คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ดังนี้เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิมส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้นและต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการโจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้ จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักรจำเลยที่1จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่1ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา29ไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141. จำเลยที่2มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่1ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใดถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่2รับไปจำเลยที่2ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ส่ง พลอย สี น้ำเงิน เจียระไน และ ทับทิมเจียระไน ไป ให้ ลูกค้า ที่ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ โดย ทาง ไปรษณีย์ของ จำเลย ที่ 1 เสีย ค่า ธรรมเนียม ส่ง เป็น ไปรษณียภัณฑ์ ต่างประเทศลงทะเบียน รับ ประกันภัย จำเลย ที่ 1 ได้ ว่าจ้าง จำเลย ที่ 2 ให้ ส่งไปรษณียภัณฑ์ ดังกล่าว อีก ทอดหนึ่ง ต่อมา ปรากฏ ว่า สินค้า ที่ ส่ง ไปนั้น สูญหาย จึง ฟ้อง ขอ ให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงินค่าเสียหาย จำนวน 863,940 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ ต้อง รับผิด โจทก์ ฝาก ส่งไปรษณียภัณฑ์ ลง ทะเบียน รับ ประกัน แก่ จำเลย ที่ 1 ใน ประเภท จดหมายรับประกัน เป็น เงิน 3,950 บาท โจทก์ จะ ได้ บรรจุ สินค้า ราคา ตามฟ้อง ใน ไปรษณียภัณฑ์ ลง ทะเบียน รับประกัน หรือไม่ จำเลย ที่ 1ไม่ ทราบ และ ไม่ รับรอง จำเลย ที่ 1 ได้ ส่งมอบ ให้ จำเลย ที่ 2 ตามระเบียบ แล้ว แต่ ได้ เกิด สูญหาย ไป ระหว่าง อยู่ ใน ความ รับผิด ชอบของ จำเลย ที่ 2 ถือ เป็น เหตุ สุดวิสัย หาก จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง รับผิดก็ ไม่เกิน จำนวน เงิน ที่ โจทก์ ขอ รับประกัน ไว้ เป็น เงิน 3,950บาท และ คืน ค่า ธรรมเนียม อีก 128 บาท รวม เป็น เงิน 4,078 บาทจำเลย ที่ 2 ยัง ไม่ ได้ ชดใช้ ค่า เสียหาย ให้ จำเลย ที่ 1 ชอบ ที่โจทก์ จะ เรียกร้อง เอา จาก จำเลย ที่ 2 โดยตรง ขอ ให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ และ เพิ่มเติม คำ ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ส่งมอบ เที่ยว ไปรษณีย์ ให้ แก่ ที่ ทำ การ ไปรษณีย์ ปลายทาง โดยเรียบร้อย ตาม สภาพ ที่ ได้ รับ จาก จำเลย ที่ 1 หาก โจทก์ ส่ง สินค้าของ โจทก์ ไป ต่างประเทศ ทาง ไปรษณีย์ ตาม ฟ้อง จริง จำเลย ที่ 2 ก็ไม่ ต้อง รับผิด ความ รับผิด ของ จำเลย ที่ 1 ตาม กฎหมาย และ กฎข้อบังคับ แห่ง อนุสัญญา สากล ไปรษณีย์ จำกัด จำนวน ไม่เกิน 3,950บาท จำเลย ที่ 2 ไม่ ต้อง รับผิด เกินกว่า จำเลย ที่ 1 กรรมสิทธิ์ ในสินค้า โอน ไป ยัง ลูกค้า แล้ว โจทก์ จึง ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม นาย สิทธิโชค ศรีเจริญ ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง แทน โจทก์ขอ ให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด ร้องสอด เข้า มา แทน ที่ โจทก์
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าเสียหาย รวม 4,098 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ฟ้อง จนกว่า จะชำระ เสร็จ แก่ ผู้ร้องสอด คดี สำหรับ จำเลย ที่ 2 ให้ ยก
โจทก์ และ ผู้ร้องสอด อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ และ ผู้ร้องสอด ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา วินิจฉัย ข้อ แรก ตาม คำแก้ ฎีกา ของจำเลย ที่ 2 ว่า โจทก์ มี สิทธิ ฎีกา หรือ ไม่ เห็นว่า การ ที่ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ผู้ร้องสอด เข้า แทนที่ โจทก์ นั้น เป็น การอนุญาต ให้ ผู้ร้องสอด มี สิทธิ ดำเนิน กระบวน พิจารณา เช่นเดียว กับโจทก์ เดิม ส่วน โจทก์ มี สิทธิ และ หน้าที่ อยู่ อย่างไร ก็ คง มี อยู่เช่นนั้น และ ต้อง ผูกพัน โดย คำพิพากษา ของ ศาล ทุก ประการ โจทก์ จึงมี สิทธิ ฎีกา ได้
ปัญหา วินิจฉัย ต่อไป ตาม ฎีกา ของ โจทก์ และ ผู้ร้องสอด มี ว่าจำเลย ที่ 1 จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เพียงใด โจทก์ และ ผู้ร้องสอดฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง รับผิด ชดใช้ สิ่งของ ที่ โจทก์ สูญหายตาม ราคา ที่ ได้ แจ้ง ไว้ ที่ ไปรษณียภัณฑ์ เป็น เงิน 42,000 เหรียญสหรัฐ คิด เป็น เงิน ไทย 863,940 บาท พิเคราะห์ แล้ว เห็น ว่า โจทก์บรรยาย ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ดำเนินการ ไปรษณีย์ มีหน้าที่ ตาม กฎหมาย ใน การ รับขนส่ง ไปรษณียภัณฑ์ ของ ผู้ ฝากส่ง ไปทั้ง ใน และ นอก ราชอาณาจักร โจทก์ ได้ จัดส่ง สินค้า ไป ทาง ไปรษณีย์อัน เป็น กิจการ และ ธุรกิจ ตาม กฎหมาย ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง มี วิธีการใน การ ฝากส่ง ตาม ระเบียบ ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 จึง มิใช่ผู้ ขนส่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 บัญญัติ ให้ บังคับ ตาม กฎหมายและ กฎ ข้อบังคับ สำหรับ ทบวงการ นั้น ซึ่ง มี พระราชบัญญัติ ไปรษณีย์พุทธศักราช 2477 และ พระราชบัญญัติ การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519บัญญัติ กำหนด อำนาจ หน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1 ไว้ เกี่ยวกับ การ ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์ จำเลย ที่ 1 ได้ มี ข้อบังคับ ออก ใช้ เรียกว่าไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ซึ่ง ออก ตาม ความ ใน มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 และ มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 ไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520ข้อ 131 ระบุ ว่า ไปรษณียภัณฑ์ แบ่ง ออก เป็น 5 ชนิด คือ จดหมายไปรษณียบัตร ของตีพิมพ์ พัสดุย่อย เครื่องอ่าน สำหรับ คน เสีย จักษุข้อ 141 ระบุ ว่า จดหมาย รับประกัน คือ จดหมาย ต่างประเทศ ที่ ทางการให้ ความ คุ้มครอง รักษา เป็น พิเศษ หาก ของ ที่ รับประกัน สูญหายหรือ เสียหาย ไป ทั้งหมด หรือ บางส่วน ใน ระหว่าง ส่ง ทาง ไปรษณีย์เพราะ ความผิด ของ ทางการ ทางการ ยินยอม ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ ตามราคา ที่ เป็นจริง ของ จดหมาย รับประกัน ที่ สูญหาย หรือ เสียหาย แต่ไม่เกิน จำนวน เงิน ที่ ขอ รับประกัน ไว้ ข้อ 143 ระบุ ว่า ไปรษณียภัณฑ์ ชนิด อื่นๆ ไม่ อนุญาต ให้ รับประกัน ข้อ 147 ห้าม ขอ รับประกันเกินกว่า ราคา แท้จริง ของ สิ่ง ที่ บรรจุ อยู่ แต่ จะ ขอ รับประกันน้อยกว่า ราคา แท้จริง ก็ ได้ และ ข้อ 146 ระบุ ว่า จำนวน เงิน ที่จะ ขอ ให้ รับประกัน อย่าง สูง ไม่เกิน 3,950 บาท หรือ 500 แฟรงค์ ทองต่อ จดหมาย 1 ฉบับ ข้อบังคับ ตาม ไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 จะเห็น ว่า สิ่งของ ที่ ฝากส่ง ทาง ไปรษณีย ภัณฑ์ รับประกัน มี เฉพาะจดหมาย รับประกัน เท่านั้น จดหมาย ที่ ขอ ให้ รับประกัน จะ จดแจ้ง ราคาหรือไม่ ก็ ได้ การ ขอ ให้ รับประกัน จะ เกินกว่า ราคา ที่ แท้จริงของ สิ่ง ที่ บรรจุ อยู่ ไม่ ได้ สิ่งของ ที่ บรรจุ อยู่ หาก มี ราคามากกว่า 3,900 บาท ขอ ให้ รับประกัน ได้ ไม่เกิน 3,950 บาท ข้อบังคับของ จำเลย ที่ 1 โจทก์ รู้ ดี อยู่ แล้ว ตาม คำเบิกความ ตอบ คำถาม ค้านของ นาย สิมา เศรษสุทธิ พยาน โจทก์ ซึ่ง เป็น พนักงาน ส่งของ ของ โจทก์ว่า จำเลย ที่ 1 รับประกัน ความ เสียหาย ไว้ สูงสุด เป็น เงิน 3,950บาท เนื่องจาก จำเลย ที่ 1 รับประกัน ความ เสียหาย ไว้ เป็น จำนวนดังกล่าว โจทก์ จึง เอา สินค้า ไป ประกัน กับ บริษัท ไพบูลย์ ประกันภัยจำกัด (ผู้ร้องสอด) อีก ทอดหนึ่ง โดย ประกัน เต็ม ราคา สินค้า อันเป็น การ ยอมรับ แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 จำกัด ความ รับผิด ที่ จะ ต้องชดใช้ เมื่อ สิ่งของ ที่ ฝากส่ง โดย จดหมาย รับประกัน สูญหาย เท่า ที่รับประกัน ตาม ข้อบังคับ เท่านั้น มิใช่ ราคา ตาม ที่ ระบุ ไว้ ตามมาตรา 29 แห่ง พระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 บัญญัติ ว่ากรม (จำเลย ที่ 1) จะ ต้อง รับผิด ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ใน การ ที่ไปรษณีย ภัณฑ์ ประกัน แตกหัก สูญหาย ใน ระหว่าง ส่ง ทาง ไปรษณีย์ ตามข้อบังคับ ที่ ใช้ อยู่ เวลา นั้น ความ รับผิด ของ จำเลย ที่ 1 ใน การใช้ ค่า สินไหม ทดแทน จึง ต้อง บังคับ ตาม ไปรษณีย นิเทศ พุทธศักราช2520 ข้อ 141 ส่วน มาตรา 30 เป็น บทบัญญัติ ให้ สันนิษฐาน ว่าไปรษณีย ภัณฑ์ มี ราคา ตาม ที่ ระบุ แจ้ง ราคา ไว้ ใน กรณี ที่ ต้องใช้ ราคา ของ ไปรษณีย ภัณฑ์ ที่ แตกหัก สูญหาย อัน มิใช่ ไปรษณีย ภัณฑ์รับประกัน กรณี ของ โจทก์ โจทก์ ได้ ฝากส่ง ประเภท ไปรษณีย ภัณฑ์รับประกัน โดย แจ้ง ขอ ประกัน ไปรษณีย ภัณฑ์ ของ โจทก์ ที่ ส่ง เป็นจำนวน เงิน 3,950 บาท และ เสีย ค่าธรรมเนียม ใน การ ฝากส่ง รวม ค่าธรรมเนียม เป็น เงิน 148 บาท เมื่อ รวมกับ เงิน ที่ โจทก์ ขอ ประกันกับ จำเลย ที่ 1 แล้ว เป็น เงิน 4,098 บาท ตาม เอกสาร หมาย จ.6 การ ที่โจทก์ ขอ ให้ จำเลย ที่ 1 ประกัน ไปรษณีย ภัณฑ์ ของ โจทก์ เป็น เงิน3,950 บาท เมื่อ ไปรษณีย ภัณฑ์ ที่ โจทก์ ส่ง สูญหาย ไป จำเลย ที่ 1ต้อง รับผิด ใช้ ค่า เสียหาย ให้ โจทก์ ตาม ที่ กำหนด ไว้ ในไปรษณีย นิเทศ ตาม ที่ ได้ รับประกัน ไว้ จาก โจทก์ รวม ค่าธรรมเนียมเป็น เงิน 4,098 บาท
ปัญหา วินิจฉัย ต่อไป มี ว่า จำเลย ที่ 2 ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า จำเลย ที่ 2 มิได้ รับ ขนส่ง ให้ โจทก์และ กรณี มิใช่ การ ขนส่ง หลาย ทอด หาก แต่ เป็น กรณี ที่ จำเลย ที่2 มี หน้าที่ ต้อง ขนส่ง ให้ จำเลย ที่ 1 ตาม พระราชบัญญัติ ไปรษณีย์พุทธศักราช 2477 มาตรา 48 ตาม ที่ จำเลย ที่ 1 กำหนด ให้ ส่ง ทั้งไม่ ได้ รับ แจ้ง ถึง สภาพ และ ราคา ของ ไปรษณีย ภัณฑ์ ที่ บรรจุ อยู่ใน ถุง ไปรษณีย์ ที่ จำเลย ที่ 1 ส่งมอบ ให้ และ ไม่ ปรากฏ ว่า สินค้าของ โจทก์ สูญหาย ไป จาก ที่ แห่ง ใด ถุง ไปรษณีย ภัณฑ์ ที่ จำเลย ที่2 รับ ไป จำเลย ที่ 2 ได้ ขนส่ง ไป ถึง ปลาย ทาง ใน สภาพ เรียบร้อยไม่ ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ใน การ ขนจน เป็น เหตุ ให้ ของ หาย จำเลย ที่ 2 ไม่ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์
พิพากษา ยืน.

Share