แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
สิทธิของโจทก์ตาม ประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่ ดีบุกมีเพียงที่พระราชบัญญัติแร่ฯมาตรา73บัญญัติไว้และการปักป้ายหลักเขตกับป้ายที่เขียนแสดงแนวเขตที่ประทานบัตรเป็นเพียงเครื่องหมายแสดงอาณาเขตให้ทราบโดยทั่วไปว่าเขตประทานบัตรมีอยู่แค่ไหนเพียงใดส่วนสิทธิในการเตรียมการทำเหมืองตามมาตรา58เป็นเพียงสิทธิที่จะกระทำการต่างๆตามที่ระบุไว้สำหรับข้อความตามมาตรา73(4)ที่ว่าผู้ถือประทานบัตรมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลในกรณีที่มีผู้โต้แย้งหรือขัดขวางสิทธิในการทำเหมืองก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะดำเนินการนำคดีขึ้นสู่ศาลในกรณีอื่นที่มิใช่ความผิดฐาน บุกรุกตามที่ฟ้องเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทตลอดมาและที่ดินตามประทานบัตรในส่วนที่จำเลยบุกรุกโจทก์ยังมิได้เปิดทำเหมืองเลยถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทแล้วจึงย่อมมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยและ ไม่มี อำนาจฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 91, 362, 365(2)(3)
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มีมูล ให้ ประทับ ฟ้อง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นพิจารณา และ พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติใน เบื้องต้น ว่า โจทก์ เป็น ผู้ถือ ประทานบัตร ใน ที่พิพาท เลขที่8634/12210, 8649/12218 และ 17516/12230 ให้ ทำเหมืองแร่ ดี บุกมี อายุ ประทานบัตร แปลง ละ 25 ปี โดย จะ สิ้น อายุ ประทานบัตร ใน ปี 2546ทั้ง 3 แปลง จำเลย เข้า ครอบครอง ที่พิพาท ทั้ง 3 แปลง อ้างว่า เป็น ที่ของ จำเลย ได้รับ การ ยกให้ จาก นาย ชม เพ็ชรชู มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ตาม พระราชบัญญัติ แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 73 บัญญัติ ว่า ผู้ถือประทานบัตร มีสิทธิ ใน เขต เหมืองแร่ เฉพาะ แต่ (1) ทำเหมือง และ ขาย แร่ฯลฯ (2) ปลูกสร้าง อาคาร หรือ กระทำการ อื่น เกี่ยวกับ การ ทำเหมือง ฯลฯ(3) ใช้ ที่ดิน ใน เขต เหมืองแร่ ที่ ขุด เอา แร่ แล้ว หรือ ที่ มี แร่ ไม่สมบูรณ์พอ ที่ จะ เปิด การ ทำเหมือง เพื่อ เกษตรกรรม ใน ระหว่าง อายุ ประทานบัตรแต่ ทั้งนี้ เมื่อ สิ้น อายุ ประทานบัตร แล้ว มิให้ ถือว่า เป็น การ ได้ มา ซึ่งสิทธิ ครอบครอง และ (4) นำ คดี ขึ้น สู่ ศาล ใน กรณี ที่ มี ผู้โต้แย้งหรือ ขัดขวาง สิทธิ ใน การ ทำเหมือง ศาลฎีกา เห็นว่า สิทธิ ของ โจทก์ตาม ประทานบัตร ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว มี เพียง สิทธิ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ นั้นเท่านั้น หา ได้ ทำให้ โจทก์ ได้ สิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ที่อยู่ ในเขต ประทานบัตร ด้วย ไม่ และ ทั้ง ตาม คำฟ้อง และ ทางนำสืบ ของ โจทก์ก็ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ เข้า ครอบครอง ที่พิพาท แต่อย่างใด การ ปัก ป้ายหลักเขต ของ ประทานบัตร รวมทั้ง ป้าย ที่ เขียน แสดง แนวเขต ที่ ประทานบัตรของ โจทก์ ก็ เป็น เพียง เครื่องหมาย แสดง อาณาเขต ให้ เป็น ที่ ทราบ โดย ทั่วไปว่า เขต ประทานบัตร ของ โจทก์ มี อยู่ แค่ไหน เพียงใด เท่านั้น มิได้หมายความ ว่า โจทก์ ได้ สิทธิ ครอบครอง หรือ เข้า ครอบครอง ที่พิพาทข้อเท็จจริง กลับ ได้ความ ตาม ที่ คู่ความ นำสืบ รับ กัน ว่า จำเลย เป็นผู้ครอบครอง ที่พิพาท มา ตั้งแต่ ปี 2529 ตลอดมา และ ที่ดิน ตาม ประทานบัตรใน ส่วน ที่ จำเลย บุกรุก นั้น โจทก์ ยัง มิได้ เปิด ทำเหมือง เลย เช่นนี้ถือไม่ได้ว่า โจทก์ ได้ เข้า ครอบครอง ที่พิพาท แล้ว ส่วน สิทธิ ของ โจทก์ใน การ เตรียม การ ทำเหมือง เช่น การ ปลูกสร้าง อาคาร ขุด ทางน้ำ ฯลฯให้ ถือว่า เป็น การ ทำเหมือง ตาม ความใน มาตรา 58 แห่ง พระราชบัญญัติ แร่พ.ศ. 2510 นั้น ก็ เป็น เพียง สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ กระทำการ ต่าง ๆตาม ที่ ระบุ ไว้ ดังกล่าว เท่านั้น มิได้ ทำให้ โจทก์ ได้ สิทธิ ครอบครองใน เขต ประทานบัตร ด้วย เช่นเดียวกัน เมื่อ โจทก์ ไม่ได้ เป็น ผู้ครอบครองที่พิพาท โจทก์ ก็ ย่อม มิใช่ ผู้เสียหาย โดย นิตินัย ใน ความผิด ฐาน บุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 365 โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง
สำหรับ ข้อความ ตาม มาตรา 73(4) ที่ ว่า ผู้ถือ ประทานบัตรมีสิทธิ นำ คดี ขึ้น สู่ ศาล ใน กรณี ที่ มี ผู้โต้แย้ง หรือ ขัดขวาง สิทธิใน การ ทำเหมือง นั้น ก็ เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ จะ ดำเนินการ นำ คดี ขึ้น สู่ ศาลใน กรณี อื่น ๆ ที่ มิใช่ ใน ความผิด ฐาน บุกรุก ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง เป็น คดี นี้ศาลชั้นต้น พิพากษา ชอบแล้ว ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายก คำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้ว ย้อนสำนวน ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษา ใหม่ ไม่ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง