คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ในขณะทำ สัญญาจะซื้อขายที่ดินมี เอกสารสิทธิเพียง น.ส.3จำเลยชำระเงินให้ ส. ผู้จะขายครบถ้วนและผู้จะขายได้มอบที่พิพาทให้จำเลยเข้าครอบครองแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาแสดงว่าผู้จะขายได้สละการครอบครองและได้มอบการครอบครองให้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาเมื่อได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วจำเลยยัง ครอบครองทำนาในที่พิพาทตลอดมาโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านพฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10ปีแล้วจำเลยจึงได้ กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แม้ชื่อสัญญาจะระบุว่าเป็น สัญญาจะซื้อจะขาย แต่ข้อความในสัญญาแสดงว่าคู่สัญญามีเจตนาที่จะโอนที่ดินให้แก่กันทันทีแต่มีเหตุติดขัดโอนให้แก่กันทันทีไม่ได้เพราะที่ดินอยู่ระหว่างการออกโฉนดดังนี้สัญญาดังกล่าวเป็น สัญญา ซื้อขายเสร็จเด็ดขาด จำเลยฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยขอให้โจทก์ไปทำการแบ่งแยกที่พิพาทให้แก่จำเลยเป็นการฟ้องขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ใช่ฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญา ซื้อขายที่ฟ้องระบุว่าจำเลยได้ที่ดินมาโดยการซื้อขายเป็นการบรรยายถึงที่มาของการได้ที่พิพาทมาเท่านั้นการฟ้องเช่นนี้ ไม่มี อายุความ

ย่อยาว

คดี ทั้ง สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา และ พิพากษา รวมกัน
สำนวน แรก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ขับไล่ จำเลย และ บริวาร ออก ไป จากที่ดิน โฉนด เลขที่ 4585 ของ โจทก์ และ ห้าม รบกวน การ ครอบครอง ต่อไป
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า เดิม ที่พิพาท เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดินตาม น.ส. 3 เลขที่ 312 ต่อมา ได้ ออก โฉนด ที่ดิน เป็น โฉนด เลขที่ 4585เมื่อ ปี 2510 นาย สน บิดา โจทก์ ได้ ขาย และ ส่งมอบ การ ครอบครอง ที่พิพาท เนื้อที่ 3 ไร่ ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว ให้ จำเลยเข้า ทำกิน อย่าง เป็น เจ้าของ นับแต่ วัน ซื้อ ขาย จน ถึง ปัจจุบัน เป็น เวลา10 ปี แล้ว จำเลย ย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่พิพาท โดย การ ครอบครองปรปักษ์ขอให้ ยกฟ้อง และ พิพากษา ให้ โจทก์ ไป จดทะเบียน โอน ที่พิพาท ให้ จำเลยหาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า บิดา โจทก์ ไม่เคย ขาย ที่พิพาท ให้ จำเลยจำเลย ไม่เคย ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่พิพาท ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ใน ระหว่าง การ พิจารณา คดี ของ ศาลชั้นต้น โดย ก่อน สืบพยาน จำเลยขอ ถอน คำฟ้อง แย้ง ศาลชั้นต้น อนุญาต
สำนวน หลัง โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 14 เมษายน 2510 โจทก์ ได้ซื้อ ที่ดิน ตาม น.ส. 3 เลขที่ 312 เนื้อที่ ประมาณ 3 ไร่ เศษ จาก นาย สน จำเลย ที่ 1 ใน ราคา 4,000 บาท ขณะ ซื้อ ขาย ที่ดิน อยู่ ระหว่าง ดำเนินการขอ ออก โฉนด ที่ดิน โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ได้ ร่วมกัน ใช้ หลัก ไม้แก่นปัก แนวเขต ที่ดิน ที่ ซื้อ ขาย กัน ไว้ และ จำเลย ที่ 1 ได้ ส่งมอบ การครอบครอง ที่ดิน ส่วน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา โจทก์ เข้าครอบครอง ทำนา โดย สงบ เปิดเผย และ เจตนา เป็น เจ้าของ ตลอดมา จน ถึง ปัจจุบันจำเลย ที่ 1 บอก โจทก์ ว่า เมื่อ ได้รับ โฉนด ที่ดิน แล้ว จะ ไป จดทะเบียน โอนแบ่งแยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ โจทก์ ต่อมา ใน ปี 2515 ทางราชการ ออกโฉนด เลขที่ 4585 ระบุ ชื่อ นาง แก้ว ภรรยา จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ถือ กรรมสิทธิ์ ครั้น ปี 2518 นาง แก้ว ได้ ถึงแก่กรรม โจทก์ ได้ แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง แปด จดทะเบียน โอน ที่ดิน ดังกล่าว ให้ โจทก์ แต่ จำเลย ทั้ง แปดไม่ยอม ขอให้ พิพากษา ว่า ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 4585 ส่วน ทาง ด้านทิศเหนือ เนื้อที่ ประมาณ 3 ไร่ เศษ เป็น ของ โจทก์ โดย การ ครอบครองปรปักษ์และ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง แปด ร่วมกัน หรือ แทน กัน ไป จดทะเบียน โอน แบ่งแยกที่ดิน ตาม โฉนด ดังกล่าว เนื้อที่ 3 ไร่ เศษ แก่ โจทก์ หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง แปด
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5 จำเลย ที่ 7 และ ที่ 8 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1ไม่เคย ขาย ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ สัญญาซื้อขาย ไม่ได้ จดทะเบียน ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ เป็น โมฆะ และ ทำ กัน เกินกว่า 10 ปี แล้ว คดี จึงขาดอายุความ ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 4585 เป็น ของ มารดา จำเลย จำเลยได้ ร่วมกัน ครอบครอง ทำกิน มา ประมาณ 20 ปี จน ถึง ปัจจุบัน หลังจากมารดา จำเลย ถึงแก่กรรม จำเลย ได้ ร่วมกัน ไป ขอรับ โอน มรดก ของ มารดาเมื่อ ปี 2518 ต่อมา ใน ปี 2530 จำเลย ที่ 1 ได้ ขาย ที่ดิน ตาม โฉนดดังกล่าว เฉพาะ ส่วน ของ ตน ให้ แก่ จำเลย ที่ 8 โดย ทำ เป็น หนังสือ และจดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ โจทก์ ไม่เคย เข้า ทำกิน ใน ที่ดินแปลง นี้ แต่อย่างใด ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 6 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น สั่ง ให้ เรียก โจทก์ สำนวน แรก ว่า โจทก์ ที่ 1 เรียกจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 และ จำเลย ที่ 8 ใน สำนวน หลัง ว่า โจทก์ ที่ 2ถึง ที่ 8 ตามลำดับ และ เรียก จำเลย ใน สำนวน แรก ซึ่ง เป็น โจทก์ ใน สำนวน หลังว่า จำเลย
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย ออก ไป จาก ที่พิพาทซึ่ง มี เนื้อที่ ตาม แผนที่ พิพาท ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4585 ตำบล โพนทัน อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัด ยโสธร ของ โจทก์ กับ ห้าม มิให้ จำเลย เกี่ยวข้อง ใน ที่พิพาท อีก ต่อไป สำหรับ ฟ้องโจทก์ สำนวน หลัง นั้นให้ยก เสีย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ จำเลย ได้ กรรมสิทธิ์ โดย การครอบครองปรปักษ์ ใน ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 4585 ตำบล โพนทัน อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัด ยโสธร ส่วน ทาง ด้าน ทิศเหนือ เนื้อที่ ประมาณ 3 ไร่ เศษ
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ใน เบื้องต้นที่ ได้ จาก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ซึ่ง โจทก์ ทั้ง แปด มิได้ ฎีกาโต้แย้ง หรือ คัดค้าน รับฟัง เป็น ยุติ ว่า ที่พิพาท มี เนื้อที่ ภายในเส้น สีแดง ตาม แผนที่ พิพาท เอกสาร หมาย จ. ล. 1 เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดินโฉนด เลขที่ 4585 ตำบล โพนทัน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัด อุบลราชธานี (ปัจจุบัน จังหวัด ยโสธร ) เดิม ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว เป็น ที่ดิน มีน.ส. 3 เลขที่ 312 มี ชื่อ นาง สอน บุญยืน และนางแก้ว ศิริศรี เป็น เจ้าของ ปรากฏ ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เอกสาร หมาย ล. 1เมื่อ วันที่ 14 เมษายน 2510 นาย สน สามี ของ นาง แก้ว ได้ นำ ที่พิพาท มา ขาย ให้ จำเลย ใน ราคา 4,000 บาท จำเลย ได้ ชำระ ราคา ให้ นาย สน รับ ไป ครบถ้วน แล้ว ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา นาย สน ได้ มอบ ที่ดิน ให้ จำเลย เข้า ครอบครอง ทำนา แต่ วัน ทำ สัญญา เช่นเดียวกัน ขณะ ทำ สัญญาซื้อขายที่ดิน ทั้งหมด กำลัง อยู่ ใน ระหว่าง ขอ ออก โฉนด ที่ดิน นาย สน จะ ทำการ โอน ที่พิพาท ให้ จำเลย เมื่อ ได้รับ โฉนด ที่ดิน แล้ว ปรากฏ ตาม หนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน เอกสาร หมาย ล. 2 ปี 2515 จึง ได้ โฉนด ที่ดินมา มี ชื่อ นาง สอน เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ต่อมา นาง สอน ถึงแก่กรรม ที่ดิน ตก ได้ แก่ นาง แก้ว เมื่อ ปี 2518 นาง แก้ว ถึงแก่กรรม มี ชื่อ โจทก์ ทั้ง แปด เป็น ผู้รับโอน ที่ดิน มา เป็น มรดก คดี มี ปัญหาที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ประการ แรก ตาม ที่ โจทก์ ทั้ง แปด ฎีกา ว่า จำเลย ได้กรรมสิทธิ์ ใน ที่พิพาท โดย การ ครอบครองปรปักษ์ หรือไม่ ที่ โจทก์ ทั้ง แปดฎีกา ว่า หนังสือ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน เอกสาร หมาย ล. 2 เป็น สัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ใช่ สัญญาซื้อขาย เสร็จเด็ดขาด เพราะ มี ข้อตกลง กัน ว่าผู้จะขาย จะ โอน ที่พิพาท ให้ ผู้จะซื้อ เมื่อ ได้รับ โฉนด ที่ดิน แล้ว จำเลยครอบครอง ที่พิพาท เป็น การ ครอบครองแทน ผู้จะขาย ย่อม ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ใน ที่พิพาท นั้น เห็นว่า ใน ขณะ ทำ สัญญาซื้อขาย ที่ดิน มี เอกสารสิทธิเพียง น.ส. 3 จำเลย ชำระ เงิน ให้ นาย สน ผู้จะขาย ครบถ้วน และ ผู้จะขาย ได้ มอบ ที่พิพาท ให้ จำเลย เข้า ครอบครอง แล้ว ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา แสดง ว่าผู้จะขาย ได้ สละ การ ครอบครอง และ ได้ มอบ การ ครอบครอง ให้ แก่ จำเลย แล้วตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา และ เมื่อ ได้รับ โฉนด ที่ดิน มา แล้ว จำเลย ยัง คงครอบครอง ทำนา ใน ที่พิพาท ตลอดมา โดย ไม่มี ผู้ใด โต้แย้ง คัดค้าน ประการใดพฤติการณ์ เช่นนี้ เห็น ได้ว่า จำเลย ได้ ครอบครอง ที่พิพาท โดย ความสงบและ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ติดต่อ กัน เป็น เวลา กว่า 10 ปีแล้ว จำเลย จึง ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่พิพาท แม้ ชื่อ สัญญา จะ ระบุ ว่าเป็น สัญญาจะซื้อจะขาย แต่เมื่อ พิจารณา ข้อความ ทั้งหมด ใน สัญญา แล้วจะ เห็น ได้ว่า เป็น สัญญาซื้อขาย เสร็จเด็ดขาด ไม่ใช่ สัญญาจะซื้อจะขายเพราะ ข้อความ ใน สัญญา ข้อ 2 ที่ ระบุ ว่า “ที่ดิน แปลง นี้ อยู่ ใน ระหว่างออก โฉนด จึง ทำการ โอน ให้ เสร็จ ไป ทันที ไม่ได้ ข้าพเจ้า ผู้จะขาย และผู้จะซื้อ ทำการ โอน กัน เมื่อ ได้รับ โฉนด แล้ว ” ข้อความ เช่นนี้ แสดงให้ เห็นว่า คู่สัญญา มี เจตนา หรือ ความ ประสงค์ ที่ จะ โอน ที่ดิน ให้ แก่ กันใน ทันที แต่ มีเหตุ ติดขัด โอน ให้ แก่ กัน ใน ทันที ไม่ได้ เพราะ ที่ดินอยู่ ใน ระหว่าง การ ออก โฉนด ที่ดิน เงื่อนไข ใน การ โอน ให้ แก่ กันเมื่อ ได้รับ โฉนด ที่ดิน แล้ว จึง มิใช่ สาระสำคัญ ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ทั้ง แปด ฟังไม่ขึ้น ที่ โจทก์ ทั้ง แปด ฎีกา ว่า คดี ของ จำเลย ขาดอายุความแล้ว นั้น เห็นว่า จำเลย ฟ้อง ขอให้ ศาล แสดง ว่า ที่พิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ของ จำเลย ขอให้ โจทก์ ทั้ง แปด ไป ทำการ แบ่งแยก ที่พิพาท ให้ แก่ จำเลยเป็น การ ฟ้อง ขอให้ แสดง กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ไม่ใช่ ฟ้อง ให้ ปฏิบัติ ตามสัญญาซื้อขาย ที่ ฟ้อง ระบุ ว่า จำเลย ได้ ที่ดิน มา โดย การ ซื้อ ขาย ก็ เป็นการ บรรยาย ถึง ที่มา ของ การ ได้ ที่พิพาท มา เท่านั้น การ ฟ้อง เช่นนี้ไม่มี อายุความ จำเลย มีอำนาจ ฟ้อง ได้ ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ทั้ง แปดก็ ฟังไม่ขึ้น ที่ โจทก์ ทั้ง แปด ฎีกา ว่า ที่ดิน เป็น ของ นาง แก้ว นาย สน ไม่มี สิทธิ นำ ที่พิพาท ไป ขาย ให้ แก่ จำเลย นั้น เห็นว่า นาย สน เป็น สามี ของ นาง แก้ว ได้ความ จาก คำเบิกความ ของ จำเลย ว่า ใน วัน ทำ สัญญาซื้อขาย จำเลย ทราบ ว่า นาง สอน ตาย ไป แล้ว แต่ นาง แก้ว บอก ว่า นาง แก้ว มีสิทธิ นำ ที่พิพาท มา ขาย ให้ แก่ จำเลย แสดง ว่า ใน วัน ทำ สัญญา ซื้อ ขาย ที่พิพาท นาง แก้ว รู้เห็น อยู่ ด้วย ชี้ ให้ เห็นว่า นาง แก้ว ยินยอม ให้ นาย สน ขาย ที่พิพาท ให้ จำเลย นาย สน จึง มีสิทธิ ที่ จะขาย และ ส่งมอบ การ ครอบครอง ที่พิพาท ให้ แก่ จำเลย ได้ ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ทั้ง แปด ฟังไม่ขึ้น ที่ โจทก์ ทั้ง แปด ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ให้ โจทก์ทั้ง แปด ร่วมกัน ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม สอง ศาล แทน จำเลย โดย กำหนด เป็นค่า ทนายความ รวม 4,000 บาท ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ให้ โจทก์ ทั้ง แปดเสีย ค่า ทนายความ แทน จำเลย เป็น จำนวนเงิน ที่ สูง เกิน ไป นั้น เห็นว่าคดี ทั้ง สอง สำนวน นี้ มี ทุนทรัพย์ ที่ ฟ้อง สำนวน ละ 10,000 บาท อัตราค่า ทนายความ ชั้น สูง ใน ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ไม่เกิน สำนวน ละ 1,000 บาทใน ศาลอุทธรณ์ ไม่เกิน สำนวน ละ 500 บาท ตาม ตาราง 6 ท้าย ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ให้ โจทก์ ทั้ง แปด ใช้ ค่า ทนายความทั้ง ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ รวมกัน 4,000 บาท เกิน อัตรา ชั้น สูงตาม ตาราง ดังกล่าว และ มิได้ แยก เป็น สำนวน ละ เท่าใด จึง เป็น การ มิชอบฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ทั้ง แปด ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ ทั้ง แปด ร่วมกัน ใช้ ค่า ทนายความใน ศาลชั้นต้น สำนวน ละ 1,000 บาท และ ใน ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 สำนวน ละ500 บาท แทน จำเลย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share