แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแม้จำเลยไม่จำต้องอ้างตัวบทกฎหมายว่าขาดอายุความตามบทมาตราใดก็ตามแต่จำเลยต้องให้การโดยแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฎว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใดนับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีขาดอายุความไปแล้วเมื่อจำเลยมิได้กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฎคำให้การของจำเลยจึง ไม่มี ประเด็นในเรื่อง อายุความ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ จำเลย กับ บุคคลอื่น ได้ ร่วมเล่นแชร์ 1 วง รวม 23 มือ มือ ละ 300 บาท จำเลย มี หน้าที่ ต้อง นำ เงินจาก ลูกวงแชร์ ทุกคน มา มอบ ให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง มี สิทธิ์ ใน งวด รอง สุดท้ายและ งวด สุดท้าย แต่ จำเลย ไม่ยอม นำ เงิน มา มอบ ให้ ต่อมา วันที่ 22 กันยายน2526 จำเลย ได้ ทำ บันทึก ยอมรับ ว่า เป็น หนี้ โจทก์ อยู่ จำนวน 17,900 บาทและ จำเลย ไม่ยอม นำ เงิน มา ชำระ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้บังคับ จำเลย ชำระ เงินต้น และ ดอกเบี้ย เป็น เงิน 24,612 บาท พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 17,900 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า เมื่อ ปี 2524 จำเลย ได้ เป็น ผู้ ตั้ง วงแชร์ จริงแต่ โจทก์ ได้ ประมูล แชร์ และ ได้รับ เงิน ไป ครบถ้วน แล้ว ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ บันทึก เอกสาร ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ มิใช่ เป็น หนังสือ รับสภาพหนี้เรื่อง แชร์ แต่ เป็น หลักฐาน ที่ จำเลย ให้ แก่ โจทก์ ไว้ ใน การ ที่ โจทก์ นำเงิน มา ชำระหนี้ เงินกู้ ยืม จาก จำเลย ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 24,612 บาท แก่โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 17,900 บาท นับ ถัดจาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา โดย ได้รับอนุญาต จาก ศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม อุทธรณ์ จำเลย ใน ประเด็น เรื่อง อายุความ และ หนังสือรับสภาพหนี้ จำเลย อุทธรณ์ โต้แย้ง คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ใน เรื่องอายุความ ว่า จำเลย ไม่ต้อง บรรยาย รายละเอียด ใน คำให้การ ถึง เหตุแห่ง การ ขาดอายุความ ใน ข้อ ไหน อย่างไร และ ไม่จำต้อง อ้าง ตัว บท กฎหมายรวมทั้ง มาตรา ว่า ขาดอายุความ ใน บท มาตรา ใด เพราะ คำฟ้อง และคำให้การ จำเลย มี ข้อความ ชัดแจ้ง อยู่ แล้ว การ จะ ปรับ บท กฎหมาย ใดศาล เป็น ผู้วินิจฉัย เอง ศาลฎีกา โดย มติ ที่ ประชุมใหญ่ เห็นว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง กำหนดให้ จำเลย แสดง โดยชัดแจ้ง ใน คำให้การ ว่า จำเลย ยอมรับ หรือ ปฏิเสธข้ออ้าง ของ โจทก์ ทั้งสิ้น หรือ แต่ บางส่วน รวมทั้ง เหตุ แห่ง การ ปฏิเสธนั้น ด้วย จริง อยู่ แม้ จำเลย ไม่จำต้อง อ้าง ตัว บท กฎหมาย ว่า ขาดอายุความตาม บท มาตรา ใด ก็ ตาม แต่ ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าว ข้างต้นนอกจาก จำเลย จะ ต้อง แสดง โดยชัดแจ้ง ใน คำให้การ ว่า จำเลย ยอมรับ หรือ ปฏิเสธ ข้ออ้าง ของ โจทก์ ทั้งสิ้น หรือ แต่ บางส่วน แล้ว จำเลยต้อง ให้การ โดย แสดง เหตุ แห่ง การ ขาดอายุความ ให้ ปรากฎ กล่าว คือต้อง บรรยาย ด้วย ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ เมื่อใด นับแต่ วัน ใด ถึงวันฟ้อง คดี ขาดอายุความ ไป แล้ว การ ที่ จำเลย ให้การ เพียง ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ โดย มิได้ กล่าว ถึง เหตุ แห่ง การ ขาดอายุความ ให้ ปรากฎ จึง ไม่มีคำพิพากษา ศาลชั้นต้น ใน เรื่อง อายุความ ว่า จำเลย ไม่ต้อง บรรยายประเด็น เรื่อง อายุความ ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า คำให้การ จำเลยไม่มี ประเด็น เรื่อง อายุความ จึง ชอบแล้ว อุทธรณ์ จำเลย ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน