แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐาน ลักทรัพย์ จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธและนำสืบอ้างฐานที่อยู่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอฟังลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานลักทรัพย์แต่มิได้วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดฐานรับของโจรหรือไม่เมื่อโจทก์เห็นว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่นำสืบจำเลยที่1ถึงที่3มีความผิดฐานรับของโจร ก็ชอบจะอุทธรณ์ให้ศาลลงโทษจำเลยที่1ถึงที่3ในความผิดฐานดังกล่าวได้ โจทก์นำสืบพยานหลักฐานว่าจำเลยทั้งสี่กระทำผิดฐานลักทรัพย์ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่ามีคนร้ายลักทรัพย์จริงแต่พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอฟังลงโทษจำเลยทั้งสี่แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์โจทก์ไม่อุทธรณ์ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ต้องถือว่าจำเลยทั้งสี่มิได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์คงมีปัญหาในชั้นอุทธรณ์ตามที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่1ถึงที่3กระทำผิดฐานรับของโจรหรือไม่เท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค2พิจารณาว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่1ถึงที่3ฟังได้ว่าเป็นการช่วยพาเอาไปเสียซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และพิพากษาลงโทษฐานรับของโจรจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามแล้ว
ย่อยาว
คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษา รวมกับ คดี หมายเลขแดงที่ 803/2536 ของ ศาลชั้นต้น แต่เมื่อ ศาลอุทธรณ์ มี คำพิพากษา แล้วคู่ความ ใน สำนวน คดี ดังกล่าว มิได้ ฎีกา จึง ยุติ ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คง ขึ้น มา สู่ ศาลฎีกา เฉพาะ สำนวน คดี นี้
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2535 เวลา กลางคืนหลัง เที่ยง จำเลย ทั้ง สี่ นาย ชาลีหรือหนึ่ง สมสุข และ นาย วิมาน บานเย็น ซึ่ง เป็น เยาวชน ร่วมกัน ใช้ วัตถุ ของแข็ง งัด ทำลาย สายยู และ กุญแจ ประตู บ้านพัก ของ นาง น้ำมนต์ เพ็ญภู่ ผู้เสียหาย จน หัก เปิด ออก แล้ว เข้า ไป ร่วมกัน ลักทรัพย์ สิน รวม 8 รายการ เป็น เงิน31,000 บาท ต่อมา วันที่ 26 มีนาคม 2535 เจ้าพนักงาน จับ นาย ชาลี ได้ พร้อม เครื่อง รับ โทรทัศน์ 1 เครื่อง ราคา 12,000 บาทเครื่องขยายเสียง 1 เครื่อง ราคา 6,800 บาท และ วันที่ 28 มีนาคม2535 เจ้าพนักงาน จับ จำเลย ทั้ง สี่ ได้ ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335, 83 คืน ของกลาง แก่ ผู้เสียหาย และ ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกันคืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ ที่ ยัง ไม่ได้ คืน จำนวน 6 รายการ เป็น เงิน 12,300บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคแรก จำคุก คน ละ 2 ปีคืน ของกลาง แก่ ผู้เสียหาย นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น ประการ แรก ว่า โจทก์ จะ อุทธรณ์ขอให้ ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ความผิด ฐาน รับของโจร ได้หรือไม่ โดย จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ลงโทษ จำเลย ทั้ง สี่ ใน ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ เมื่อ ศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้อง โจทก์ ใน ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ โจทก์ ไม่ อุทธรณ์ ขอให้ ลงโทษจำเลย ทั้ง สี่ ใน ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ แต่ กลับ อุทธรณ์ ขอให้ ลงโทษจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ใน ความผิด ฐาน รับของโจร ซึ่ง มี องค์ประกอบ ความผิดแตกต่าง กับ ข้อ นำสืบ ของ โจทก์ จึง ขัด ต่อ กฎหมาย โดยชัดแจ้ง นั้นศาลฎีกา เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองและ วรรคสาม บัญญัติ ให้ ศาล พิพากษายก ฟ้อง หาก ศาล เห็นว่า ข้อเท็จจริงตาม ที่ ปรากฏ ใน ทางพิจารณา แตกต่าง กับ ข้อเท็จจริง ดัง ที่ กล่าว ใน ฟ้องเว้นแต่ ข้อแตกต่าง นั้น มิใช่ ใน ข้อ สาระสำคัญ ทั้ง จำเลย มิได้ หลงต่อสู้ศาล จะ ลงโทษ จำเลย ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ได้ความ นั้น ก็ ได้ และ ใน กรณีที่ ข้อแตกต่าง นั้น เป็น เพียง รายละเอียด หรือ ต่างกัน ระหว่าง การกระทำ ผิดฐาน ลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกง เจ้าหนี้ ยักยอกรับของโจร และ ทำให้เสียทรัพย์ มิให้ ถือว่า แตกต่าง ใน ข้อ สาระสำคัญทั้ง มิให้ ถือว่า ข้อ ที่ พิจารณา ได้ความ นั้น เป็น เรื่อง เกินคำขอ หรือเป็น เรื่อง ที่ โจทก์ ไม่ประสงค์ ให้ ลงโทษ เว้นแต่ จะ ปรากฏ แก่ ศาล ว่าการ ที่ ฟ้อง ผิด ไป นั้น เป็นเหตุ ให้ จำเลย หลงต่อสู้ ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าวหาก ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน ทางพิจารณา แตกต่าง กับ ข้อเท็จจริงดัง ที่ กล่าว ใน ฟ้อง ระหว่าง การกระทำ ผิด ฐาน ลักทรัพย์ และ รับของโจรและ จำเลย มิได้ หลงต่อสู้ กฎหมาย มิให้ ถือว่า ต่างกัน ใน ข้อ สาระสำคัญทั้ง มิให้ ถือว่า ข้อ ที่ พิจารณา ได้ความ นั้น เป็น เรื่อง เกินคำขอ หรือ เป็นเรื่อง ที่ โจทก์ ไม่ประสงค์ ให้ ลงโทษ และ ศาล มีอำนาจ ลงโทษ จำเลย ตามข้อเท็จจริง ที่ ได้ความ นั้น ได้ ซึ่ง คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลยทั้ง สี่ ใน ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ และ นำสืบ ข้อเท็จจริง ต่อ ศาล โดย จำเลยทั้ง สี่ ให้การ ปฏิเสธ และ นำสืบ อ้าง ฐาน ที่อยู่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่าพยานหลักฐาน โจทก์ ไม่มี น้ำหนัก พอ ฟัง ลงโทษ จำเลย ทั้ง สี่ ใน ความผิดฐาน ลักทรัพย์ แต่ มิได้ วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ใน การ พิจารณาตาม พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ นำสืบ จำเลย ทั้ง สี่ กระทำ ความผิด ฐาน รับของโจรหรือไม่ เมื่อ โจทก์ เห็นว่า ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ใน การ พิจารณา ตาม พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ นำสืบ จำเลย ทั้ง สี่ ไม่มี ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ แต่จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 มี ความผิด ฐาน รับของโจร ซึ่ง ศาล มีอำนาจ ที่ จะลงโทษ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามโจทก์ จึง ชอบ ที่ จะ อุทธรณ์ ขอให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ถึงที่ 3 ใน ความผิด ฐาน รับของโจร ตาม ข้อเท็จจริง ที่ พิจารณา ได้ความ นั้นได้ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3มี ว่า ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจ ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ความผิดฐาน รับของโจร ได้ หรือไม่ โดย จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่าคดี นี้ พยานโจทก์ ยืนยัน ว่า มี การกระทำ ผิด ฐาน ลักทรัพย์ ผู้เสียหาย และโจทก์ มี ประจักษ์พยาน ยืนยัน โดยชัดแจ้ง ว่า เห็น จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4เป็น ผู้ลักทรัพย์ จึง ต้อง ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เป็นผู้ลักทรัพย์ จะ ฟัง ว่า เป็น ผู้รับของโจร ไม่ได้ เพราะ ผู้กระทำผิด ฐาน รับของโจร จะ ต้อง เป็น ผู้อื่น มิใช่ ผู้ที่ ร่วมกัน ลักทรัพย์ ทั้ง คดี นี้โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ฐาน ลักทรัพย์ ข้อหา เดียว จึง ไม่ใช่เรื่อง ที่ โจทก์ ประสงค์ ให้ ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ฐานรับของโจร นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ นำสืบ พยานหลักฐาน ว่า จำเลยทั้ง สี่ กระทำผิด ฐาน ลักทรัพย์ ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้วเห็นว่า มี คนร้าย ลักทรัพย์ ผู้เสียหาย จริง แต่ พยานหลักฐาน โจทก์ ไม่มีน้ำหนัก พอ ฟัง ลงโทษ จำเลย ทั้ง สี่ ใน ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ และ โจทก์ ไม่ อุทธรณ์ ใน ข้อหา ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ จึง ต้อง ถือว่า จำเลย ทั้ง สี่ มิได้ กระทำผิด ฐาน ลักทรัพย์ คง มี ปัญหา ใน ชั้นอุทธรณ์ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 กระทำผิด ฐาน รับของโจร หรือไม่ เท่านั้นและ เมื่อ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 มิได้ เป็น ผู้กระทำผิด ฐาน ลักทรัพย์ จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 3 จึง อาจ มี ความผิด ฐาน รับของโจร ได้ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณา แล้ว เห็นว่า พยานโจทก์ ที่ นำสืบ มา มี น้ำหนัก รับฟัง ได้ว่าจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ได้ ไป ยัง ที่ ซ่อน ของกลาง จริง และ พฤติการณ์ ของจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ฟังได้ ว่า เป็น การ ช่วย พา เอาไป เสีย ซึ่ง ทรัพย์อัน ได้ มา โดย การกระทำ ผิด ฐาน ลักทรัพย์ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 มี ความผิดฐาน รับของโจร และ พิพากษา ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ฐาน รับของโจร นั้นถือได้ว่า เป็น กรณี ที่ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน ทางพิจารณา แตกต่าง กับข้อเท็จจริง ดัง ที่ กล่าว ใน ฟ้อง ระหว่าง การกระทำ ผิด ฐาน ลักทรัพย์และ รับของโจร ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคสาม มิให้ ถือว่า ต่างกัน ใน ข้อ สาระสำคัญ และ ไม่เป็น เรื่อง เกินคำขอหรือ เรื่อง ที่ โจทก์ ไม่ประสงค์ ให้ ลงโทษ และ คดี นี้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2และ ที่ 3 ให้การ ปฏิเสธ และ นำสืบ อ้าง ฐาน ที่อยู่ ซึ่ง แสดง ว่า จำเลยทั้ง สาม มิได้ หลงต่อสู้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 จึง มีอำนาจ ลงโทษ จำเลย ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ความผิด ฐาน รับของโจร ตาม ที่ พิจารณา ได้ความ ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม ฎีกา ของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ประการ สุดท้าย มี ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 กระทำผิด ฐาน รับของโจรหรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น รับฟัง ได้ว่า เมื่อ วันที่25 มีนาคม 2535 เวลา ประมาณ 22 นาฬิกา มี คนร้าย งัด สายยู กุญแจบ้าน นาง น้ำมนต์ เพ็ญภู่ ผู้เสียหาย แล้ว เข้า ไป ลักทรัพย์ ภายใน บ้าน ผู้เสียหาย ไป 8 รายการ ตาม บัญชีทรัพย์ เอกสาร ท้ายฟ้อง ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม 2535 ผู้เสียหาย สามารถ ติดตาม เอา เครื่อง รับโทรทัศน์ 1 เครื่อง และ เครื่องขยายเสียง 1 เครื่อง ซึ่ง เป็น ทรัพย์ส่วน หนึ่ง ที่ คนร้าย ลัก ไป กลับคืน มา ได้ ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ที่ 1 ที่2 และ ที่ 3 กระทำผิด ฐาน รับของโจร หรือไม่ คำเบิกความ ของ พยานโจทก์ดังกล่าว สอดคล้อง เชื่อม โยง กัน มี น้ำหนัก ให้ รับฟัง ได้ โดย ปราศจากข้อ ระแวง สงสัย ทั้ง จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ก็ มิได้ ฎีกา โต้แย้ง ว่ามิได้ ไป ยัง ที่ ซุกซ่อน ทรัพย์ ของกลาง การ ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ไป ยัง ที่ ซุกซ่อน เครื่อง รับ โทรทัศน์ และ เครื่องขยายเสียง ของกลาง หลังเกิดเหตุ ลักทรัพย์ ดังกล่าว ใน วันรุ่งขึ้น หลัง เกิดเหตุ และ บริเวณ ที่ซุกซ่อน ทรัพย์ ของกลาง เป็น พงหญ้า ริมสระ น้ำ แห้ง มิได้ อยู่ ใกล้ชิด กับทาง สัญจร เมื่อ นาง ไสว แสดง ตัว ให้ เห็น จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ได้ วิ่งหนี ไป ชี้ ขัด ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 รู้ ว่า มีเครื่อง รับ โทรทัศน์ และ เครื่องขยายเสียง ของกลาง ซุกซ่อน อยู่ และ ทรัพย์ดังกล่าว เป็น ทรัพย์ ที่ ได้ มาจาก การกระทำ ผิด ฐาน ลักทรัพย์ เพราะ หากจำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่รู้ เช่นนั้น ก็ ไม่มี เหตุ ที่ จะ ต้องวิ่งหนี การ ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เข้า ไป จับ เครื่อง รับโทรทัศน์ และ เครื่องขยายเสียง เป็น การ เข้า ยึดถือ ครอบครอง เครื่อง รับโทรทัศน์ และ เครื่องขยายเสียง ของกลาง และ แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 ได้รับ ทรัพย์ ของกลาง ดังกล่าว ไว้ โดย รู้ ว่า เป็น ทรัพย์ที่ ได้ มาจาก การกระทำ ผิด ฐาน ลักทรัพย์ แล้ว คดี ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 รับของโจร เครื่อง รับ โทรทัศน์ และ เครื่องขยายเสียงของกลาง ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ใน ข้อหา นี้ ชอบแล้ว ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2และ ที่ 3 ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน