คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2536

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2434มาตรา 18(2) มีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นพนักงาน รัฐวิสาหกิจได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่อง เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ก็ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจพิจารณา คำร้องทุกข์นั้นได้ แต่หาได้มีความหมายว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่ได้ ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์แล้วโจทก์ทั้งหกจะนำคดีมาฟ้อง ศาลไม่ได้ ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของ สิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสอง บัญญัติว่า “การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่รัฐวิสาหกิจให้ ออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่พนักงานไม่ได้ กระทำความผิดตามข้อ 46 ฯลฯ” ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณี ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติตาม พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯหรือเพราะเกษียณอายุแต่อย่างใด การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งหกออกจากงาน เมื่อโจทก์ทั้งหกมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์หรือเกษียณอายุ จึงต้องถือ ว่าเป็นการเลิกจ้างตาม ข้อ 45 วรรคสอง ดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้กำหนด ล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งหยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใดตามที่กำหนดใน ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิ ประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิ โดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุด พักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 21 เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องโดยมิได้ อ้างเหตุผลความเห็นธรรมแก่คู่ความแต่ประการใด ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไข

ย่อยาว

โจทก์ทั้งหกสำนวนฟ้องว่า โจทก์ทั้งหกเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกเนื่องจากเกษียณอายุ ในการทำงาน จำเลยกำหนดระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปีว่าพนักงานที่ทำงานติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละ 12 วัน หากปีใดหยุดไม่ครบก็มีสิทธินำวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปสะสมหยุดในปีถัดไปได้แต่ทั้งนี้รวมแล้วต้องไม่เกิน 20 วัน ปรากฏว่าจำเลยไม่ได้กำหนดให้โจทก์ทั้งหกหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแต่จำเลยไม่จ่าย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ทั้งหกตามฟ้อง
จำเลยทั้งหกสำนวนให้การว่า จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจโจทก์ทั้งหกพ้นจากตำแหน่งในขณะที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งให้อำนาจคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กำหนดมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 21 ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อได้เลิกจ้างพนักงานโดยที่พนักงานมิได้มีความผิดตามข้อ 46 จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งหก โจทก์ทั้งหกไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยไม่ได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีเพราะให้สิทธิโจทก์ทั้งหกจะลาวันใดก็ได้ แต่โจทก์ทั้งหกไม่ใช่สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีด้วยความสมัครใจเอง การฟ้องเรียกค่าจ้างดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งหกไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ เนื่องจากระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 50 กำหนดให้รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานของสิทธิประโยชน์เสนอปัญหาต่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 9,888 บาท โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 8,668 บาท โจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 4,418 บาท โจทก์ที่ 4เป็นเงิน 5,795 บาท โจทก์ที่ 5 เป็นเงิน 6,524 บาท และโจทก์ที่ 6เป็นเงิน 7,979 บาท
จำเลยทั้งหกสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดที่บังคับว่าโจทก์ทั้งหกจะต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ดังที่จำเลยอุทธรณ์กล่าวอ้างแต่อย่างใดสำหรับมาตรา 18(2) ที่บัญญัติว่า “ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2) พิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงาน หรือของสมาคมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตามหลักทั้งหกได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ก็ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์นั้นได้แต่หาได้มีความหมายว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์แล้วโจทก์ทั้งหกจะนำคดีมาฟ้องศาลไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อไปว่า การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งหกออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิใช่การเลิกจ้าง แต่เป็นการให้ออกจากงานเพราะผลบังคับของกฎหมาย คือพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และการที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 21 ศาลฎีกาเห็นว่าระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสอง บัญญัติว่า “การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงานโดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 ฯลฯ” ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ หรือเพราะเกษียณอายุแต่อย่างใดดังนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งหกออกจากงานเมื่อโจทก์ทั้งหกมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์หรือเกษียณอายุ จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามข้อ 45 วรรคสองดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น เห็นว่าจำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งหกหยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใดตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 21 อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ก็ฟังไม่ขึ้น แต่เนื่องจากคดีนี้โจทก์ที่ 2 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากจำเลยเพียง 7,531 บาท และศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 8,668 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องโดยศาลแรงงานกลางมิได้อ้างเหตุผลความเป็นธรรมแก่คู่ความแต่ประการใดไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 7,531 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

Share