คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2505

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นพี่สาวและน้องสาวของเจ้ามรดก จำเลยเป็นภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ที่ดิน 3 แปลงท้ายฟ้อง เป็นสินเดิมของเจ้ามรดก ที่ดิน 3 แปลงท้ายฟ้องเป็นสินเดิมของเจ้ามรดก เมื่อเจ้ามรดกตายทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาท จำเลยไม่ใช่ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายวจึงไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยส่งมอบทรัพย์มรดกให้แล้ว จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ส่งมอบทรัพย์มรดกให้แล้ว จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ส่งมอบทรัพย์มรดกเป็นคดีหนึ่งแล้ว บัดนี้ ยังมีทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอีก 3 แปลง ขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นสินเดิมของเจ้ามรดก โจทก์และทายาทเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกทรัพย์นี้ ให้จำเลยส่งมอบทรัพย์ให้ ดังนี้ เป็นการฟ้องแต่ ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีอำนาจยึดถือไว้ และเป็นที่ดินต่างแปลง เป็นทรัพย์คนละอย่างกับทรัพย์ในคดีก่อน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2504)

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นพี่สาวและน้องสาวนายหลำจำเลยเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายของนายหลำ โดยอยู่กินเป็นภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสที่ดิน ๓ แปลงตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้อง เป็นสินเดิมของนายหลำ เมื่อนายหลำตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาท จำเลยไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์และทายาทแล้วจำเลยไม่ยอม โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบทรัพย์-มรดกตามคดีคำที่ ๒๙๗/๒๕๐๓ บัดนี้ ยังมีทรัพย์มรดกของนายหลำตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องอยู่อีก ขอให้ พิพากษาว่าทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องเป็นสินเดิมของนายหลำโจทก์และทายาทเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกให้จำเลยส่งมอบทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องว่า โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องมรดกอย่างเดียวกับคดีแพ่ง คำที่ ๒๙๗/๒๕๐๓ ต้องห้ามตาม กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓ (๑) จึงไม่รับไว้
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์ และดำเนินคดีและดำเนินการต่อไปแต่มีผู้พิพากษานายหนึ่งทำความเห็นแย้งว่า ควรพิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกตามกฎหมายตกเป็นของโจทก์แล้ว แต่จำเลยยึดถือครอบครองไว้ตามคำฟ้องว่า จำเลยไม่สิทธิได้รับมรดก ไม่มีอำนาจยึดถือครอบครองทรัพย์ของโจทก์ไว้ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของมีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ที่ไม่มีอำนาจยึดถือไว้ และทรัพย์ที่ฟ้องนี้ก็เป็นที่ดินคนละแปลงคนละแห่ง เป็นทรัพย์คนละ อย่างกับทรัพย์ในคดีก่อน กล่าวคือ โจทก์ฟ้องเรียกมาจากจำเลยยังไม่หมด จึงมาฟ้องอีก ศาลฎีกาวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกได้อีก ไม่ต้องห้าม ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓ (๑) พิพากษายืน

Share