คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2495

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ นั้นเมื่อไม่มีการตกลงเรื่องค่าทำขวัญภายใน 5 ปี โดยมิใช่ความผิดของเจ้าของที่ดิน และทางฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่ได้เคยใช้ หรือกำลังใช้ที่ดินนั้นตามความประสงค์ในการเวนคืนนั้นแล้ว เจ้าของที่ดินนั้นย่อยมีสิทธิได้รับคืนที่ดินนั้น
ที่ดินถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอหังหาริมทรัพย์ ฯลฯ หลายเจ้าของด้วยกัน ถ้าที่ดินของใครมิได้ถูกใช้หรือถูกใช้แต่บางส่วน ก็ยังของคืนส่วนที่เหลือได้
การฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยนั้นโจทก์เพียงแต่ระบุชื่อนิติบุคคลเป็นจำเลย ไม่ระบุชื่อบุคคลผู้แทนนิติบุคคลมาด้วย ก็ย่อมใช้ได้ เพราะนิติบุคคลย่อมมีผู้ดำเนินการอยู่ในตัวตามกฏหมาย

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โจทก์ยังไม่ได้รับค่าทำขวัญจากจำเลย ซึ่งเป็นหน้าที่ผู้รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ บัดนี้ล่วงเลยมาเกิน ๕ ปี แล้ว ที่ดินของโจทก์มิได้เคยใช้ประโยชน์ในทางราชการทหาร อันเป็นความประสงค์-ในการเวนคืน โจทก์มีสิทธิได้คืนตามกฏหมาย จึงฟ้องขอให้จำเลยจัดการคืนที่ดินรายนี้ให้โจทก์
จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยยังไม่ได้เข้าครอบครองที่พิพาท เพราะยังไม่ตกลงกันเรื่องค่าทำขวัญ ฯลฯ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษาต้องคืนให้จำเลยคืนที่พิพาทให้โจทก์
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนแล้ว ได้ความว่าฝ่ายโจทก์กับเจ้าของทีแปลงอื่นไม่รับตกลงค่าทำขวัญ ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นนายหนึ่ง ฝ่ายจำเลยตั้งนายหนึ่ง อนุญาโตตุลาการปรึกษาไม่ตกลงกันอนุญาโตตุลาการฝ่ายโจทก์จึงได้ถอนตัว ฝ่ายเจ้าของที่ดินตั้งอยู่ผู้อื่นเป็นแทน แต่ในที่สุดโจทก์ฟ้องคดีนี้อนุญาโตตุลาการก็ยังมิได้พิจารณาถึงที่ดินของโจทก์ศาลฎีการเห็นว่าเมื่อไม่มีการตกลงกัน เรื่องค่าทำชวัญกันภายใน ๕ ปี โดยมิใช่ความผิดของโจทก์แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะได้รับเวนคืนที่ดินของตนตามความในมาตรา ๓๒
อนึ่งความในมาตรา ๓๒ ที่ว่า “ปรากฏว่าทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งมิได้เคยใช้ หรือกำลังใช้ในการสาธารณูปโภค อันเป็นการประสงค์ในการเวรคืนนั้นไซร์ ฯลฯ เจ้าของเดิมมีสิทธิเรียกทรัพย์นั้นคืนได้” นั้นย่อยหมายความว่า ถ้าที่ดินของโจทก์มิได้ถูกใช้เลยทั้งแปลง โจทก์ย่อมขอคืนได้ ส่วนที่ฎีการจำเลยที่ว่า ฟ้องโจทก์ไม่ระบุชื่อบุคคล ไม่เป็นฟ้องอันถูกต้องนั้น ก็เห็นไว่านิติบุคคลย่อมต้องมีผู้ดำเนินการอยู่ในตัวตามกฏหมาย ไม่ทำให้เข้าใจผิด หรือฝ่ายใดเสียหาย เสียเปรียบอย่างใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้ถือว่า เป็นฟ้อง ที่ไม่สมบูรณ์ได้
จึงพิพากษายืน

Share