แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงว่าผู้ร้องไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ร้องไม่เคยมอบอำนาจให้ส.หรืออ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องดังนี้ประเด็นในคำคัดค้านจึงมีเพียงว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้บุคคลทั้งสองเป็นผู้ดำเนินคดีนี้หรือไม่เท่านั้นข้อที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะตราที่ประทับในหนังสือนั้นมิใช่ตราของผู้ร้องและมิใช่ตราที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้. เหตุขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างตามคำร้องของนายจ้างเป็นประการใดศาลแรงงานชอบที่จะพิจารณาแต่เหตุนั้นโดยเฉพาะเมื่อเหตุตามคำร้องรับฟังไม่ได้ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสียจะนำเหตุที่มิใช่ข้ออ้างไว้อันเป็นเหตุนอกคำร้องนอกประเด็นมาพิจารณาแล้วยกเอาเหตุนั้นมาเป็นข้อเลิกจ้างหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่. นายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าสินค้าของนายจ้างสูญหายเกิดจากลูกจ้างทุจริตหรือเกิดจากการร่วมทุจริตกับผู้อื่นหรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของลูกจ้างเมื่อเหตุตามคำร้องฟังไม่ได้ศาลแรงงานกลางจะยกเอาเหตุที่ลูกจ้างเคยทำคำแถลงการณ์ในลักษณะชักชวนให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชามาเป็นเหตุเลิกจ้างไม่ได้.
ย่อยาว
ผู้ร้อง ร้อง ว่า ผู้คัดค้าน เป็น ลูกจ้าง ของ ผู้ร้อง มี หน้าที่รับผิด ชอบ ควบคุม รักษา สินค้า อะไหล่ ซึ่ง เก็บ ไว้ ใน แผนก คลังสินค้า อะไหล่ และ มี หน้าที่ ตรวจรับ จ่าย สินค้า ของ แผนก ต่อมาผู้ร้อง ได้ ตรวจสอบ สินค้า ปรากฏ ว่า สินค้า หาย ไป จำนวน หนึ่ง ซึ่งเกิดจาก ผู้คัดค้าน ร่วมกัน ทุจริต ต่อ หน้าที่ กับ บุคคล อื่น หรือมิฉะนั้น ก็ เป็น การ ปฏิบัติ หน้าที่ โดย ความ ประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง จน ก่อ ให้ เกิด การ ทุจริต ขึ้น การ กระทำ ของ ผู้คัดค้านเป็น กรณี ที่ ผู้ร้อง จะ เลิกจ้าง ตาม ข้อบังคับ ของ ผู้ร้อง ได้ แต่เนื่องจาก ผู้คัดค้าน เป็น กรรมการ ลูกจ้าง ผู้ร้อง จึง ขอ อนุญาต ศาลเพื่อ เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน และ ขอ เลิกจ้าง โดย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ทั้งนี้ โดย ผู้ร้อง มอบอำนาจ ให้ นาง สมวงศ์ อธิวิทวัส และ หรือนาย อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ เป็น ผู้รับ มอบอำนาจ ฟ้อง คดี นี้ แทน ตามหนังสือ มอบอำนาจ ท้าย คำร้อง
นาย สุทธิวงศ์ แสงพายัพ ผู้คัดค้าน ว่า การ ที่ สินค้า ของ ผู้ร้องสูญหาย ไป มิใช่ เป็น ความผิด ของ ผู้คัดค้าน แต่ ประการ ใด ผู้ร้องหา ตัว ผู้ รับ ผิด ไม่ ได้ กลั้นแกล้ง ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้าน มิได้กระทำ การ ใด ตาม คำร้อง ผู้ร้อง ไม่ เคย มอบ อำนาจ ให้ นาง สมวงศ์หรือ นาย อำนาจ เป็น ผู้รับ มอบอำนาจ ฟ้อง คดี นี้ ขอ ให้ ยก คำร้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า ผู้ร้อง มิได้ นำสืบ ให้ ศาล เห็นว่าสินค้า หาย ไป เมื่อใด หาย ไป ได้ อย่างไร และ ไม่ สามารถ นำสืบ ได้ว่า ผู้คัดค้าน ทุจริต อย่างไร หรือ ร่วมกับ บุคคล อื่น ทุจริต อย่างไรจะ ต้อง รับผิด ตาม ข้อบังคับ หรือไม่ และ ไม่ สามารถ นำสืบ ให้ เห็นได้ ว่า ผู้คัดค้าน ประมาท อย่างไร ผู้ร้อง จะ นำ เหตุ สินค้า หาย มาเลิกจ้าง ผู้คัดค้าน ยัง ไม่ มี เหตุผล เพียงพอ แต่ ผู้คัดค้าน ทำคำแถลงการณ์ ใน นาม ของ สหภาพแรงงาน ตำหนิ และ กล่าวหา ผู้ร้อง ซึ่งเห็น ได้ ว่า ผู้ร้อง กับ ผู้คัดค้าน ไม่ สามารถ ร่วม ทำงาน กัน ต่อไปได้ มี เหตุ ที่ ผู้ร้อง จะ เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน ได้ พิพากษา ให้ผู้ร้อง เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน นับ ถัด จาก วัน อ่าน คำพิพากษา เป็นต้น ไปโดย ให้ ผู้ร้อง จ่าย ค่าจ้าง แก่ ผู้คัดค้าน จน ถึง วัน เลิกจ้าง และให้ ผู้ร้อง จ่าย ค่าชดเชย แก่ ผู้คัดค้าน คำขอ อื่น ให้ ยก
ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ผู้คัดค้าน อุทธรณ์เป็น ประการ แรก ว่า ตรา ที่ ประทับ ชื่อ กรรมการ ผู้ มี อำนาจ กระทำการแทน บริษัท ผู้ร้อง ได้ นั้น ผู้ร้อง จด ทะเบียน ที่ กระทรวง พาณิชย์อย่างหนึ่ง แต่ ตรา ที่ ประทับ ใน หนังสือ มอบอำนาจ กลับ เป็น อีกอย่าง หนึ่ง ซึ่ง มิใช่ ตรา ที่ จด ทะเบียน ไว้ หนังสือ มอบอำนาจ ในคดี นี้ จึง ไม่ ถูกต้อง และ ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย พิเคราะห์ แล้วเห็นว่า ผู้คัดค้าน คัดค้าน ใน คำร้อง คัดค้าน เพียง ว่า ผู้ร้อง ไม่มี อำนาจ ฟ้อง เพราะ ผู้ร้อง ไม่ เคย มอบอำนาจ ให้ นาง สมวงศ์อธิวิทวัส หรือ นาย อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ เป็น ผู้ มี อำนาจ ใน การดำเนินคดี แทน ผู้ร้อง ประเด็น ตาม คำ คัดค้าน มี เพียง ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจ ให้ บุคคล ทั้ง สอง เป็น ผู้ดำเนินคดี นี้ หรือไม่ เท่านั้นหนังสือ มอบอำนาจ ชอบ หรือ มิชอบ ดวงตรา ที่ ประทับ เป็น ของ ผู้ร้องหรือไม่ จด ทะเบียน ไว้ ที่ กระทรวง พาณิชย์ หรือไม่ หา เป็น ประเด็นไม่ ข้ออุทธรณ์ ประการ แรก จึง เป็น อุทธรณ์ นอก คำ คัดค้าน ไม่ เป็นข้อ ที่ ยก ขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกา ไม่ รับวินิจฉัย
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์ เป็น ประการ ต่อไป ว่า ศาลแรงงานกลาง ฟังข้อเท็จจริง แล้ว ว่า การ ที่ สินค้า สูญหาย มิได้ เกิดจาก การ ทุจริตของ ผู้คัดค้าน หรือ เกิดจาก การ ร่วม ทุจริต กับ ผู้อื่น หรือ เกิดจากการ ประมาท เลินเล่อ ของ ผู้คัดค้าน อัน เป็น เหตุ ที่ ผู้ร้อง ขออนุญาต เลิกจ้าง ก็ เมื่อ เหตุ ตาม คำร้อง ฟัง ไม่ ได้ เสีย แล้วศาลแรงงานกลาง กลับ ถือ ว่า คำแถลงการณ์ ของ ผู้คัดค้าน ใน กรณี นายรวยลาภ วิทยารักษ์ ถูก ค้น อาวุธปืน และ ถูก สอบสวน ซึ่ง มี ลักษณะชักชวน ให้ พนักงาน กระด้าง กระเดื่อง ต่อ ผู้บังคับ บัญชา อัน ไม่ เป็นเหตุ ตาม คำร้อง ที่ ขอ อนุญาต เลิกจ้าง มา เป็น เหตุ เลิกจ้าง โดยวินิจฉัย ว่า ผู้ร้อง กับ ผู้คัดค้าน ไม่ สามารถ จะ ร่วมกัน ทำงานต่อไป ได้ เป็น การ ไม่ ชอบ ศาลฎีกา เห็น ว่า เหตุ ขอ อนุญาต เลิกจ้างตาม คำร้อง เป็น ประการ ใด ศาล ก็ ชอบ ที่ จะ พิจารณา แต่ เหตุ นั้น โดยเฉพาะ ศาล จะ นำ เหตุ อื่น ที่ ไม่ เป็น ข้ออ้าง ที่ อาศัย เป็น หลักแห่ง ข้อหา อัน เป็น เหตุ นอก คำร้อง นอก ประเด็น มา พิจารณา แล้ว ยกเอา เหตุ อื่น นั้น มา เป็น ข้อ เลิกจ้าง หา ชอบ ด้วย กระบวน พิจารณาไม่ ที่ ศาลแรงงานกลาง อนุญาต ให้ ผู้ร้อง เลิกจ้าง ผู้คัดค้าน เพราะทำ คำแถลงการณ์ ศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้อง ด้วย เมื่อ เหตุ ตาม คำร้อง รับฟัง ไม่ ได้ จึง ชอบ ที่ จะ ยก คำร้อง ของ ผู้ร้อง เสีย อุทธรณ์ ประการที่ สาม ของ ผู้ คัดค้าน ฟัง ขึ้น
พิพากษา กลับ ให้ ยก คำร้อง.