คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219-220/2483

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ข้าหลวงปรำจังหวัดยักยอกเงินของรัฐบาลอุดหนุนเทศบาลซึ่งอยู่ในความครอบครองของตนนั้นเป็นผิดตามม.131
เขียนข้อความในใบรับลงวันย้อนหลังขึ้นไปผิดจากความจริงแล้วให้ผู้ออกใบรั้บเช็นนั้นผู้เขียนในมีผิดฐานปลอมหนังสือ
ความผิดฐานยักยอกโจทก์ระบุวันที่จำเลยรับเงินไปและวันที่จำเลยยืมเงินมาใช้แม้มิได้ระบุวันเวลาที่จำเลย
ยักยอกก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ในคดีที่จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์จะลงโทษจำเลยในบาทมาตราที่ศาลชั้นต้นไม่ลงโทษนั้นไม่ได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกจำเลย 2 กระทง กะทง 1 ๆ ไม่เกิน 5 ปี แม้ 2 กะทงรวมกันเกิน 5 ปี ก็ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

ย่อยาว

ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดมีหน้าที่บังคับบัญชากิจการและข้าราชการรวมทั้งเสมียนตราจังหวัดและควบคุมกิจการของเทศบาลเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๘๑ จำเลยเรียกเอาเงินของรัฐบาลในประเภทอุดหนุนเทศบาลไปจากเสมียนตราจังหวัด ๒๕๐๐ บาท จัดซื้อของให้เทศบาลเพียง ๑๐๒๘ บาท ๓ สตางค์นอกนั้นจำเลยยักยอกครั้นจำเลยถูกสอบสวนจำเลยได้นำเงินมาใช้แก่นายกเทศบาล ๙๘๕ บาท ๗ สตางค์ ยังขาดอยู่อีก ๔๘๖ บาท ๙๐ สตางค์ ในวันที่จำเลยนำเงินมาใช้แก่นายกเทศบาลดังกล่าวนั้นจำเลยได้เขียนใบสำคัญรับสิ่งของตามรายการในบัญชีและตัวเงิน ๙๘๕ บาท ๗ สตางค์ แล้วให้นายกเทศบาลลงนามเป็นผู้รับจำเลยเป็นผู้มอบเอกสารนี้ไม่ได้ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันทำเอกสารแต่ได้ลงวันย้อนขึ้นไปเป็นวันที่ ๒๓ ตุลาคมทั้งจำเลยได้บอกนายกเทศบาลลงบัญชีเงินของเทศบาลลงวันที่ ๒๓ ตุลาคม ตรงกับใบรับนั้นด้วยนายกเทศบาลได้ปฎิบัติตามที่จำเลยสั้งโจทก์แยกฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกสำนวนหนึ่งฐานปลอมหนังสือสำนวนหนึ่ง
ศาลจังหวัดตะกั่วปาวินิจฉัยว่า ในสำนวนแรกจำเลยมีผิดตามมาตรา ๑๓๑ และผิดตามมาตรา ๓๑๙(๓) อีกกะทงหนึ่ง ในสำนวนหลังจำเลยมีผิดฐานปลอมหนังสือตามมาตรา ๒๒๙,๒๓๐ ให้จำคุกสำนวนแรกตามมาตรา ๑๓๑ ซึ่งเป็นบทหนักมีกำหนด ๑ ปี ในสำนวนหลังตามมาตรา ๒๒๙,๒๓๐ มีกำหนด ๕ ปี
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในสำนวนแรกส่วนสำนวนหลังเห็นว่าจำเลยมีผิดตามมาตรา ๒๒๙และ๒๒๖ แต่ไม่มีผิดตามมาตรา ๑๓๑ เพราะจำเลยมิได้จดข้อความเท็จปลอมในบัญชีเอง จึงพิพากษาแก้ฉะเพาะการวางบทลงโทษส่วนกำหนดโทษคงเดิม
จำเลยฎีกาสำหรับข้อที่จำเลยคัดค้านว่าฟ้องเคลือบคลุมนั้น ศาลฏีกาเห็นว่าแม้ฟ้องของโจทก์ ไม่ได้กล่าวถึงวันเวลาที่ จำเลยทำการยักยอก แต่ โจทก์ได้กล่าวถึงวันที่ จำเลยรับเงินไป และวันที่ จำเลยยืมเงินมาใช้ ย่อมเป็นการเพียงพอตามความหมายในมาตรา ๑๕๘(๕) แห่ง วิธีพิจารณา แล้วเพราะทรัพย์อยู่ในความปกครองของ จำเลย จำเลยจะยักยอกไปเมื่อไรเป็นการยากที่จะรู้
สำหรับความผิดตามมาตรา ๒๒๙ นั้นเห็นว่าจำเลยไม่มีผิด เพราะเอกสารนั้นนายกเทศบาลทำเป็นใบรับให้ จำเลยถือไว้หาใช่เอกสารของ จำเลยไม่ จำเลยเป็นเพียงผู้เขียนเท่านั้น นายกเทศบาลเป็นผู้ลงนาม จำเลย มิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารนั้นในภายหลัง จึงไม่เป็นผิดตามมาตรา ๒๒๙
ส่วนความผิดตามมาตรา ๒๒๖ นั้นศาลชั้นต้นยกฟ้อง โจทก์ไม่ อุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นว่าความผิดในกะทงโทษตามมาตรานี้ย่อมยุตติ ศาลอุทธรณ์จะ ลงโทษ จำเลยในมาตรานี้ไม่ได้ ส่วน ฎีกาข้ออื่น ๆ ของ จำเลยเป็นข้อเท็จจริงต้องห้าม จึง พิพากษาแก้ ศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง โจทก์ในสำนวนหลัง

Share