คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์จำเลยให้การแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองโดยป.พี่ชายของจำเลยยกให้จำเลยทั้งสองได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาโดยจำเลยหาได้อ้างว่าได้ที่พิพาทมาโดยการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาถึงสิบปีไม่แม้จำเลยจะให้การต่อไปว่าที่ดินที่จำเลยเข้าทำนาทั้งหมดเป็นของจำเลยจำเลยเข้าทำนามา20ปีเศษแล้วโดยโจทก์ไม่เคยคัดค้านหรือโต้แย้งเลยก็เป็นข้อความที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปทำนาในที่พิพาทและเป็นการยืนยันคำให้การในตอนต้นว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยมิใช่เป็นการตั้งประเด็นการครอบครองปรปักษ์แต่อย่างใดเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยจึงหามีความหมายว่าจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์รวมอยู่ด้วยไม่การที่จำเลยนำสืบและศาลวินิจฉัยว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382จึงนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงต้องวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยตามความหมายที่ถูกต้อง.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สาม เป็น เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3412จำเลย ทั้ง สอง ได้ บุกรุก เข้า ไป ทำนา ใน ที่ดิน ของ โจทก์ เนื้อที่16 ไร่ อัน เป็น การ ละเมิด และ ทำ ให้ โจทก์ เสียหาย เป็น เงิน ปีละ6,000 บาท ขอ ศาล พิพากษา ขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร ออก ไป จากที่ดิน และ ห้าม เข้า มา เกี่ยวข้อง อีก และ ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่โจทก์ ปี ละ 6,000 บาท นับแต่ วัน ฟ้อง จนกว่า จะ ออก ไป จาก ที่ดิน
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า ที่ พิพาท เป็น ของ จำเลย ทั้ง สอง โดย ป.พี่ชาย ของ จำเลย ยก ให้ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ครอบครอง และ ทำ ประโยชน์ตลอด มา 20 ปี แล้ว โดย โจทก์ ไม่ เคย คัดค้าน หรือ โต้แย้ง สิทธิ ของจำเลย มา ก่อน โจทก์ ไม่ ได้ รับ ความ เสียหาย ตาม ฟ้อง ค่าเสียหาย ไม่เกิน ปีละ 3,000 บาท ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ครอบครอง ที่ พิพาท อย่างเป็น เจ้าของ มา กว่า 10 ปี แล้ว จำเลย ทั้ง สอง จึง ได้ กรรมสิทธิ์ โดยการ ครอบครอง ปรปักษ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382พิพากษา ให้ ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ใน ประเด็น ที่ ว่า ที่ พิพาท เป็นของ โจทก์ หรือ ของ จำเลย นั้น จำเลย ให้การ มี สาระ สำคัญ แต่ เพียงว่า ที่ พิพาท ตาม ฟ้อง เป็น ของ จำเลย ทั้ง สอง จำเลย ทั้ง สอง ได้ มาโดย นาย เปรื่อง พี่ชาย ของ จำเลย ที่ 2 ยก ให้ จำเลย ที่ 2 เมื่อ23 ปี ล่วง มา แล้ว แล้ว จำเลย ทั้ง สอง ได้ ครอบครอง ทำ ประโยชน์ตลอด มา จำเลย หา ได้ อ้าง ว่า ได้ ที่ พิพาท มา โดย การ ครอบครองทรัพย์สิน ของ ผู้อื่น ไว้ โดย ความสงบ และ เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็นเจ้าของ เป็น เวลา ติดต่อ กัน เป็น เวลา ถึง สิบ ปี ไม่ แม้ จำเลยให้การ ต่อไป ว่า ที่ดิน ที่ จำเลย ทั้ง สอง เข้า ทำนา ทั้งหมด เป็นที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สอง จำเลย ทั้ง สอง ได้ เข้า ทำนา มา 20 ปีเศษแล้ว โดย โจทก์ ทั้ง สาม ไม่ เคย คัดค้าน หรือ โต้แย้ง สิทธิ ของ จำเลยทั้ง สอง มา ก่อน เลย ก็ ตาม แต่ ก็ เป็น ข้อความ ที่ ปฏิเสธ ฟ้อง โจทก์ที่ ว่า จำเลย ทั้ง สอง บุกรุก เข้า ไป ทำนา ใน ที่ พิพาท เมื่อ เดือนพฤษภาคม 2524 และ เป็น การ ยืนยัน คำให้าการ ตอนต้น ที่ ว่า ที่ พิพาทเป็น ของ จำเลย เท่านั้น มิใช่ เป็น การ ตั้ง ประเด็น การ ครอบครองปรปักษ์ แต่ อย่างใด การ ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ไว้ ว่า ที่พิพาท ตาม แผนที่ กรอบ สีแดง เป็น ของ โจทก์ หรือ ของ จำเลย จึง หา มีความหมาย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ครอบครอง ที่ พิพาท โดย ปรปักษ์ รวมอยู่ ด้วย ไม่ การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง นำสืบ และ ศาลล่าง ทั้ง สองวินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ พิพาท มา โดย การครอบครอง ปรปักษ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จึง นอกประเด็น เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา จะ วินิจฉัย ปัญหา ว่า ที่พิพาท เป็นของ โจทก์ หรือ จำเลย ตาม ความหมาย ที่ ถูกต้อง ต่อไป ปรากฏ ตาม แผนที่พิพาท ที่ จ่าศาล ทำ ขึ้น ตาม ที่ คู่ความ นำชี้ ว่า รูป ที่ดิน ภายในเส้น สีดำ ที่ โจทก์ นำ ชี้ มี ลักษณะ เหมือนกับ แผนที่ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 3412 ของ โจทก์ โดย ที่ พิพาท ภายใน เส้น สีแดง เนื้อที่ 13 ไร่1 งาน 48 ตารางวา อยู่ ภายใน เส้น สีดำ นี้ ส่วน ที่ดิน ตาม ส.ค.1เอกสาร หมาย ล.1 เนื้อที่ 14 ไร่ 25 ตารางวา ของ จำเลย ที่ ได้ มา จากนาย เปรื่อง ยก ให้ นั้น หาก รวม ที่ พิพาท เข้า ไป ด้วย ก็ จะ มีเนื้อที่ ถึง 29 ไร่เศษ จึง เห็น ได้ ว่า ที่ดิน ตาม ส.ค.1 ของ จำเลยคือ ที่ดิน ภายใน เส้น สีม่วง เนื้อที่ 16 ไร่ 80 ตารางวา ที่ อยู่ ทางทิศเหนือ ของ ที่ พิพาท หา รวม ที่ พิพาท ด้วย ไม่ ศาลฎีกา จึง เชื่อว่า ที่ พิพาท เป็น ของ โจทก์ สำหรับ ประเด็น ที่ ว่า โจทก์ ได้ รับความเสียหาย มากน้อย เพียงใด ศาลล่าง ทั้ง สอง ยัง มิได้ วินิจฉัยศาลฎีกา เห็น สมควร วินิจฉัย ไป ทีเดียว โดย ไม่ ย้อน สำนวน แล้ววินิจฉัย ว่า การ ที่ จำเลย เข้า ทำนา พิพาท ทำให้ โจทก์ เสียหาย ปีละประมาณ 1,000 บาท
พิพากษา กลับ ให้ ขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง กับ บริวาร ออก ไป จาก ที่พิพาท และ ห้าม เข้า เกี่ยวข้อง อีก ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สาม เป็น เงิน ปีละ 1,000 บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ออก ไป จาก ที่ พิพาท.

Share