แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ถึงแก่ความตายภายหลังวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ยังไม่พ้นเวลายื่นฎีกาและคดีสามารถฎีกาต่อไปได้คดีจึงยังไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา147วรรคสองถือว่าเป็นคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างฎีกาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา42วรรคแรก แม้ผู้ร้องจะมิได้เรียงคำร้องเองก็ตามแต่ผู้ร้องก็ลงชื่อในช่องผู้ร้องและช่องผู้เรียงด้วยตนเองแสดงว่าผู้ร้องยอมรับเอาคำร้องเป็นของตนโดยชอบถือว่าผู้ร้องเป็นผู้เรียงโดยนิตินัยแล้วคำร้องของผู้ร้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา33
ย่อยาว
กรณี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ขอ บังคับ ให้ จำเลย โอน ที่ดิน หรือชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ให้การ ต่อสู้ คดี ศาลชั้นต้น พิพากษาให้ จำเลย ชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ จำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง ศาลชั้นต้น อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2ให้ คู่ความ ฟัง เมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2535 ต่อมา วันที่ 11ธันวาคม 2535 ผู้ร้อง ซึ่ง เป็น มารดา โจทก์ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็นคู่ความ แทน โจทก์ อ้างว่า โจทก์ ถึงแก่ความตาย เมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม2535 ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ผู้ร้อง เข้า เป็นคู่ความ แทน โจทก์ ตาม ขอ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่าผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน โจทก์ ผู้มรณะ ได้ หรือไม่โดย จำเลย ฎีกา ปัญหา ข้อ นี้ ว่า เมื่อ ศาลชั้นต้น อ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ให้ คู่ความ ฟัง เมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2535แล้ว คดี ยัง ไม่มี การ ฎีกา ไม่อาจ แปล ได้ว่า มี คดี ค้าง พิจารณา อยู่ ใน ศาลการ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ผู้มรณะ ของ ผู้ร้อง จึง ไม่ชอบ นั้นเห็นว่า คดี ฟังได้ โดย จำเลย ไม่โต้แย้ง ใน ชั้น นี้ แล้ว ว่า ผู้ร้องยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน โจทก์ ใน ขณะที่ คดี ยัง ไม่ พ้น เวลาที่ โจทก์ จะ ฎีกา คัดค้าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ซึ่ง พิพากษายกฟ้อง โจทก์ ประกอบ กับ คดี ยัง สามารถ ฎีกา ต่อไป ได้ คดี จึง ยัง ไม่เป็นที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองถือได้ว่า เป็น คดี ค้าง พิจารณา อยู่ ใน ศาล ระหว่าง ฎีกา ผู้ร้อง จึง มีสิทธิร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทนที่ โจทก์ ผู้มรณะ ได้ ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 42 วรรคแรก
ที่ จำเลย ฎีกา ต่อมา ว่า ผู้ร้อง ไม่ได้ เรียง คำร้อง เอง คำร้องของ ผู้ร้อง จึง ไม่ชอบ ด้วย พระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33นั้น เห็นว่า แม้ ผู้ร้อง จะ เบิกความ ตอบ ทนายโจทก์ ถาม ค้าน ว่า ผู้ร้องไม่ได้ เรียง คำร้อง เอง ก็ ตาม แต่ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ผู้ร้อง ได้ ลงลายมือชื่อ ใน ช่อง ผู้ร้อง และ ช่อง ผู้ เรียง ด้วย ตนเอง แสดง ว่า ผู้ร้องยอมรับ เอา คำร้อง ซึ่ง ผู้อื่น เรียบเรียง ว่า เป็น ของ ตน โดยชอบ การ ลงลายมือชื่อ ใน ฐานะ เป็น ผู้ เรียง ถือได้ว่า ผู้ร้อง เป็น ผู้ เรียงโดย นิตินัย แล้ว คำร้องขอ งผู้ร้อง ไม่ต้องห้าม ตาม พระราชบัญญัติทนายความ ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน