คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192-193/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เมื่อการกระทำของลูกจ้างเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานนายจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องได้ทั้งสองทางสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10ปีนายจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงยังไม่ขาดอายุความ.

ย่อยาว

คดี สอง สำนวน นี้ ศาลแรงงาน พิจารณา พิพากษา รวมกัน
โจทก์ สำนวน แรก ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น พนักงาน ของ โจทก์ มี ตำแหน่งเป็น ผู้จัดการ เหมืองแร่ ภูเก็ต เมื่อ ระหว่าง เดือน พฤษภาคม ถึงตุลาคม 2524 จำเลย จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ทำ ให้ โจทก์ เสียหายคือ จำเลย นำ ประตูน้ำ ออก ไป จาก เหมือง เพื่อ จำหน่าย แล้ว นำ กลับมาเก็บ ไว้ เป็นเหตุ ให้ ประตูน้ำ ชำรุด เสียหาย เป็น เงิน 6,760 บาทและ จำเลย ขออนุมัติ ซื้อ ไม้โกโบ้ภูเขา โดย วิธี พิเศษ แต่ จำเลยซื้อ มา ใน ราคา แพงกว่า ราคา ปกติ รวม เป็น เงิน 58,000 บาท สำนวนหลังโจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ทำ บันทึก ขอ เปลี่ยน แผนผัง โครงการ ส่อ ไปใน ทาง ทุจริต อ้างว่า การ ทำ เหมืองแร่ ต่อไป จะ ไม่ มี ขุนน้ำ ใสต้อง นำ มูลดินทราย ไป ทิ้ง ใน ที่ ของ เอกชน โจทก์ หลง เชื่อ จึงอนุมัติ ให้ จำเลย ดำเนินการ ตั้ง ท่อ ส่งทราย ดังกล่าว เสีย ค่าใช้จ่ายไป 45,305 บาท ขอ ให้บังคับ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย ดังกล่าว พร้อมด้วยดอกเบี้ย
จำเลย ทั้งสอง สำนวน ให้การ ว่า เกี่ยวกับ พัสดุ มี เจ้าหน้าที่รับผิด ชอบ อยู่ แล้ว ถ้า มี ความ เสียหาย ย่อม เป็น ความผิด ของหัวหน้า งานพัสดุ เรื่อง ไม้โกโบ้ ภูเขา จำเลย จัดซื้อ ถูกต้อง ตามระเบียบ แล้ว และ การ บันทึก ขอ เปลี่ยน แผนผัง โครงการ ทำ เหมืองแร่จำเลย มิได้ จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ทำ ให้ โจทก์ เสียหาย โจทก์ทราบ เหตุ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้ ละเมิด นับ ถึง วันฟ้อง เกิน 1 ปีคดี ขาด อายุความ ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย ใน การ ทำ ให้ประตูน้ำ เสียหาย 1 ตัว เป็น เงิน 3,380 บาท ค่าเสียหาย ใน การซื้อ ไม้โกโบ้ แพงกว่า ความ เป็นจริง 50,000 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์ คำขอ อื่น ให้ ยก
จำเลย ทั้งสอง สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ปัญหา ข้อ กฎหมาย ว่า จำเลย อุทธรณ์ว่า คดี โจทก์ ขาด อายุความ 1 ปี แล้ว เพราะ การ กระทำ ของ จำเลยเป็น ละเมิด มิใช่ ผิด สัญญา จ้างแรงงาน นั้น ปัญหา ข้อนี้ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย รับผิด ฐาน ละเมิดและ ผิด สัญญา จ้างแรงงาน ซึ่ง โจทก์ ย่อม มี สิทธิ ฟ้อง ได้ ทั้งสองทาง สิทธิ เรียกร้อง ค่าสินไหม ทดแทน เพื่อ ความ เสียหาย อัน เกิด แต่สัญญา จ้างแรงงาน ไม่ มี กฎหมาย กำหนด อายุความ ไว้ เป็น อย่างอื่นจึง มี อายุความ 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีของ โจทก์ ไม่ ขาด อายุความ ศาลฎีกา พิจารณา แล้ว เห็นว่า การ กระทำของ จำเลย ตาม ฟ้อง ถือ ได้ ว่า เป็น ทั้ง ละเมิด และ ผิด สัญญาจ้างแรงงาน ด้วย มิใช่ ว่า เป็น มูล ละเมิด แล้ว จะ ไม่ ทำ ให้ เป็นผิด สัญญา จ้างแรงงาน ก็ หา ไม่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ชอบ แล้ว
พิพากษายืน.

Share