คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522แต่นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดัดแปลงต่อเติมอาคารหลังจากวันที่31ตุลาคม2522แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าหลังจากจำเลยได้รับคำสั่งจากโจทก์ให้ระงับการก่อสร้างและให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมแล้วจำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวรวมทั้งจำเลยได้ให้การรับสารภาพเมื่อถูกฟ้องที่ศาลแขวงพระนครเหนือจนศาลพิพากษาปรับจำเลยเป็นเงิน500บาทก็หาทำให้ข้อเท็จจริงผูกพันจำเลยว่าจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารหลังจากวันที่31ตุลาคม2522ไม่โจทก์จึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522กรณีไม่ต้องวินิจฉัยปรับบทกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479เพราะพยานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ดัดแปลงต่อเติมอาคารในระหว่างที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับอยู่. ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าการชี้ขาดคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามส่วนอาญานั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น เจ้าของ ผู้ ครอบครอง อาคาร ได้ ดัดแปลงต่อเติม อาคาร ดังกล่าว โดย ไม่ ได้ รับ อนุญาต และ เป็น การ ฝ่าฝืนข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เป็น กรณี ไม่ สามารถ แก้ไข หรือ เปลี่ยนแปลงและ ออก ใบอนุญาต ให้ ได้ โจทก์ ดำเนินคดี กับ จำเลย จน ศาลแขวงพระนครเหนือ พิพากษา ปรับ จำเลย 500 บาท และ โจทก์ ได้ มี คำสั่ง ให้จำเลย ระงับ การ ก่อสร้าง กับ ให้ รื้อถอน จำเลย ทราบ คำสั่ง แล้ว ไม่ปฏิบัติ ตาม และ มิได้ อุทธรณ์ คำสั่ง ขอ ให้ ศาล พิพากษา ให้ จำเลยรื้อถอน อาคาร ส่วน ที่ ปลูกสร้าง ต่อเติม หาก จำเลย ไม่ ยอม รื้อถอนก็ ให้ โจทก์ รื้อถอน ได้ เอง ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่ ได้ เป็น ผู้ ทำการ ก่อสร้าง ต่อเติม อาคาร ไม่เคย ได้ รับ คำสั่ง ของ โจทก์ และ ส่วน ที่ ต่อเติม ไม่ ได้ ก่อให้ เกิด ความเสียหาย และ ไม่ ได้ ขัด ต่อ เจตนารมณ์ ของ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง ไม่ ได้ ว่า จำเลย เป็นผู้ ก่อสร้าง ต่อเติม อาคาร แต่ จำเลย เป็น เจ้าของ ผู้ ครอบครอง อาคารซึ่ง ต่อเติม ขัดต่อ ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร จึง ต้อง รื้อถอน อาคารส่วน ที่ ต่อเติม
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ศาลชั้นต้น หยิบยก พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ขึ้น วินิจฉัย เป็น การ ไม่ ชอบเพราะ เป็น การ วินิจฉัย นอก คำฟ้อง และ เมื่อ ข้อเท็จจริง ปรากฏ ว่าการ ก่อสร้าง ต่อเติม ได้ กระทำ ก่อน พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้ บังคับ ก็ ไม่ อาจ นำ พระราชบัญญัติ ดังกล่าว มา ย้อนหลัง ใช้บังคับ ได้ พิพากษา กลับ ยกฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘โจทก์ ฎีกา เป็น ประการแรก ว่า โจทก์ นำสืบ รับฟัง ได้ ว่า จำเลย ได้ เป็น ผู้ ดัดแปลง ต่อเติม อาคาร ดังกล่าว ภายหลังจาก ที่ ซื้อ อาคาร พิพาท แล้ว คือ ภายหลัง วันที่ 31 ตุลาคม 2522 อันเป็น การ ฝ่าฝืน ต่อ พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้ ความ จากนาย ไกรสีห์ หล่ำวิไวเกษร นายช่างโยธา เขตพญาไท ซึ่ง เป็น พยาน โจทก์เพียง คนเดียว ว่า เมื่อ เจ้าหน้าที่ ของ โจทก์ ตรวจพบ นั้น อาคาร พิพาทได้ ดัดแปลง ต่อเติม เสร็จแล้ว แต่ ใคร จะ เป็น คน ดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ไม่ ทราบ ทั้ง ไม่ ทราบ ว่า ขณะ จำเลย ซื้อ อาคาร พิพาท ได้ มีการ ดัดแปลง ต่อเติม แล้ว หรือไม่ ข้อเท็จจริง จึง ยัง รับ ฟัง ไม่ ได้ว่า จำเลย เป็น ผู้ ดัดแปลง ต่อเติม อาคาร หลังจาก วันที่ 31 ตุลาคม2522 ดัง ที่ โจทก์ ฎีกา และ แม้ จำเลย จะ ไม่ ได้ นำ นาย วิเชียรผู้ขาย อาคาร พิพาท มา เบิกความ เป็น พยาน หรือ แม้ ข้อเท็จจริง จะ ได้ความ ว่า หลังจาก จำเลย ได้ รับ คำสั่ง จาก โจทก์ ให้ ระงับ การก่อสร้าง และ ให้ รื้อถอน อาคาร ส่วน ที่ ดัดแปลง ต่อเติม แล้ว จำเลยไม่ ได้ อุทธรณ์ คำสั่ง ดังกล่าว (หมายถึง อุทธรณ์ คำสั่ง ต่อคณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์) รวมทั้ง จำเลย ได้ ให้การ รับสารภาพ เมื่อถูก ฟ้อง ที่ ศาลแขวงพระนครเหนือ จน ศาล พิพากษา ปรับ จำเลย เป็น เงิน500 บาท ก็ ตาม ก็ หา ทำ ให้ ข้อเท้จจริง ดังกล่าว ผูกพัน จำเลย ว่าจำเลย ได้ ทำ การ ดัดแปลง ต่อเติม อาคาร หลังจาก วันที่ 31 ตุลาคม 2522ดัง โจทก์ ฎีกา ไม่ ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า การ ชี้ขาด คดี ส่วนแพ่งใน ดคี นี้ ศาล ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม คดี ส่วน อาญา นั้น เห็นว่าปัญหา ข้อกฎหมาย ดังกล่าว โจทก์ ไม่ ได้ ยก ขึ้น อ้าง ใน ชั้น อุทธรณ์จึง เป็น ข้อ ที่ ไม่ ได้ ยก ขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกา ไม่ รับ วินิจฉัย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 ดังนั้น โจทก์ จึง ไม่ อาจ ขอ ให้ บังคับ จำเลย ปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้ ตาม ฎีกา ของ โจทก์ โจทก์ ฎีกาประการ ต่อมา ว่า ศาล ชอบ ที่ จะ ปรับ ความผิด ของ จำเลย ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 อัน เป็น การปรับ ใช้ บท กฎหมาย ให้ ถูกต้อง เห็นว่า จาก คำเบิกความ ของ นาย ไกรสีห์ พยาน โจทก์ ยัง รับ ฟัง ไม่ ได้ ว่า จำเลย ได้ ดัดแปลง ต่อเติม อาคารใน ระหว่าง ที่ พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ใช้ บังคับ อยู่ คือ ก่อน ที่พระราชบัญญติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะ มี ผล ใช้ บังคับ ใน วันที่ 15พฤษภาคม 2522 เมื่อ โจทก์ นำสืบ ไม่ ได้ ดังกล่าว จึง ไม่ จำต้องวินิจฉัย ว่า ได้ มี การ ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ ควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 และ จำเลย อาจ ถูก บังคับ ให้ ปฏิบัติ ตาม บท กฎหมายที่ กล่าว แล้ว ได้ หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ ยกฟ้อง โจทก์ ฎีกา โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน ค่าฤชา ธรรมเนียม ชั้น ฎีกา ให้ เป็น พับ’

Share