คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของสามยทรัพย์การใช้ทางพิพาทขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินของกระทรวงการคลังมิได้เป็นการใช้แทนหรือทำในนามหรือเพื่อประโยชน์ของกระทรวงการคลังอันจะก่อให้เกิดภารจำยอมในสามยทรัพย์แม้จะใช้มาเป็นเวลา10ปีเศษก็หาก่อให้เกิดภารจำยอมไม่จำเลยที่1ผู้เช่าจึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าได้ใช้ทางพิพาทจนได้ภารจำยอมแก่กระทรวงการคลังเจ้าของที่ดินผู้ให้เช่า

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สี่ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สี่ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 49373, 49374, 49409 และ 49413เมื่อ ประมาณ ปี 2525 จำเลย ที่ 1 ได้ ก่อสร้าง ที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลข อ่อนนุช เพื่อ ดำเนิน กิจการ สื่อสาร การ ไปรษณีย์ และ โทรเลข จำเลย ที่ 2ซึ่ง เป็น พนักงาน ของ จำเลย ที่ 1 ได้ ก่อสร้าง ถนน คอนกรีต เพื่อ ใช้เป็น ทาง เข้า ออก ที่ทำการ ของ จำเลย ที่ 1 รุกล้ำ เข้า ไป ใน ที่ดิน ของโจทก์ ทั้ง สี่ ด้าน ทิศใต้ เป็น เนื้อที่ ประมาณ 40 ตารางวา ประมาณกลาง ปี 2533 โจทก์ ทั้ง สี่ ทราบ การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 จึง มอบหมายให้ ทนายความ มี หนังสือ บอกกล่าว ให้ จำเลย ทั้ง สอง รื้อถอน ถนน ดังกล่าวออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สี่ แต่ จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉย ขอให้บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ขนย้าย สิ่งปลูกสร้าง ทั้งหมด ออก ไป จากที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สี่ ดังกล่าว และ ปรับปรุง ที่ดิน ให้ อยู่ ใน สภาพ เดิมภายใน 1 เดือน นับแต่ ศาล มี คำพิพากษา หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ ดำเนินการให้ โจทก์ ทั้ง สี่ เป็น ผู้ดำเนินการ แทน โดย ให้ จำเลย ทั้ง สอง เป็นผู้ ออก ค่าใช้จ่าย ทั้งหมด พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า ประมาณ ปลาย ปี 2522 จำเลย ที่ 1เช่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 115304 และ 99844 จาก กระทรวงการคลังและ ได้ ก่อสร้าง ที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลข อ่อนนุช ลง ใน ที่ดิน ดังกล่าว ถนน พิพาท เดิม เป็น ถนน ลูกรัง ต่อมา ประมาณ ปลาย ปี 2522 ได้ มี การก่อสร้าง ถนน คอนกรีตเสริมเหล็ก ขึ้น แทนที่ เพื่อ ใช้ ประโยชน์ เป็นทาง เข้า ออก รถยนต์ ของ ที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลข อ่อนนุช จำเลย ที่ 1ได้ ใช้ ประโยชน์ ใน ถนน พิพาท ขนส่ง ไปรษณีย์ภัณฑ์ เข้า ออก ที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลข อ่อนนุช โดย ความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เพื่อ ใช้ เป็น ประโยชน์ ตลอดมา เกินกว่า 10 ปี แล้ว โดย โจทก์ ทั้ง สี่ มิได้โต้แย้ง คัดค้าน แต่อย่างใด ถนน พิพาท จึง เป็น ทางภารจำยอม ของกระทรวงการคลัง เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 115304 และ 99844 จำเลย ที่ 1ไม่ต้อง รื้อถอน ถนน พิพาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ขนย้ายสิ่งปลูกสร้าง ทั้งหมด ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สี่ ตามโฉนด เลขที่ 49373, 49374, 49409 และ 49413 แขวง สวนหลวง เขต พระโขนง กรุงเทพมหานคร และ ปรับปรุง ที่ดิน ให้ อยู่ ใน สภาพ เดิม ส่วน คำขอ ที่ ให้ โจทก์ ทั้ง สี่ ดำเนินการ เอง หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ ดำเนินการโดย จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย นั้น ให้ยก นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ที่ 1มี ว่า ทางพิพาท ตกเป็น ภารจำยอม ของ กระทรวงการคลัง เจ้าของ ที่ดินโฉนด เลขที่ 115304 และ 99844 ที่ จำเลย ที่ 1 เช่า หรือไม่ ปรากฏว่าตอน เริ่มต้น เช่า ทางพิพาท ยัง ไม่ได้ ตกเป็น ภารจำยอม เพื่อ ประโยชน์แก่ ที่ดิน ของ กระทรวงการคลัง ที่ จำเลย ที่ 1 ผู้เช่า จะ มีสิทธิ ใช้แต่ เป็น กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 ได้ เช่า ที่ดิน ของ กระทรวงการคลัง และ ใช้ทางพิพาท ขนส่ง ไปรษณีย์ภัณฑ์ ของ จำเลย ที่ 1 จน ครบ 10 ปี ทางพิพาทจะ เป็น ภารจำยอม เพื่อ ประโยชน์ แก่ ที่ดิน ของ กระทรวงการคลัง หรือไม่ นั้นเห็นว่า ภารจำยอม เป็น ทรัพยสิทธิ ที่ กฎหมาย ก่อตั้ง ขึ้น สำหรับ เจ้าของสามยทรัพย์ จำเลย ที่ 1 เป็น เพียง ผู้เช่า ที่ดิน ของ กระทรวงการคลังเท่านั้น มิได้ เป็น การ ใช้ แทน หรือ ทำ ใน นาม หรือ เพื่อ ประโยชน์ ของกระทรวงการคลัง อัน จะ ก่อ ให้ เกิด ภารจำยอม ใน สามยทรัพย์ การ ใช้ ทางพิพาทของ จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ เกิด ภารจำยอม แม้ จะ ใช้ มา เป็น เวลา 10 ปี เศษจำเลย ที่ 1 ผู้เช่า จะ อ้าง สิทธิ ว่า ได้ ใช้ ทางพิพาท จน ได้ ภารจำยอมแก่ เจ้าของ ที่ดิน ผู้ให้เช่า หาได้ไม่ เมื่อ ทางพิพาท ไม่ใช่ ภารจำยอมจำเลย ที่ 1 ย่อม ไม่มี สิทธิ จะ ใช้ ทางพิพาท เฉพาะ ส่วน ที่ รุกล้ำ ที่ดินโจทก์ ทั้ง สี่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share