิทธิจะได้อีก

Share