แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คำว่าไม่เข็ดหลาบตามมาตรา 76 นั้นต้องแปลความตามมาตรา 72 ตอน 1 ว่า ผู้กระทำผิดได้พ้นโทษแล้วไปทำผิดอีกอย่างไรเรียกว่าพ้นโทษ จำเลยถูกศาลพิพากษาให้ปรับระวางที่จำเลยยังไม่ใช้ค่าปรับปหรือถูกจำแทนค่าปรับถือว่ายังไม่พ้นโทษทำผิดตามมาตรา 338 ข้อ 3 มาครั้ง 1 แล้วศาลตัดสินให้ปรับ จำเลยขอผัดนี้จำเลยทำผิดในฐานเดียวกันซ้ำขึ้นอีกดังนี้จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 76 ยังไม่ได้
ย่อยาว
ได้ความว่าจำเลยทำร้าย ม. ไม่ถึงบาดเจ็บอันมีผิดตามมาตรา ๓๓๘ ข้อ ๓ แลจำเลยเคยทำผิดในฐานเดียวกันนี้มาครั้งหนึ่งแล้วศาลตัดสินให้ปรับ ๔ บาท จำเลยผัดชำระเงิน ในระวางผัดนี้จำเลยก็ทำผิดคดีนี้ขึ้น จึงมีปัญหาว่าดะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา ๗๖ ได้หรือไม่
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำว่า “ผุ้ใดไม่เข็ดหลาย” ในมาตรา ๗๖ นั้นจะต้องแปลตามมาตรา ๗๒ ตอน ๑ ว่าจำเลยต้องได้พ้นโทษอย่างหนึ่งอย่างใดแล้วเช่นถ้าปรับก็ชำระค่าปรับหรือถูกจำขังแล้ว หรือจำคุกก็ถูกจำคุกแล้วแลจำเลยไปทำผิดขึ้นอีกจึงจะเรียกได้ว่าไม่เข็ดหลายเพิ่มโทษจำเลยได้แต่คดีนี้จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าปรับหรือยังไม่พ้นจากการจำแทนค่าปรับ เมื่อจำเลยไปทำผิดขึ้นอีกในระวางโทษเดิมดังนี้ จึงเพิ่มโทษจำเลยยังไม่ได้