คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ปัญหาที่ว่า นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยที่ 4 ได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยที่ 4 ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 4 ระบุว่า “จำเลยที่ 4 ยินยอมคืนเงินดาวน์ จำนวน 3,500,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับว่า จำเลยที่ 5 ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ยอมรับแล้ว ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่ 4

Share