คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2495

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความผิดฐานบุกรุก ตามก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 329 นั้น เคหะที่บุกรุกนั้นจะต้องไม่ใช่เป็นของจำเลย
จำเลยบุกรุกเข้าไปในห้องของจำเลย ซึ่งได้ให้โจทก์เช่าอยู่อาศัย ดังนี้
ยังไม่เป็นความผิดในทางอาญาฐานบุกรุก
(อ้างฎีกาที่ 816 – 817 /2493

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบังอาจใช้จ้างวาน บุคคลประมาณ ๒๐ – ๖๐ คน มีมีด ขวาน ปืน บุกรุกเข้ามา โดยมีเจตนาจะมิให้โจทก์ครอบครองเคหะอันเป็นี่อยู่อาศัยของโจทก์โดยปกติสุข ฯลฯ จำเลยกับพวกได้รื้อหลังคาเอาไป ฯลฯ ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๓๒๔, ๓๒๗, ๓๒๘, ๓๒๙.
จำเลยปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา ๓๒๙, – ๖๔ จำคุก ๓ เดือน ปรับ ๕๐๐บาท แต่ให้รอการลงอาญาไว้
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยจัดการให้คนรื้ออาคารหลังนี้ ตามคำสั่งของเทศบาลนครกรุงเทพฯซึ่งตามกฎหมาย ยังไม่เป็นผิดฐานบุกรุก พิพากษากลับให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อเท็จจริงทั้ง ๆ สำนวนได้ความว่า โจทก์แต่ละสำนวนได้เช่าห้อง ซึ่งหาว่าจำเลยบุกรุกนี้จากจำเลย คือ เป็นห้องของจำเลย จำเลยบุกรุกเข้าไปในห้อง ซึ่งเป็นของจำเลยเอง แต่ได้ให้โจทก์เช่าอยู่อาศัย ศาลนี้เห็นว่าจำเลยไม่มีความผิดทางอาญาฐานบุกรุก จะเป็นความผิดในทางอาญาฐานบุกรุก เคหะที่จำเลยบุกรุกาจะต้องไม่ใช่ของจำเลย
จึงพิพากษายืน

Share