แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การที่ศาลจะเรียงกะทงลงโทษจำเลยหรือไม่นั้นอยู่ใน+พินิจของศาลฎีกาอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงจำเลยพินิจข้อดุลยพินิจจัดเป็นปัญหาข้อเท็จจริง หาใช่ปัญหาข้อกฎหมายไม่+ดีที่คู่ความฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้เมื่อศาลล่างใข้ดุลยพินิจกำหนดโทษจำเลยโดยขอบแล้ว ศาลฎีกาไม่แก้ไขให้
ย่อยาว
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็น ๒ สำนวน สำนวนแรกหาว่าปล้นทรัพย์ของ ม.แลสำนวนที่ ๒ หาว่าปล้นทรัพย์ของ ป.ซึ่งเป็นเวลาติดต่อใกล้ชิดกัน
ศาลเดิมพิพากษาให้จำคุกจำเลยในสำนวนแรกคนละ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๓๐๑ แลให้จำคุกตามสำนวนที่ ๒ อีกคนละ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๓๐๑ โทษในสำนวนหลังให้นับแต่วันพ้นโทษในสำนวนแรก
ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีทั้ง ๒ สำนวนนี้รวมกันไปแลพิพากษายืนตาม ส่วนข้อนับโทษพิพากษาแก้ให้นับรวมกันไป
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาชั้นศาลเดิม
ศาลฎีกาเห็นว่าตามกฎหมายลักษณอาญา ม.๗๑ การที่ศาลจะลงโทษจำเลยเรียงกะทงความผิดหรือไม่นั้น อยู่ในดุลยพินิจของศาลแล้วแต่จะเห็นสมควรแลเห็นว่า ข้อดุลยพินิจจัดเข้าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง หาใช่ปัญหาข้อกฎหมายไม่ ซึ่งต้องพิจารณาดูเหตุผลแลข้อเท็จจริงแห่งคดีโดยทั่ว ๆ ไป แล้ววินิจฉัยใช้ดุลยพินิจว่าควรจะลงโทษจำเลยทุกกะทงในเรื่องเช่นนี้หรือไม่ แลเห็นว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลยพินิจลงโทษจำเลยนั้นเป็นการชอบแล้ว ศาลฎีกาไม่พึงแก้ไขดุลยพินิจนั้นได้โดยชอบ จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์