คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าการที่คณะกรรมการของจำเลยที่2มีมติให้โจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นทนายความและจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนทนายความเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์อันเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีดังนั้นเมื่อยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลว่าการที่คณะกรรมการของจำเลยที่2จำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนทนายความเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์มีวัตถุประสงค์ที่จะให้จำเลยที่2ต่อใบอนุญาตทนายความให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์สามารถประกอบอาชีพทนายความได้ต่อไปซึ่งตรงกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา254(2)มาคุ้มครองให้แก่โจทก์ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ประกอบอาชีพทนายความก็เรียกไม่ได้ว่าเป็นการเปลืองไปเปล่าซึ่งสิทธิของโจทก์

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ฐาน ละเมิด ที่จำหน่าย ชื่อ โจทก์ ออกจาก ทะเบียน ทนายความ ขอให้ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ ไม่อาจ ว่าความ ได้ ปี ละ 100,000 บาทนับแต่ วันฟ้อง ไป จน ตลอด ชีวิต โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 ถอน เรื่อง ทั้งหมด ที่เกี่ยวกับ การ สอบสวน ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ โจทก์ กับ ให้ จำเลย ที่ 2จดทะเบียน ทนายความ ให้ โจทก์ ใหม่ เสมือน โจทก์ มิได้ ขาด คุณสมบัติ หลังจากยื่นฟ้อง แล้ว โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง ใช้ วิธีการ ชั่วคราวก่อน พิพากษา เพื่อ คุ้มครอง ประโยชน์ ของ โจทก์ ใน ระหว่าง พิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) โดย มี คำสั่งให้ จำเลย เพิกถอน คำสั่ง ที่ อ้างว่า โจทก์ ขาด คุณสมบัติ ใน การ เป็นทนายความ และ ต่อ ใบอนุญาต ทนายความ ให้ แก่ โจทก์
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า การ จะ ให้ ความคุ้มครอง แก่ โจทก์ จะ ต้องพิเคราะห์ ถึง ผล กระทบ ต่อ บุคคลภายนอก เพราะ เป็น กรณี พิพาทกัน เรื่อง คุณสมบัติ ใน การ ว่า ครอบครอง ของ โจทก์ ทั้ง โจทก์ ได้ เรียกค่าเสียหาย มา ใน คำฟ้อง แล้ว จึง ไม่มี เหตุ เพียงพอ ที่ จะ คุ้มครอง ชั่วคราวแก่ โจทก์ ยกคำร้อง
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า หาก มี การ ไต่สวน คำร้องขอของ โจทก์ ก็ จะ เห็นว่า มีเหตุ ผล เพียงพอ ที่ จะ จัด ให้ มี วิธี คุ้มครองชั่วคราว ตาม ที่ โจทก์ ขอ เพราะ การ ที่ โจทก์ ถูก ตัด สิทธิ ว่าความ ใน ระหว่างการ พิจารณา คดี ของ ศาล จนกว่า คดี จะ ถึงที่สุด นั้น ถือว่า เป็น การ ทำให้เปลือง ไป เปล่า ซึ่ง สิทธิ ของ โจทก์ แล้ว นั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกัน สืบเสาะ และ รวบรวมข้อเท็จจริง อัน เกี่ยวกับ ตัว โจทก์ แล้ว รายงาน ต่อคณะกรรมการ สภา ทนายความ คณะกรรมการ สภา ทนายความ ลงมติให้ โจทก์ เป็น ผู้ขาดคุณสมบัติ ที่ จะ เป็น ทนายความ ตาม พระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 35(9) เพราะ เป็น ผู้ มี จิต บกพร่องอันเป็น เหตุ ให้ หย่อนสมรรถภาพ ใน การ ประกอบ อาชีพ ทนายความ และนายทะเบียน ได้ จำหน่าย ชื่อ โจทก์ ออกจาก ทะเบียน ทนายความ แล้วซึ่ง โจทก์ กล่าวอ้าง ว่าการ ที่ คณะกรรมการ ของ จำเลย ที่ 2 มี มติให้ โจทก์ เป็น ผู้ขาดคุณสมบัติ ที่ จะ เป็น ทนายความ และ จำหน่าย ชื่อ โจทก์ออกจาก ทะเบียน ทนายความ นั้น เป็น การกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ อันเป็นประเด็น ข้อพิพาท ใน คดี เมื่อ คดี ยัง ไม่มี คำวินิจฉัย ชี้ขาด ของ ศาล ว่าการที่ คณะกรรมการ ของ จำเลย ที่ 2 จำหน่าย ชื่อ โจทก์ ออกจาก ทะเบียน ทนายความเป็น การกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ประกอบ กับ พระราชบัญญัติ ทนายความพ.ศ. 2528 เป็น กฎหมาย ที่ ควบคุม การ ประกอบ อาชีพ ทนายความโดย มุ่ง ประสงค์ ที่ จะ คุ้มครอง ประชาชน ผู้ มี อรรถคดี ไม่ให้ ได้รับความเสียหาย จาก การกระทำ ของ ทนายความ ด้วย การ กำหนด คุณสมบัติของ ผู้ที่ จะ ขอ จดทะเบียน และ รับ ใบอนุญาต ให้ เป็น ทนายความ ไว้ และ เหตุที่ คณะกรรมการ ของ จำเลย ที่ 2 จำหน่าย ชื่อ โจทก์ ออกจาก ทะเบียน ทนายความก็ เพราะ เห็นว่า โจทก์ เป็น ผู้ขาดคุณสมบัติ อัน เนื่องจาก เป็น ผู้ มี จิตบกพร่อง เป็นเหตุ ให้ หย่อนสมรรถภาพ ใน การ ประกอบ อาชีพ ทนายความการ ที่ คำร้องขอ คุ้มครอง ชั่วคราว ของ โจทก์ มี วัตถุประสงค์ ที่ จะ ให้จำเลย ที่ 2 ต่อ ใบอนุญาต ทนายความ ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ ให้ โจทก์ สามารถประกอบ อาชีพ ทนายความ ได้ ต่อไป กรณี จึง ไม่มี เหตุสมควร และ เพียงพอที่ จะ นำ วิธีการ คุ้มครอง ชั่วคราว ก่อน พิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) มา คุ้มครอง ให้ แก่โจทก์ ตาม คำร้อง ทั้ง การ ที่ โจทก์ ไม่ได้ ประกอบ อาชีพ ทนายความ ย่อมเรียก ไม่ได้ ว่า เป็น การ เปลือง ไป เปล่า ซึ่ง สิทธิ ของ โจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายก คำร้องของ โจทก์ โดย ไม่ ดำเนินการ ไต่สวน ชอบแล้วฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share