คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2506

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

1. ผู้ร้องทำสัญญาเช่าอาคารจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของอาคารคือ ไม่ได้เช่าต่อจากผู้ที่เช่าอาคารมาจากเจ้าของอาคาร ย่อมไม่เป็นการเช่าช่วง
2. ในกรณีที่จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกอาคารมีกำหนด10 ปี ตกลงกันว่าเมื่อครบ 10 ปีแล้วอาคารตกเป็นของโจทก์นั้นจำเลยมีอำนาจให้เช่าได้ในฐานะเป็นเจ้าของแต่หามีอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปีไม่ เพราะอำนาจให้เช่าเกิน 10 ปี ย่อมตกอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของอาคาร เมื่อจำเลยไม่มีอำนาจให้เช่าเกิน 10ปี การเช่าเกิน 10 ปีย่อมไม่ตกมายังโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เมื่อการเช่าไม่ตกมายังโจทก์. ผู้ร้องกับโจทก์ก็ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันไม่มีฐานะเป็นคู่สัญญาเช่าต่อกัน เมื่อไม่ใช่คู่สัญญา โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ให้เช่าผู้ร้องอยู่ในอาคารของโจทก์ในฐานละเมิด กรณีไม่อยู่ในข่ายความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าในภาวะคับขันฯ ผู้ร้องเข้าอยู่ในอาคารของโจทก์โดยอาศัยอำนาจของจำเลยจึงถือว่าเป็นบริวาร
(อันดับ 2 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2505)

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและอาคาร

โจทก์จำเลยทำสัญญายอมความว่า จำเลยยอมมอบที่ดินที่เช่าและมอบสิ่งปลูกสร้างในที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยและบริวารยอมออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับยอมชำระค่าเช่าตามจำนวนที่ระบุไว้ศาลพิพากษาตามยอม

ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับผู้มีชื่อ 9 คน อ้างว่าเป็นบริวารของจำเลยออกไปจากอาคารและที่ดิน

ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 6 ยื่นคำร้องว่าไม่ใช่บริวารของจำเลยโจทก์ได้ให้จำเลยปลูกห้องแถว 14 ห้อง และยอมให้เอาที่ดินและห้องไปให้เช่าช่วงเพื่ออยู่อาศัย ผู้ร้องได้เช่าห้องแถวคนละห้องและเช่าช่วงที่ดินเพื่ออยู่อาศัย 8 ปี ทำสัญญาที่อำเภอ โจทก์ทราบดีผู้ร้องได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ห้องแถวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ขณะผู้ร้องเช่า โจทก์จึงมีความผูกพันกับผู้ร้องในฐานเป็นผู้เช่าต่อไป

ผู้ร้องที่ 7 ถึง 9 ยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องแต่ละคนได้รับโอนการเช่าห้องแถวคนละห้องจากผู้เช่าเดิม โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยข้อต่อสู้นอกนี้ก็ทำนองเดียวกับผู้ร้องรายแรก

ศาลแพ่งฟังคำแถลงแล้วสั่งงดสืบพยาน และสั่งว่าผู้ร้องไม่ใช่ผู้เช่าช่วงที่ดินของโจทก์

คงมีปัญหาว่า คดีนี้เป็นการเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 หรือเป็นกรณีเรียกร้องให้ตัวแทนรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 812 แล้ววินิจฉัยว่า โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล จำเลยเป็นข้าราชการในกรมนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างกรมกระทรวงในรัฐบาลและข้าราชการมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครอง ได้แก่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นต้น รวมตลอดถึงพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และคำสั่ง กฎ ระเบียบแบบแผนที่ราชการวางไว้นั้น ไม่ได้มีขึ้นโดยกฎหมายแพ่งว่าด้วยเอกเทศสัญญา กฎหมายฝ่ายปกครองและกฎหมายแพ่งมีลักษณะแตกต่างกันบุคคลใดจะเข้ารับราชการก็ต้องมีคุณสมบัติและต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายฝ่ายปกครองกำหนดเป็น เงินเดือน การบังคับบัญชา การรักษาวินัยการออก สิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ ย่อมเป็นไปตามกฎหมายฝ่ายปกครองหาได้เป็นไปเพราะผลของนิติกรรมหรือสัญญาไม่ (นัยคำพิพากษาฎีกา123/2504)

การที่จำเลยมีความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นกรณีละเมิด โจทก์ทราบถึงการละเมิดเมื่อ พ.ศ. 2493 เพิ่งฟ้องเมื่อ พ.ศ. 2498 พ้นอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 แล้ว

พิพากษายืน

Share