คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2478

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

กล่าววาจาใส่ร้ายหมิ่นประมาทผู้พิพากษาเพราะเหตุที่ได้กระทำการตามหน้าที่ แม้จะกล่าวเมื่อพ้นจากที่ได้กระทำตามหน้าที่แล้ว ก็ต้องมีผิดตาม ม.116 ทั้งเป็นผิดตาม ม.282 ด้วย แต่ไม่เป็นผิดตาม ม.136 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง หน้าที่นำสืบ คำกล่าวที่เป็นผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ม.282 นั้น เพียงแต่อาจทำให้เจ้าทุกข์เสียขื่อเสียงหรือทำให้คนทั้งหลายดูหมิ่นหรือเกลียดชังก็ต้องเป็นผิดฐานนี้ โจทก์หาจำต้องสืบว่าเจ้าทุกข์ได้รับความเสียชื่อเสียงอย่างใดไม่ กล่าวใส่ร้ายว่าผู้พิพากษากินไข่ โจทก์นำสืบว่าหมายความถึงกินินบนจำเลยต้องมีผิดฐานหมิ่นประมาทกะทงโทษ กล่าวคำหมิ่นประมาท 2 คราวแต่ละคราวเป็นผิดตาม ม.116-282 ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในบทที่หนักตามมาตรา 282 -70-71 ได้ ฎีกาอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงเจตนาหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง

ย่อยาว

จำเลยซึ่งเป็นทนายความได้ให้ ฮ.ยื่นคำร้องขอประกันตัว น.ต่อ ส.ผู้พิพากษาซึ่งทำการพิจารณาคดี ส.สั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ครั้นตอนเย็นจำเลยก็พา ฮ.ไปหา ส. ณ ที่พักอีก ส.ไม่ยอมพบ จำเลยแล ฮ.จึงกลับไป ขณะยังไม่ถึงห้องจำเลย ๆ พูดว่า “วันนี้ซวยพาแขกไปที่บ้านอ้ายสอาดไม่รับ ดีแต่กดขี่ราษฎร กินสินบน ” แลเมื่อไปถึงห้องจำเลยยังได้พูดกับ ฮ.อีกว่า “อ้ายสอาดจองห้องพัก กูพานายไปหามันยังไม่ออกมารับ ฯลฯ ถ้ามันจะกินไข่ของเขาเข้าไปมันจึงไม่ให้ประกัน ” ซึ่งหมายความว่ารับสินบน
ศาลเดิมตัดสินว่าจำเลยมีผิดตาม ม.๑๓๖ แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง แลกฎหมายลักษณอาญามาตรา ๑๑๖ ให้จำคุก ๘ เดือน
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยไม่ได้หมิ่นประมาทผู้พิพากษาในขณะกำลังกระทำการตามหน้าที่ในศาล แต่จำเลยมีผิดฐานหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ตาม ม.๑๑๖ แลฐานกล่าววาจาใส่ความหมิ่นประมาท ตาม ม.๒๘๒ จึงพิพากษาให้จำคุกจำเลย ๔ เดือน
ศาลฎีกาเห็นว่าข้อที่ จำเลยฎีกาว่าคำว่า “กินไข่เข้าไปไม่เป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทนั้น มีพะยานหลายคนที่ได้ยินจำเลยกล่าวค่าหมิ่นประมาทแลเข้าใจคำว่า “กินไข่” หมายความว่ากินสินบน โจทก์หาต้องสืบว่าได้รับความเสียชื่อเสียงทำให้คนทั้งหลายดูหมิ่นหรือเกลียดชัง เพียงแต่อาจเป็นดังนั้นก็ลงโทษได้ตาม ม.๒๘๒ แลข้อที่ว่าไม่มีเจตนาร้ายก็เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งต้องฟังตามศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยเจตนาร้ายใส่ความ แลข้อที่จำเลยว่าจำเลยกล่าวคำหมิ่นประมาทในเวลาที่ ส.พ้นจากหน้าที่พนักงานแล้วเห็นว่าจะกล่าวเวลาใดไม่สำคัญ แลเห็นว่าถ้อยคำที่จำเลยกล่าวเป็นหมิ่นประมาทโดยดูถูกแลใส่ความทั้ง ๒ ประการ จึงมีผิดตามมาตรา ๒๘๒ แล ๑๑๖ ทั้ง ๒ บท และจำเลยได้กล่าวคำหมิ่นประมาท ๒ คราว ระวางทางคราวหนึ่ง แลเมื่อไปถึงห้องจำเลยอีกคราวหนึ่ง เพราะฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ให้ลงโทษจำเลยในบทที่หนักคือ มาตรา ๒๘๒ เป็นการชอบด้วยมาตรา ๗๐ – ๗๑ แล้ว จึงพิพากษายืนตาม
นข้อที่จะหลดพน

Share